“วราวุธ ทส.”เตือนนักท่องเที่ยวนั่งถ่ายภาพบนซากเรือ ต้นเหตุทำลายทรัพยากรปะการัง สั่งกรมทะเลฯตรวจสอบพร้อมเร่งประกาศมาตรการท่องเที่ยวดำน้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรณีเฟสบุ๊คจิตอาสา Go Eco Phuket รายงานภาพกลุ่มนักดำน้ำนั่งถ่ายภาพบนซากเรือปะการังเทียม บริเวณเกาะราชาใหญ่ เป็นเหตุให้สังคมกังวลถึงผลกระทบและความเหมาะสมของพฤติกรรม พร้อมฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาถึงการกระทำดังกล่าว    

“วราวุธ ทส.”เตือนนักท่องเที่ยวนั่งถ่ายภาพบนซากเรือ ต้นเหตุทำลายทรัพยากรปะการัง สั่งกรมทะเลฯตรวจสอบพร้อมเร่งประกาศมาตรการท่องเที่ยวดำน้ำ

ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชี้ว่าจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล พร้อมสั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเร่งตรวจสอบและหามาตรการในการจัดการอย่างเป็นระบบและให้ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้นด้วย    

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในกรณีนี้ ที่กระทรวง ทส.ว่าตนได้รับรายงานกรณีมีนักท่องเที่ยวดำน้ำนั่งถ่ายรูปกับซากเรือที่มีปะการังเกาะอยู่ บริเวณเกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต สำหรับตนแล้ว ถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสสร้างความเสียหายต่อปะการังที่เกาะอาศัยอยู่ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่าเริ่มมีการเกาะตัวของปะการังอ่อน หรือพืชขนาดเล็กขึ้นปกคลุมซากเรือลำนี้แล้ว การนั่งหรือการเหยียบบริเวณดังกล่าวจะสร้างความเสียหายทำให้ปะการังอ่อนเกิดการแตกหักได้ อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและสั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเร่งตรวจสอบและหามาตรการในการจัดการอย่างเป็นระบบและต้องเด็ดขาด และให้รวมถึงในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตนอยากฝากถึงพี่น้องประชาชนทุกคน ว่า”นับแต่มีการผ่อนปรนให้เริ่มมีการท่องเที่ยวภายในประเทศได้ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล จะเป็นเป้าหมายแรก ๆ ของนักท่องเที่ยว ตนอยากขอให้ทุกคนท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก ธรรมชาติได้พักฟื้นในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนคืนความสมบูรณ์จนเป็นที่ประจักษ์ในหลายพื้นที่ เราทุกคนต้องช่วยธรรมชาติในการฟื้นฟูตัวเอง ต้องเว้นระยะห่างระหว่างระบบนิเวศทางธรรมชาติ ลดการปล่อยมลพิษ รวมถึง ปรับพฤติกรรมที่คำนึงถึงความสมบูรณ์และคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามจะคงอยู่กับประเทศไทยไปอีกนานเพื่อส่งผ่านไปยังลูกหลานของเราในรุ่นต่อไป    

ด้านนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวเสริมว่า พื้นที่เกาะราชาใหญ่พบแนวปะการังกว่า 268 ไร่ ทั้งทางด้านตะวันตก ตะวันออก และด้านเหนือของเกาะ สภาพปะการังในพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ได้รับความเสียหายทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งเมื่อปี 2559 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ออกคำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการกำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการระงับความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรปะการัง ใน 7 พื้นที่ ซึ่งรวมถึงพื้นที่เกาะราชาใหญ่ ทั้งนี้ ได้กำหนดให้บุคคลหรือผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวดำน้ำจะต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง รวมถึง ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวดำน้ำลึก ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักการของสถานบันการเรียนการสอนดำน้ำสากล หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อเป็นการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู ทรัพยากรปะการัง โดยการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ บริเวณแนวปะการัง ต้องจัดให้มีผู้ควบคุม เพื่อให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ควบคุม กำกับ และดูแลนักท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวทำลาย ทำให้เกิดความเสียหายหรือสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศบริเวณแนวปะการัง ซึ่งอีกไม่นานจะมีผลบังคับใช้ในมาตรการนี้ต่อไป    

อย่างไรก็ตาม ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ประสานและติดตามนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้รวมถึง ได้กำชับให้ประชาสัมพันธ์และกวดขันเรื่องการดำน้ำในพื้นที่อย่างเข้มงวดและจริงจัง อนึ่ง หากมีการพบเห็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเล สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่นั้น ๆ หรือแจ้งสายด่วน Green Call 1310 หรือผ่านทาง Application MRNR e-petition เพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและดำเนินการได้ทันต่อสถานการณ์ อธิบดีทช.กล่าวยืนยัน


ข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม+กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวันนี้

ซีพีเอฟ ร่วมอนุรักษ์ท้องทะเลไทย เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนอย่างยั่งยืนปล่อยปูม้า 20 ล้านตัว ปลูกต้นโกงกาง เก็บขยะชายหาดบางสน จ.ชุมพร

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และชุมชนชาวประมงพื้นบ้านบ้านหินกบ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ดูแลระบบนิเวศอ่าวไทย ประสานพลังพนักงานปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า 20 ล้านตัวกลับคืนสู่ท้องทะเล ปลูกต้นโกงกาง 1,000 ต้น และเก็บขยะชายฝั่ง บริเวณชายหาด ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ โดยชมรมบำเพ็ญประโยชน์และชมรมท่องเที่ยวจิตอาสาได้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้น

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดงานวันทะเ... "ท่าเรือประจวบ" รับใบประกาศคุณประโยชน์ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลฯ — กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดงานวันทะเลโลก 2566 "เปลี่ยนพลิกฟื้น คืนโลกสีคราม Plan...

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธร... ปตท. ผนึกภาครัฐและภาคีเครือข่าย เร่งปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ มุ่งบรรลุเป้า Net Zero Emissions ปี 2050 — นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ...

นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการ และ น... JR ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 ปลูกป่าชายเลน "รักษ์โลก" จำนวน 40 ไร่ — นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการ และ นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ ...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับมอบเคร... Dow รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง "รักษ์ทะเลยิ่งชีพ" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง "ร...