ไมโครชิพ เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์และเฟิร์มแวร์ใหม่ ช่วยป้องกันมัลแวร์ประเภท Rootkit และ Bootkit ในระบบปฏิบัติการที่บูตระบบจากหน่วยความจำแฟลชแบบ External SPI

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

- ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบเข้ารหัสและเฟิร์มแวร์แบบกำหนดเองรุ่นใหม่ ตลอดจนบริการด้านการผลิตจากไมโครชิพ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ระบบต่าง ๆ สามารถตรวจจับและหยุดยั้งมัลแวร์ก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน

ไมโครชิพ เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์และเฟิร์มแวร์ใหม่ ช่วยป้องกันมัลแวร์ประเภท Rootkit และ Bootkit ในระบบปฏิบัติการที่บูตระบบจากหน่วยความจำแฟลชแบบ External SPI

ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของ 5G ไม่ว่าจะป็นโครงสร้างพื้นฐานเซลลูลาร์ใหม่ เครือข่ายและดาต้าเซ็นเตอร์ที่รองรับการประมวลผลคลาวด์ที่กำลังขยายตัว เหล่านักพัฒนาจึงต่างมองหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบปฏิบัติการยังคงความปลอดภัยสูงสุดในทุกสถานการณ์ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) ตระหนักถึงความต้องการดังกล่าว และได้เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นใหม่ CEC1712 MCU ที่รองรับการเข้ารหัส (cryptography-enabled) พร้อมด้วยเฟิร์มแวร์ Soteria-G2 แบบกำหนดเอง (custom firmware) ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อหยุดยั้งมัลแวร์อันตราย อาทิ rootkit และ bootkit สำหรับระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ที่บูตระบบจากหน่วยความจำแฟลช external Serial Peripheral Interface (SPI) flash memory

เฟิร์มแวร์ Soteria-G2 ที่เขียนไว้ในไมโครคอนโทรลเลอร์ CEC1712 Arm(R) Cortex(R)-M4-based แบบ full-featured จะทำหน้าที่เป็น secure boot ที่มีความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ (hardware root of trust) โดยทำงานในโหมด pre-boot สำหรับระบบปฏิบัติการที่บูตระบบจาก external SPI flash memory นอกจากนี้ CEC1712 ยังป้องกัน key revocation และ code rollback ในระหว่างปฏิบัติการ ทำให้สามารถอัปเดตความปลอดภัยระดับฟิลด์ (in-field) ได้ CEC1712 ปฏิบัติตามแนวทาง NIST 800-193 โดยสามารถป้องกันและตรวจจับมัลแวร์ รวมทั้งกู้ระบบจากการการเรียกใช้หน่วยความจำผิดพลาด (corruption) เพื่อความยืดหยุ่นของเฟิร์มแวร์ ทั้งนี้ ระบบ secure boot ที่มีความปลอดภัยระดับฮาร์ดแวร์นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันระบบจากภัยคุกคาม ก่อนที่ภัยคุกคามเหล่านั้นจะโหลดตัวเองเข้าสู่ระบบได้ และจะอนุญาตให้บูตระบบได้ก็ต่อเมื่อใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตเท่านั้น

เฟิร์มแวร์ Soteria-G2 ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ร่วมกับโมโครคอนโทรลเลอร์ CEC1712 เพื่อช่วยให้นักออกแบบสามารถเร่งการใช้งาน secure boot โดยช่วยลดความยุ่งยากในการพัฒนารหัสและลดความเสี่ยง Soteria-G2 ใช้ CEC1712 เป็น secure bootloader ที่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งติดตั้งมาใน Read-Only Memory (ROM) เพื่อความปลอดภัยในระดับระบบ (system root of trust)

"รูทคิตเป็นมัลแวร์ที่มาในรูปของการแอบแฝงตัวโดยเฉพาะ โดยจะโหลดตัวเองขึ้นมาก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน อีกทั้งสามารถซ่อนตัวจากซอฟต์แวร์ anti-malware ทั่วไป จนขึ้นชื่อว่าตรวจจับยาก" เอียน แฮร์ริส รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมวลผลของไมโครชิพ กล่าว "วิธีหนึ่งที่จะช่วยปกป้องระบบจากรูทคิตก็คือ secure boot ซึ่ง CEC1712 ที่มาพร้อมเฟิร์มแวร์ Soteria-G2 ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันมัลแวร์เหล่านี้ ก่อนที่พวกมันจะโหลดตัวเองเข้าสู่ระบบ"

CEC1712 เป็น secure bootloader ที่ทำหน้าที่โหลด ถอดรหัส และรับรองเฟิร์มแวร์เพื่อให้รันบน CEC1712 จาก external SPI flash โดยรหัส CEC1712 ที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว จะรับรองเฟิร์มแวร์ที่ถูกเก็บอยู่ใน SPI flash เป็นหน่วยประมวลผลแอปพลิเคชัน (application processor) ตัวแรก โดยหน่วยประมวลผลแอปพลิเคชันสูงสุดสองตัวได้รับการสนับสนุนโดยส่วนประกอบแฟลชสองตัวที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการผลิต (Pre-provisioning) ตามข้อมูลเฉพาะของลูกค้า เป็นออปชันเสริมจากไมโครชิพ หรือ Arrow Electronics อีกด้วย ทั้งนี้ Pre-provisioning เป็นโซลูชันการผลิตที่ปลอดภัย เพื่อช่วยป้องกันการผลิตมากเกินความต้องการ รวมทั้งป้องกันการปลอมแปลง นอกจากจะประหยัดเวลาในการพัฒนาได้หลายเดือนแล้ว บริการนี้ยังลดขั้นตอนยุ่งยากด้านโลจิสติกส์ ทำให้ลูกค้าดูแลและจัดการอุปกรณ์ได้ง่ายโดยไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตหรือค่าโสหุ้ยที่โดยปกติต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการภายนอกหรือหน่วยงานรับรองอิสระ

"การรักษาความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์เรือธงของไมโครชิพถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการให้บริการของเรา ซึ่งเฟิร์มแวร์ Soteria-G2 และไมโครคอนโทรลเลอร์ CEC1712 มีเป้าหมายเพื่อปกป้องระบบ" ไอเดน มิตเชล รองประธานฝ่าย IoT ของ Arrow Electronics กล่าว "ลูกค้าจะมีความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เราเข้าสู่ยุค 5G และรุกเดินหน้าสู่การใช้โซลูชันเชื่อมต่อและเครื่องจักรอัตโนมัติกันมากขึ้น"

นอกจากป้องกันมัลแวร์อันตรายระหว่างการ pre-boot ในระบบปฏิบัติการ 5G และดาต้าเซ็นเตอร์แล้ว การรวมตัวกันของ CEC1712 และ Soteria-G2 ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบปฏิบัติการของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (connected autonomous vehicle), ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (automotive Advanced Driver Assisted Systems (ADAS)) และระบบอื่น ๆ ที่บูตระบบจาก external SPI flash

เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนา

แพ็กเกจ CEC1712 และ Soteria-G2นำเสนอทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการสนับสนุนซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยการสนับสนุนซอฟต์แวร์ประกอบด้วยคอมไพเลอร์ MPLAB(R) X IDE, MPLAB Xpress และ MPLAB XC32 compilersของไมโครชิพ ขณะที่การสนับสนุนฮาร์ดแวร์จะถูกรวมอยู่ในโปรแกรมเมอร์และดีบั๊กเกอร์รุ่นต่าง ๆ เช่น MPLAB ICD 4 และPICkit(TM) 4 programmer/debugger

ราคาและการวางจำหน่าย

สามารถสั่งผลิต CEC1712H-S2-I/SX ในปริมาณขั้นต่ำ 10,000 ชิ้น ที่ราคาเริ่มต้น 4.02 ดอลลาร์ (รวมเฟิร์มแวร์ Soteria-G2) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพ สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามราคาจัดซื้อ กรุณาติดต่อ Arrow Electronics ที่อีเมล [email protected] และสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ซิลิกอนที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่พอร์ทัลจำหน่ายสินค้าของไมโครชิพ

แหล่งข้อมูลและภาพ

ดูรูปภาพความละเอียดสูงได้ที่ Flickr หรือติดต่อกองบรรณาธิการ (สามารถนำไปเผยแพร่ได้ตามสะดวก):

ภาพการใช้งาน: www.flickr.com/photos/microchiptechnology/49548114798/in/dateposted/เกี่ยวกับ ไมโครชิพ เทคโนโลยี

บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้นำด้านการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์สำหรับโซลูชั่นควบคุมแบบฝังที่เป็นอัจฉริยะ เชื่อมต่อ และปลอดภัย เครื่องมือพัฒนาที่ใช้งานง่าย ตลอดจนกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยง ลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โซลูชั่นของบริษัทให้บริการลูกค้ามากกว่า 120,000 รายในตลาดอุตสาหกรรม ยานยนต์ ผู้บริโภค อวกาศและการป้องกันประเทศ การสื่อสารและการประมวลผล สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com

หมายเหตุ : ชื่อและโลโก้ The Microchip โลโก้ Microchip และ MPLAB เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ เครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในที่นี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ

รูปภาพ: https://photos.prnasia.com/prnh/20200310/2731304-1

คำบรรยายภาพ: CEC1712 ไมโครคอนโทรลเลอร์ใหม่จากไมโครชิพ


ข่าวไมโครชิพ เทคโนโลยี+ไมโครคอนโทรลเลอร์วันนี้

ไมโครชิพขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ System-on-Module (SOM) ที่ใช้ MPU ด้วย SAM9X60D1G-SOM

SOM ฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กช่วยให้การออกแบบและการผลิตง่ายขึ้น และเร่งความเร็วในการนำสู่ตลาด เนื่องจากตลาดอุปกรณ์แบบฝังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผู้พัฒนาจึงพยายามปรับปรุงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรืออาจต้องเปลี่ยนการใช้งานจากไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ไปเป็นไมเครโพรเซสเซอร์ (MPU) เพื่อช่วยเหลือผู้พัฒนาในการเปลี่ยนผ่านนี้และลดความซับซ้อนในการออกแบบ วันนี้บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP) จึงประกาศการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ System-on-module (SOM) ไมโครโพร

นักพัฒนาเครือข่าย IoT กำลังมองหาแนวทางที่... บอร์ดพัฒนา 8-bit MCU รุ่นใหม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G LTE-M Narrowband-IoT — นักพัฒนาเครือข่าย IoT กำลังมองหาแนวทางที่ง่าย สำหรับติดตั้งการเชื่อมต่อกับเซล...

เพื่อการออกแบบด้านยานยนต์ที่มากด้วยสมรรถน... ไมโครชิพเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 8 บิตตระกูลใหม่ระบบ CAN FD — เพื่อการออกแบบด้านยานยนต์ที่มากด้วยสมรรถนะ ง่ายต่อการใช้งาน CIPs และการเชื่อมต่อกับเครือ...

ไมโครชิพ ช่วยนักพัฒนาเร่งการออกแบบโหนด IoT ระยะไกล ด้วยผลิตภัณฑ์ตระกูล LoRa(R) System-in-Package ที่ใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม

- SAM R34/35 คืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเชื่อมต่อไร้สายระยะไกล พร้อมยืดอายุแบตเตอรี่ และประหยัดพลังงานมากที่สุดในอุตสาหกรรม ปัจจุบัน เทคโนโลยี LoRa(R) (Long Range)...

ไมโครชิพ ขอแนะนำตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล (DSC) รุ่นใหม่ ช่วยเร่งประสิทธิภาพ DSP สำหรับงานที่มีเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ

- dsPIC33CK จากไมโครชิพ คือ single-core DSC ที่มาในแพคเกจจิ๋ว แต่สมรรถนะสุดแจ๋ว สำหรับนักออกแบบระบบไฟฟ้าที่ต้องการฟังก์ชันการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล พร้อมด้วยความเรียบง่ายในการออกแบบไม...

ไมโครชิพ เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานในโหนดเซ็นเซอร์ ด้วย MCU ขนาด 8-bit รุ่นใหม่ตระกูล tinyAVR(R)

- ATtiny3217 และ ATtiny3216 น้องใหม่ในตระกูล tinyAVR (R) ของไมโครชิพ ชูจุดเด่นหน่วยความจำขนาดใหญ่ที่สุดในซีรีส์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) ตระกูล AVR(R) ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานมาเป็นระยะเวลายาวนาน ...

ไมโครชิพ เปิดตัว MCU 8 บิตรุ่นใหม่ มาพร้อม Core Independent Peripheral โดยพัฒนาเรื่องการตอบสนองการทำงานระบบ CAN

ผลิตภัณฑ์ตระกูล PIC18 K83 ช่วยให้การออกแบบงานในระบบ CAN ทั้งง่ายและคุ้มค่ายิ่งขี้น บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เดินหน้าขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ PIC18 อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด...

ไมโครชิพ เปิดตัวซอฟต์แวร์ MPLAB(R) Harmony เวอร์ชั่นใหม่ อัพเกรดประสิทธิภาพโค้ดและเครื่องมือพัฒนากราฟิกให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น

- MPLAB Harmony 2.0 พร้อมให้ดาวน์โหลดฟรีแล้ววันนี้ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ประกาศเปิดให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลด MPLAB(R) Harmony 2.0 ได้ฟรี ซอฟต์แวร์นี้เป็นเฟรม...

ไมโครชิพ เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ SAM ตระกูลใหม่ นำเสนอออปชั่นอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อที่ครบวงจร

- ไมโครคอนโทรลเลอร์ ตระกูล SAM D5x และ E5x มาพร้อมความสามารถทรงพลังและฟีเจอร์ความปลอดภัยที่ดีขึ้น บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด [NASDAQ: MCHP] ได้ประกาศวางจำหน่ายไมโครคอนโทรลเลอร์ SAM D5x และ SAM E5x...