ไอบีเอ็ม ผนึกความร่วมมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการนำเทคโนโลยีการประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) และ AI Vision ของไอบีเอ็ม มาใช้สนับสนุนงานวิจัยและการพัฒนาทักษะที่สำคัญต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือนี้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศในการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และการเร่งขับเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 รองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต S-Curve และ New S-Curve ตลอดจนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
นางสิริกร บุญเสริมสุวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจดิจิทัลเซลและคอมเมอร์เชียล บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ความร่วมมือนี้นับว่าเป็นก้าวย่างสำคัญสำหรับไอบีเอ็มและมหาวิทยาลัยมหิดลในการขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่สังคมดิจิทัลและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยไอบีเอ็มได้สนับสนุนฮาร์ดแวร์ IBM Power Systems หรือ HPC เทคโนโลยีประมวลผลสมรรถนะสูง (High-Performance Computing ) ซึ่งอยู่เบื้องหลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความปลอดภัยได้รับมาตรฐานโลก มีการออกแบบเพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) และสนับสนุนระบบ IBM Visual Insights แพลตฟอร์ม AI ที่ก้าวล้ำช่วยให้สามารถใช้ AI ในการวิเคราะห์ไฟล์ภาพหรือวิดีโอ (AI Vision) ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้ดิสรัปชันอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ได้กระตุ้นให้ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆของไทย ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาทักษะที่สำคัญให้แก่บุคลากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สถานการณ์การแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน และองค์กรที่สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้เร็วที่สุดเท่านั้นที่จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีก้าวล้ำและความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรด้านวิชาการ จะช่วยให้เราสามารถสร้างทักษะที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และช่วยให้เราเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในยุคนิวนอร์มัล”
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากวิสัยทัศน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มุ่งสู่การก้าวเป็น วิศวกรรมศาสตร์ระดับโลก และในปี 2563 ยังมีแผนพัฒนาการศึกษา New Normal Engineering และดำเนินงานวิจัยพัฒนาระดับโลกมารองรับวิถีใหม่ สร้างเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนของประเทศให้สามารถเพิ่มผลิตภาพในองค์กรและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์โลกในอนาคตได้ ทั้งนี้ COVID-19 ดิสรัพชั่น เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของดิจิทัลเทคโนโลยีเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในการก้าวสู่ Industry 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น การพัฒนากำลังคนในภาคอุตสาหกรรมทั้งการ Reskill – Upskill เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของคนไทยและการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อพัฒนาทักษะเดิมด้วยองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นให้รองรับกับงานใหม่หรืองานในอนาคตมากขึ้น ส่วน จะช่วยเสริมสร้างทักษะใหม่ที่สอดคล้องกับธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก ทักษะทางด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงการทำงานกับข้อมูลมหาศาลหรือ Big Data เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อตอบรับงานวิจัยในวิถีใหม่นิวนอร์มอล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงรุก 3 ด้าน ได้แก่
จากข้อมูลการศึกษาวิจัยโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) พบว่าในอีกสองปีข้างหน้า บุคลากรมากถึง 120 ล้านคนในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก 12 ประเทศ อาจจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนทักษะใหม่ๆ และพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มเติม อันเป็นผลมาจากการเข้ามามีบทบาทของ AI และ Automation อัจฉริยะ นอกจากนี้ มีซีอีโอของบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในการสำรวจเพียงร้อยละ 41 เท่านั้นที่ระบุว่าบริษัทของตนมีบุคลากร ทักษะ และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานตามกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท โดยการศึกษาวิจัยที่ได้มีการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารทั่วโลกกว่า 5,670 คนใน 48 ประเทศ ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการปัญหาด้านความต้องการแรงงานในทุกระดับชั้นขององค์กร
ในฐานะองค์กรด้านเทคโนโลยีระดับโลก ทางไอบีเอ็มมองว่าตลาดแรงงานกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริการแบบ Value-Added มากขึ้น และการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลในครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในระยะยาวของไอบีเอ็ม ในแง่การช่วยสร้างทักษะที่จำเป็นเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีล่าสุดเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในประเทศไทย
BDMS Wellness Clinic และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เตรียมจับมือโรงแรมศรีพันวา ภูเก็ต เปิด BDMS Wellness Clinic X Sri panwa ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผลักดันประเทศไทยสู่ Wellness Hub ระดับโลก บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันของประเทศไทย สานต่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Economic Corridor AWC) จับมือโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต และโรงแรมศรีพันวา ภูเก็ต เตรียมเปิดตัว BDMS Wellness Clinic สาขาศรีพันวา ภูเก็ต ยกระดับการท่องเที่ยว
สกสว. นำทัพ จัดเวทีระดมความคิดเห็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
—
กองทุน ววน. โดย สกสว. ประสานความร่วมมือ สศช. ขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจใต้ พัฒนาเป็นพื้นที่เ...
รมว.สุชาติ สั่งกรมพัฒน์ up skill ผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ป้อน EEC
—
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งดำเนินการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีการผลิตอัต...
"อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์" เปิดโมเดล ' Mixed-use' โครงการ 'LITTLE WALK'ลาดกระบัง ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งแห่งใหม่ยกระดับการช้อปปิ้งสู่ย่าน Upper-Class Lifestyle
—
บมจ.อินเด็ก...
เกรท วอลล์ มอเตอร์ ต้อนรับเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย เยี่ยมชมโรงงานอัจฉริยะที่จังหวัดระยอง
—
เกรท วอลล์ มอเตอร์ ให้การต้อนรับ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสาธารณ...
รมว.สุชาติ ขานรับนโยบายนายก เร่งพัฒนาแรงงานเขตพื้นที่พิเศษ เสริมเศรษฐกิจท่องเที่ยว ตั้งเป้า 12,480 คน
—
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิด...
PwC ประเทศไทย ชี้แนวโน้มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทยในปี 64 ยังขยายตัวแม้เจอผลกระทบโควิด-19
—
PwC ประเทศไทย เผยแนวโน้มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทยในปี...
กรุงศรีเปิดสำนักงาน EEC แห่งใหม่ที่ศรีราชาและระยอง เสริมศักยภาพบริการเหนือระดับเพื่อส่งเสริมการลงทุนต่างชาติในไทย
—
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มห...