จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้สถานที่ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา และร้านค้า เป็นต้น มีการจัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ไว้สำหรับทำความสะอาดมือก่อนเข้าไปใช้บริการในสถานที่นั้นๆ การใช้งานต้องใช้มือกดที่หัวจ่ายซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของไวรัสและความไม่สบายใจของผู้ใช้จากการสัมผัสหัวจ่าย ดังนั้น ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญในจุดนี้จึงมีการคิด ออกแบบ และสร้างเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติ (Automatic Alcohol Gel Dispenser; AAGD) โดยไม่มีการสัมผัสเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ใช้เจลแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดมือได้เป็นอย่างดี
อาจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ศรีรักษา อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กล่าวว่า ทางคณะได้ออกแบบเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติ (AAGD) โดยใช้หลักการตรวจจับสัญญาณมือเพื่อจ่ายเจลแอกอฮอล์ แทนการใช้มือกดที่หัวจ่าย โดยคำนึงถึงการใช้งานสะดวก ติดตั้งง่าย และใช้กับภาชนะบรรจุภัณฑ์ทุกรูปแบบ ดังนั้นอุปกรณ์ที่นำมาสร้างต้องหาง่ายและมีราคาถูก ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) ชุดตรวจจับสัญญาณมือ 2)วงจรควบคุมปั๊ม และ 3)ตัวปั๊ม โดยหลักการทำงานเริ่มจากผู้ใช้นำมือไปผ่านชุดตรวจจับสัญญาณ หลังจากนั้นจะส่งสัญญาณไปยังวงจรควบคุมปั๊มทำการจ่ายเจลแอลกอฮอล์สู่มือผู้ใช้ เมื่อได้ปริมาณเจลแอลกอฮอล์เพียงพอผู้ใช้นำมือออกจากชุดตรวจจับสัญญาณตัวเครื่องจะหยุดการทำงาน ซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องสัมผัสกับหัวจ่ายทำให้ปลอดภัยและสร้างความมั่นใจได้เป็นอย่างดี
ขณะนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อยู่ระหว่างทดลองเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์อัตโนมัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนนำไปมอบแก่โรงพยาบาล และหน่วยงานราชการในพื้นที่จังหวัดพัทลุง หากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อาจารย์ ดร.ธนวัฒน์ ศรีรักษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โทร.081 - 4578347, E - mail : [email protected]
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ ณ จังหวัดปราจีนบุรี เยี่ยมชมกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษที่เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบบริหารจัดการตามมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้โมเดล "Circular Economy" หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ดั๊บเบิ้ล เอ นำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อม
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...
มทร.ธัญบุรี เจ๋ง! คิดค้นกระถางรักษ์โลกจากวัสดุชีวมวล สร้างรายได้ ลด PM 2.5
—
หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห...
คณะวิศวฯ มจพ. จับมือ สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย อบรมนักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ SA ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ พ.ศ 2568
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท...
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
—
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...
รอบที่ 3 รับสมัครนักศึกษาใหม่ รอบ Admission น้องๆนักศึกษาเตรียมตัวให้พร้อม
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับนั...
'SPU Engineering Camp 2025' ม.ศรีปทุม พานักเรียนสัมผัสโลกวิศวกรรม เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง!
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโครงการ "SPU Enginee...
ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์
—
ฟอร์ติเน็ต ผู้...
NT ร่วมกับ จุฬาฯ เปิดตัวแพลตฟอร์มศูนย์บริการ NT Metaverse
—
NT ปลื้มเปิดตัว NT Metaverse ศูนย์บริการในโลกเสมือน พร้อมโชว์ผลงานสนับสนุนทุนวิจัยและโครงสร้าง...
คณะวิศวะ มทร.กรุงเทพ ตรวจสอบอาคารสูงในมหาวิทยาลัยประเมินความมั่นคงและปลอดภัยหลังแผ่นดินไหว
—
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหา...