Strategy& ชี้สถานการณ์โควิด-19 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บริษัท Strategy& ของ PwC เผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหันมาชอปปิงออนไลน์และใช้บริการจัดส่งมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านและการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ แนะผู้ประกอบการค้าปลีกที่ยังไม่มีช่องทางออนไลน์หาแพลตฟอร์มที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มช่องทางการขายและเข้าถึงผู้บริโภค พร้อมวางกลยุทธ์ในระยะยาว เพราะเชื่อว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคหลังโควิด-19 จะส่งผลกระทบอย่างถาวร    

Strategy& ชี้สถานการณ์โควิด-19 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจ 'Evolving priorities: COVID-19 rapidly reshapes consumer behavior’ ที่จัดทำโดยบริษัท Strategy& (สแตร็ดติจี้ แอนด์) ของ PwC ว่าได้ทำการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคในกลุ่มผู้ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาจำนวนกว่า 1,600 รายเพื่อทำความเข้าใจว่า พวกเขาได้ปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันและพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างไรเพื่อรับมือกับโรคระบาด ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่าวิกฤตด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากไวรัสโควิด-19 กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจส่งผลกระทบคงอยู่เป็นระยะเวลานาน

ผู้บริโภคยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่ชัดเจน

ผลจากการสำรวจพบว่า 57% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการเว้นระยะห่างทางสังคมจากเพื่อนฝูง และ 50% บอกว่า พวกเขาทำงานจากที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ หรือตลอดเวลา ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ผู้ตอบแบบสอบถาม 49% ยังกล่าวด้วยว่า พวกเขาหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ขณะที่ 42% หลีกเลี่ยงการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เมื่อต้องออกไปธุระข้างนอก

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (78%) ยังมีความกังวลต่อต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เป็นผลพวงจากโรคระบาดนี้ เช่น การว่างงาน ภาวะถดถอย และความยากลำบากทางเศรษฐกิจ โดย 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า มีความกังวลเกี่ยวกับการล้มป่วย และการสูญเสียชีวิต และ 48% กล่าวว่า พวกเขาเป็นห่วงเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 ของสมาชิกในครอบครัว

ทั้งนี้ จากการศึกษาซึ่งจัดทำโดยทีมนักยุทธศาสตร์เชิงปฏิบัติระดับโลกยังพบว่า ผู้บริโภคต่างเลือกซื้อสินค้าที่มีความจำเป็นมากขึ้น หลังมีการกำหนดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น วัตถุดิบที่ไม่เน่าเสียง่าย (27%) ของใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์ทำความสะอาด (25%) และอาหารแช่แข็ง (25%) ซึ่งสินค้าเหล่านี้ล้วนเป็นที่ต้องการสูง

ชอปปิงออนไลน์และบริการจัดส่งมาแรง

ในขณะที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก และแยกตัวเองออกจากสังคม นี่จึงทำให้พฤติกรรมการชอปปิงเปลี่ยนมาเป็นออนไลน์มากขึ้น โดยการสำรวจพบว่า ความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ที่มาพร้อมบริการจัดส่งถึงบ้านสำหรับสินค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นของชำและอาหารแช่แข็ง ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลสัตว์เลี้ยง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้รับความนิยมสูงกว่าการซื้อสินค้าออนไลน์โดยที่ผู้บริโภคต้องเข้ามารับสินค้าที่ร้านด้วยตนเอง

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า การอยู่ที่บ้านมากขึ้น ยังหมายถึงการที่ผู้บริโภคมีเวลามากขึ้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความบันเทิง การทำอาหาร การทำงานบ้าน และการออกกำลังกายด้วย

ลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคอาจส่งผลกระทบในระยะยาว

เมื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกกิจกรรมซึ่งตนใช้เวลามากขึ้นจากการอยู่ที่บ้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง (56%) กล่าวว่า พวกเขาได้มีเวลาทบทวนการใช้ชีวิตมากขึ้น ในขณะที่ 28% ได้ทำงานอดิเรกใหม่ ๆ และ 48% มีความตั้งใจที่จะดูแลรักษาสุขภาพและพฤติกรรมเพื่อการใช้ชีวิตที่ดีในระยะยาว

นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง กล่าวว่า “โควิด-19 ได้กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตั้งแต่การหาข้อมูลสินค้าและบริการ การสั่งอาหาร การตรวจสอบสถานะการจัดส่ง ไปจนถึงการเรียนหนังสือในห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่า คนจำนวนมากได้ปรับรูปแบบการชีวิตให้เป็นไปออนไลน์ เชื่อว่า หลังโควิด-19 สิ้นสุดลง พฤติกรรมเหล่านี้ก็จะยังติดตัวผู้บริโภคต่อไปและจะทำให้สัดส่วนการใช้บริการออนไลน์สูงต่อไปด้วย    

“ก่อนวิกฤตโควิด-19 ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยบางรายสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคดิจิทัลได้ดี โดยได้มีการสร้างช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ ให้ลูกค้าทำรายการได้ และมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมลูกค้า แต่ก็ยังมีหลายรายที่ยังไม่ได้เริ่ม หรือทำไปแค่เบื้องต้น ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จะต้องปรับตัวแบบ 180 องศา เพื่อให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมและนำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อเพิ่มยอดขายและผลกำไรต่อไป    

“ในช่วงที่เราทุกคนยังต้องประคับคองธุรกิจและให้บริการลูกค้าในช่วงเวลาที่ท้าทายแบบนี้ ผู้ค้าปลีกอาจจะมองหาแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วในตลาด และไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเพื่อสร้างธุรกิจบนสังคมออนไลน์ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ต้องมั่นใจว่า เนื้อหามีการอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ และมีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าที่นอกเหนือไปจากการสร้างความสัมพันธ์ผ่านการทำธุรกรรมระหว่างกันเพียงอย่างเดียว”


ข่าววิไลพร ทวีลาภพันทอง+ผู้ประกอบการวันนี้

DigitalCEO8 เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นำคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จำนวน 82 คน เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand นายพิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC (ประเทศไทย) ให้เกียรติต้อนรับผู้อบรม ก่อนนำเข้าสู่การบรรยายพิเศษ "กรณีศึกษา PwC digital Transformation" โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด และหัวข้อ

PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบ... PwC ประเทศไทย เผยโซลูชัน BaaS จิ๊กซอว์สำคัญพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทย — PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในก...

PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่ส... PwC ประเทศไทย ชี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลไม่สำเร็จ — PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำ...

PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปล... PwC แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์ย้ายโครงสร้างไอทีดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์ — PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมสู่...

PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thai... PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565 — PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2...