ในช่วงของการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อหยุดยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 คนไทยต่างพร้อมใจกันอยู่บ้าน หนุนระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลายคนทำงานจากบ้าน พอดีคำ ดอทเอไอ ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสายเฮลท์เทคของคนไทย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญชวนเข้าเพจแชทบอท “จับใจสู้โควิด” ซึ่งเป็นระบบหุ่นยนต์ AI แชทบอทใหม่ล่าสุด เพื่อช่วยดูแลสุขภาพจิตของเยาวชนและคนไทยให้ห่างไกลจากความกลัวความเครียดในภาวะวิกฤติ COVID-19
ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่เกิดภาวะเครียดกังวล แต่รวมถึงเด็กและเยาวชนด้วย จากข้อมูลวิจัยที่น่าสนใจ โดยองค์การยูนิเซฟ ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ จัดสำรวจเป็นครั้งแรกที่มุ่งศึกษาผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม ถึง 6 เมษายน จากเด็กและเยาวชนจำนวน 6,771 คนทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อายุ 15-19 ปี
ผลสำรวจล่าสุดของยูนิเซฟ เรื่องผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย พบว่า เด็ก และเยาวชนกว่า 8 ใน 10 คน มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเงินของครอบครัว เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อันเป็นผลมาจากการปิดตัวของธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนการถูกเลิกจ้าง เด็กเกินครึ่งรู้สึกกังวลด้านการเรียน การสอบ และโอกาสในการศึกษาต่อ เนื่องจากการปิดโรงเรียนเป็นระยะเวลานาน ในขณะที่ ร้อยละ 7 รู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สิ่งที่เด็กและเยาวชนอยากเรียนรู้เพิ่มเติมมากที่สุด คือ ภาษาอังกฤษ, รองลงมาคือ ความรู้เสริมในวิชาที่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่ เด็ก 1 ใน 4 คนระบุว่าอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการกับความเครียดและโรคซึมเศร้า
ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมวิจัยของสตาร์ทอัพไทย บ. พอดีคำ ดอทเอไอ จำกัด กล่าวว่า หลังจากความสำเร็จของ “จับใจ แชทบอท” ระบบหุ่นยนต์ AI ประเมินผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งได้การตอบรับจากคนทุกวัยอย่างล้นหลามแล้วนั้น จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและกว่า 180 ประเทศในขณะนี้ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลก (ณ วันที่ 19 เมย.) กว่า 2.3 ล้านราย และผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เราจึงได้เปิดตัวพัฒนาแชทบอทใหม่ล่าสุด คือ “จับใจสู้โควิด” ซึ่งเป็นเพจและ AI แชทบอทมาดูแลสุขภาพจิตคนไทยในภาวะวิกฤติโควิด-19 มุ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางเพื่อช่วยเหลือคนไทยในยามที่ต้องเผชิญกับความกังวล การล็อคดาวน์ สิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่คาดฝันมาก่อน
พณิดา โยมะบุตร นักจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้ร่วมพัฒนาแชทบอท “จับใจสู้โควิด” กล่าวว่า เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เรายังไม่รู้จักมาก่อน ส่งผลต่อวิถีชีวิต การทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน ความไม่แน่นอนและการคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ ประกอบกับการได้รับข้อมูลข่าวสารถึงผลกระทบต่างๆ อาจก่อให้เกิดความเครียด ความกลัว ในจิตใจของคนไทยได้ทุกเพศทุกวัย เราจึงได้พัฒนาแชทบอทนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลสุขภาพจิตของคนไทยในสถานการณ์นี้ ผู้ใช้งาน “จับใจสู้โควิด” สามารถใช้งานได้ 2 ฟังก์ชั่น คือ 1. ฟังก์ชั่นประเมินความเครียด พร้อมคำแนะนำช่วยเหลือตามหลักจิตวิทยา ซึ่งจะทำการพูดคุยผ่านแชทที่มีความเป็นส่วนตัว โดยมีแบบสอบถามที่เป็นกันเองให้ตอบเพื่อประเมินภาวะเครียดในช่วงโควิด-19 หากพบว่าผู้ใช้มีความเครียดก็จะให้คำแนะนำและช่วยเหลือทางจิตใจเบื้องต้นตามหลักจิตวิทยา และยังมีการใช้เทคนิคดนตรีบำบัด (Music Therapy) เพื่อช่วยฝึกเทคนิคการผ่อนคลายเชิงลึก 2. ฟังก์ชั่นคุยเล่นกับจับใจ สามารถพูดคุยเล่นกับจับใจได้ในเรื่องทั่วไป ช่วยให้เกิดความผ่อนคลายและเพลิดเพลิน เป็นการช่วยเบี่ยงออกมาจากอารมณ์เครียดและกังวลได้
ดร.ยงยศ แก้วพิทักษ์กุล ซีอีโอ บริษัท พอดีคำ ดอทเอไอ กล่าวว่า จุดเด่นของแชทบอท”จับใจสู้โควิด” คือสามารถเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ในยุคเผชิญโควิด-19 ได้และมีความเป็นส่วนตัว ทำให้ผู้ใช้สะดวกใจที่จะเข้ามาใช้งาน โดยเราได้ใช้อัลกอริธึ่ม (Algorithm) ที่พัฒนามาให้เข้าใจอารมณ์ของผู้ใช้งานที่สื่อสารออกมาผ่านข้อความที่พิมพ์เข้ามา ทำให้แชทบอท”จับใจสู้โควิด” สามารถประมวลวิเคราะห์ทำความเข้าใจทั้งเนื้อหาและอารมณ์ของผู้ใช้ นับเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยีของเรา
วิธีการใช้งาน “จับใจสู้โควิด” ง่ายดายเพียงผู้ใช้งานเสิร์ชหาคำว่า “จับใจสู้โควิด” ในช่องค้นหา ของแอพลิเคชั่นเฟสบุ้ค แล้วเข้ามาที่หน้าเฟสบุ้ค เพจ “จับใจสู้โควิด” จากนั้นกดปุ่ม “ส่งข้อความ” เพื่อเริ่มคุยได้ทันที ประโยชน์ของจับใจสู้โควิด คือ การโต้ตอบได้อย่างทันทีทันใด และใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้ผู้ใช้งานได้รับการดูแลสุขภาพจิตได้ทุกที่เมื่อต้องการ แต่ถ้าหากผู้ใช้งานท่านใดมีภาวะซึมเศร้าก็สามารถพูดคุยกับอีกแชทบอทได้เช่นกัน โดยเสิร์ชหาคำว่า “จับใจ แชทบอท” ในช่องค้นหา ของแอพลิเคชั่นเฟสบุ้ค เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้า
แม้โรคระบาดไวรัสโควิด-19 จะยังไม่สุดสิ้นในระยะอันสั้น และอาจยังคงอยู่กับเราเป็นเวลาเนิ่นนานออกไป ทางที่ดีที่สุดคือการปรับใจและปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันตนเองและรับผิดชอบต่อสังคม “จับใจสู้โควิด” จะอยู่เป็นเพื่อนคนไทยเพื่อก้าวผ่านวิกฤตินี้อย่างปลอดภัยไปด้วยกัน
การแพทย์และสาธารณสุขไทยก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศในด้านบริการบำบัดรักษาและความมั่นคงทางสุขภาพ ซึ่งระบบบริหารจัดการและโลจิสติกส์ที่อยู่เบื้องหลังนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โชว์ความสำเร็จ เปิดตัว 'นวัตกรรมระบบบริหารจัดการคลังยาและการขนส่งอัจฉริยะในโรงพยาบาล' ชูประสิทธิภาพของ 'ต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ' พร้อมร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศสู่
วช. นำ"นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกsPace" ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ รพ.อุดรธานี และรพ.ศรีนครินทร จ.ขอนแก่น
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาต...
นวัตกรรม "แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" คว้ารางวัลเหรียญทองงานนักประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด...
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
ศูนย์รังสีร่วมรักษาศิริราช " เปิดนวัตกรรม IR ทางเลือกรักษาแห่งอนาคต เสนอรัฐหนุนขึ้นนโยบายสุขภาพ เพิ่มมาตรฐานการรักษา ลดภาวะแทรกซ้อน
—
ศูนย์รังสีร่วมรักษาศ...
ศิริราช เชิญร่วมบริจาคเลือดรับปีใหม่ไทย 9 - 16 เม.ย.68
—
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญรับปีใหม่ "สงกรานต์สุขใจให้เลือด" โดย...
ศิริราชมอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2566 และ 2567 ให้แก่ นพ.มนตรี หนองคาย และ นพ.วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา
—
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงานประก...
ศิริราชกับความสำเร็จระดับโลก ครั้งแรกในการผลิตกระดูกเบ้าสะโพกไทเทเนียมเฉพาะบุคคล
—
ศิริราชกับความสำเร็จระดับโลกครั้งแรกในการผลิตกระดูกเบ้าสะโพกไทเทเนียมเฉ...
กรุงไทยโชว์นวัตกรรม "กระเป๋าสุขภาพ" บนแอปฯเป๋าตัง ในงานประชุมวิชาการ การป้องกันการหกล้มและกระดูกหักในผู้สูงอายุไทย
—
นางวรานิช อุชชิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัด...
ศิริราชร่วมเฉลิมฉลอง 120 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-นอร์เวย์ จัดเดิน-วิ่งการกุศล สมทบทุนศิริราชมูลนิธิ
—
ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริ...