ไมโครชิพ เปิดตัว maXTouch(R) คอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กที่สุดสำหรับยานยนต์ เพิ่มประสิทธิภาพควบคุมพื้นผิวอัจฉริยะและหน้าจอมัลติฟังก์ชัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

- ตัวควบคุมหน้าจอสัมผัสตระกูลใหม่ รองรับการสัมผัสแบบหลายนิ้วและแม้สวมถุงมือหนา อีกทั้งทนทานต่อทุกสภาพอากาศ จึงนับเป็นโซลูชันแบบเบ็ดเสร็จที่รวมเข้ากับอุปกรณ์ปลายทางได้อย่างง่ายดาย

เพื่อช่วยยกระดับประสบการณ์และความสะดวกสบายในการขับขี่ยุคปัจจุบัน นอกเหนือไปจากหน้าจอแสดงผลหลัก (Center Infotainment Display หรือ CID) แล้ว บรรดาผู้ผลิตยานยนต์จึงติดตั้งหน้าจอเสริมเพิ่มเข้าไปอีกด้วย และเพื่อสนับสนุนการใช้จอเสริมเหล่านี้ให้ครบครันด้วยฟีเจอร์ขั้นสูง บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงประกาศขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์แถวหน้าของตลาดอย่าง maXTouch ด้วยตัวควบคุมหน้าจอสัมผัสในตระกูล MXT288UD ซึ่งถือเป็นคอนโทรลเลอร์หน้าจอสัมผัสขนาดเล็กที่สุดสำหรับใช้กับยานยนต์ ประกอบด้วย MXT288UD-AM และ MXT144UD-AM ซึ่งมาพร้อมโหมดพลังงานต่ำ ทนทานทุกสภาพอากาศ และรองรับการสัมผัสผ่านถุงมือ สำหรับดิสเพลย์แบบมัลติฟังก์ชัน ทัชแพด และพื้นผิวอัจฉริยะ (smart surface) ของรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยานไฟฟ้า (e-bike) และบริการเช่ารถ (car-sharing)

พื้นผิวสัมผัสหรือจอเสริมสามารถวางไว้ได้ทั้งภายในและภายนอกของรถ เช่น แฮนด์รถ ประตู กระจกอิเล็กทรอนิกส์ ลูกบิด พวงมาลัย ตลอดจนวางไว้ระหว่างที่นั่ง หรือที่วางแขน โดย MXT288UD มาในแพ็กเกจ VQFN56 เกรดยานยนต์ขนาดเล็กเพียง 7x7มม. ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับ Tier 1 สามารถลดพื้นที่วางแผ่นวงจรลงได้ถึง 75% และลดรายการวัสดุ (Bill of Materials หรือ BoM) สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กเหล่านี้ลงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทำได้เกินกว่าข้อกำหนด เพื่อประสิทธิภาพการสัมผัสที่เสถียรและดีที่สุดในตลาด ขณะเดียวกัน คอนโทรลเลอร์ตระกูลใหม่ยังมาพร้อมโหมด wait-for-touch พลังงานต่ำซึ่งกินไฟไม่ถึง 50 ไมโครแอมแปร์ แต่ยังคงตอบสนองผู้ใช้แม้หน้าจอดับลง เพื่อประหยัดพลังงาน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนคนขับในเวลากลางคืน ระบบจะตื่นด้วยการสัมผัส ไม่ว่าจะสัมผัส ณ จุดใดบนพื้นผิว

นอกจากนี้ คอนโทรลเลอร์ MXT288UD-AM และ MXT144UD-AM ยังสามารถช่วยตรวจจับและติดตามการสัมผัสแบบหลายนิ้วมือแม้ใส่ถุงมือหนา ผ่านวัสดุหุ้มที่หลากหลายและมีความหนาหลายระดับ เช่น หนัง ไม้ หรือพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอ และแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น โดยปกติแล้ว ค่าคงที่ไดอิเล็กทริก (dielectric constant) ของวัสดุหุ้มเหล่านี้จะตรวจจับการสัมผัสได้อย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เหล่านี้สามารถตรวจจับและติดตามการสัมผัสด้วยนิ้วมือหลายนิ้วได้อย่างเสถียรด้วยอัตราสัญญาณต่อคลื่นรบกวน (SNR) ในระดับสูง และผ่านทาง differential mutual acquisition scheme ตัวอย่างเช่นในการใช้งานคาร์แชร์ริง ฟังก์ชันการสัมผัสที่เชื่อได้นี้ช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมหรือสั่งการรถจากภายนอกได้ด้วยการสัมผัสหน้าจอด้านนอกในทุกสภาพแวดล้อม เช่น ฝน หิมะ หรือความร้อนสูง ขณะที่รถจักรยานยนต์และยานยนต์แบบอื่น ๆ ก็ได้ประโยชน์จากการออกแบบให้ทนทุกสภาพอากาศด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกัน ในฐานะโซลูชันครบวงจร คอนโทรลเลอร์ตระกูล MXT288UD ยังทำหน้าที่เป็นเฟิร์มแวร์ซึ่งผ่านการพิสูจน์มาแล้ว เนื่องจากได้รับการพัฒนาตามกระบวนการ Automotive SPICE(R) และได้มาตรฐานคุณภาพ AEC-Q100 ทำให้ผู้ผลิตยานยนต์ในปัจจุบันสามารถรวมคอนโทรลเลอร์ตระกูลใหม่จากไมโครชิพเข้ากับระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมได้อย่างสะดวกง่ายดาย จึงนำสินค้าออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นด้วยความเสี่ยงที่ต่ำกว่า

"ผู้ผลิตชิ้นส่วน (OEM) ยานยนต์ต่างต้องการที่จะยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ผ่านทางพื้นผิวอัจฉริยะและหน้าจอแบบมัลดิฟังก์ชัน ขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายและปราศจากสิ่งรบกวน" Fanie Duvenhage รองประธานกลุ่มงานงานสัมผัสและส่วนต่อประสานระหว่างมนุษย์กับเครื่อง (HMI) ของไมโครชิพ กล่าว "เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ในตลาด ไมโครชิพจึงต่อยอดกลุ่มโซลูชันทัชสกรีนสำหรับยานยนต์ที่เราเป็นผู้นำตลาดอยู่แล้ว ด้วยคอนโทรลเลอร์ควบคุมจอสัมผัสตระกูลใหม่อย่าง MXT288UD ซึ่งเป็นคอนโทรลเลอร์ควบคุมการสัมผัสเกรดยานยนต์ขนาดเล็กที่สุดของอุตสาหกรรม ที่มาพร้อมประสิทธิภาพและการประหยัดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น"

เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาและบริการออกแบบ

ไมโครชิพมีเครื่องมือสนับสนุนทั้งในรูปแบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยเครื่องมือซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย maXTouch Studio และ maXTouch analyser ส่วนเครื่องมือฮาร์ดแวร์สำหรับ MXT288UD ประกอบด้วย evaluation kit ที่มาพร้อมแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) หนึ่งแผ่น และแผงสัมผัสแบบคาปาซิทีฟขนาด 5 นิ้ว ขณะที่ evaluation kit ของ MXT144UD ประกอบด้วย PCB หนึ่งแผ่น และทัชแพดแบบคาปาซิทีฟขนาด 2.9 นิ้ว คอนโทรลเลอร์ทั้งสองรุ่นมี bridge PCB รวมมาด้วย พร้อมกับการเชื่อมต่อ USB สำหรับต่อประสานกับคอมพิวเตอร์เมื่อใช้ระบบ maXTouch Studio

ไมโครชิพมีวิศวกรกลุ่มงานสัมผัสและการใช้งานภาคสนามคอยให้บริการสนับสนุนที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้าทั่วโลก เพื่อช่วยในการพัฒนาและปรับการทำงานของเซ็นเซอร์สัมผัส และรวมเข้ากับอุปกรณ์การใช้งานปลายทาง

ราคาและการวางจำหน่าย

ตัวควบคุมหน้าจอสัมผัส MXT288UD เริ่มการผลิตในปริมาณมากแล้ววันนี้ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่พนักงานขายของไมโครชิพ ตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับอนุญาต หรือเข้าชมเว็บไซต์ของไมโครชิพ

แหล่งข้อมูลและภาพ

ดูรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):

- ภาพ Full Application:
https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49945887177
- ภาพ Door Module Display:
https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49945590501
- ภาพ Handlebar Display:
https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49945858067
- ภาพ Circular Touchpad:
https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49945562186
- ภาพ ATMXT144UD Tool:
https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49945529666
- ภาพ ATMXT288UD Tool:
https://www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49945523351

เกี่ยวกับ ไมโครชิพ เทคโนโลยี

บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้นำด้านการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์สำหรับโซลูชั่นควบคุมแบบฝังที่เป็นอัจฉริยะ เชื่อมต่อ และปลอดภัย เครื่องมือพัฒนาที่ใช้งานง่าย ตลอดจนกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โซลูชั่นของบริษัทให้บริการลูกค้ามากกว่า 120,000 รายในตลาดอุตสาหกรรม ยานยนต์ ผู้บริโภค อวกาศและการป้องกันประเทศ การสื่อสารและการประมวลผล สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com

#

หมายเหตุ : ชื่อและโลโก้ The Microchip โลโก้ Microchip และ maXTouch เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ สำหรับเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในที่นี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ


ข่าวไมโครชิพ เทคโนโลยี+คอนโทรลเลอร์วันนี้

ไมโครชิพขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ System-on-Module (SOM) ที่ใช้ MPU ด้วย SAM9X60D1G-SOM

SOM ฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กช่วยให้การออกแบบและการผลิตง่ายขึ้น และเร่งความเร็วในการนำสู่ตลาด เนื่องจากตลาดอุปกรณ์แบบฝังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผู้พัฒนาจึงพยายามปรับปรุงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรืออาจต้องเปลี่ยนการใช้งานจากไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ไปเป็นไมเครโพรเซสเซอร์ (MPU) เพื่อช่วยเหลือผู้พัฒนาในการเปลี่ยนผ่านนี้และลดความซับซ้อนในการออกแบบ วันนี้บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงประกาศการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ System-on-module (SOM) ไมโครโพร

นักพัฒนาเครือข่าย IoT กำลังมองหาแนวทางที่... บอร์ดพัฒนา 8-bit MCU รุ่นใหม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G LTE-M Narrowband-IoT — นักพัฒนาเครือข่าย IoT กำลังมองหาแนวทางที่ง่าย สำหรับติดตั้งการเชื่อมต่อกับเซล...

เพื่อการออกแบบด้านยานยนต์ที่มากด้วยสมรรถน... ไมโครชิพเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 8 บิตตระกูลใหม่ระบบ CAN FD — เพื่อการออกแบบด้านยานยนต์ที่มากด้วยสมรรถนะ ง่ายต่อการใช้งาน CIPs และการเชื่อมต่อกับเครือ...

ไมโครชิพ เปิดตัวโซลูชัน USB-PD ใหม่ รองรับเทคโนโลยี Power Delivery (PD) ป้อนตลาด USB Type-C(TM) ที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง

เสริมทัพด้วยวงจรรวม USB 3.1 PD SmartHub(TM) พร้อมฟีเจอร์ HostFlexing และ PDBalancing คู่กับคอนโทรลเลอร์ USB Type-C PD แบบสแตนอโลน เพื่อให้นำไปใช้งานได้สะดวกขึ้น USB Type-C ...

ไมโครชิพ ช่วยนักพัฒนาเร่งการออกแบบโหนด IoT ระยะไกล ด้วยผลิตภัณฑ์ตระกูล LoRa(R) System-in-Package ที่ใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม

- SAM R34/35 คืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเชื่อมต่อไร้สายระยะไกล พร้อมยืดอายุแบตเตอรี่ และประหยัดพลังงานมากที่สุดในอุตสาหกรรม ปัจจุบัน เทคโนโลยี LoRa(R) (Long Range)...

ไมโครชิพ ขอแนะนำตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล (DSC) รุ่นใหม่ ช่วยเร่งประสิทธิภาพ DSP สำหรับงานที่มีเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ

- dsPIC33CK จากไมโครชิพ คือ single-core DSC ที่มาในแพคเกจจิ๋ว แต่สมรรถนะสุดแจ๋ว สำหรับนักออกแบบระบบไฟฟ้าที่ต้องการฟังก์ชันการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล พร้อมด้วยความเรียบง่ายในการออกแบบไม...

ไมโครชิพ เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานในโหนดเซ็นเซอร์ ด้วย MCU ขนาด 8-bit รุ่นใหม่ตระกูล tinyAVR(R)

- ATtiny3217 และ ATtiny3216 น้องใหม่ในตระกูล tinyAVR (R) ของไมโครชิพ ชูจุดเด่นหน่วยความจำขนาดใหญ่ที่สุดในซีรีส์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ตระกูล AVR(R) ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานมาเป็นระยะเวลายาวนาน ...