มัดรวมมาให้ 9 ความเชื่อจริงชัวร์หรือมั่วนิ่ม การปฏิบัติตัวช่วง COVID-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ข้อมูลที่คุณรู้ ข่าวที่คุณเสพ โดยเฉพาะเนื้อหาที่แชร์ต่อ ๆ กันบนโลกออนไลน์แบบไม่มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป และสร้างความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ COVID-19 โดยมี ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาช่วยตอบคำถามไขข้อเท็จให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนี้

มัดรวมมาให้ 9 ความเชื่อจริงชัวร์หรือมั่วนิ่ม การปฏิบัติตัวช่วง COVID-19

ฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยแล้วนำมาใช้ต่อได้ มัดรวมมาให้ 9 ความเชื่อจริงชัวร์หรือมั่วนิ่ม การปฏิบัติตัวช่วง COVID-19

ไม่จริง : การฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัยเป็นส่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะด้านหน้าของหน้ากากอนามัยมีการเคลือบสารกันซึมไว้ ดังนั้นการฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากอนามัย จะทำให้คุณสมบัติของสารกันซึมนั้นเสื่อมประสิทธิภาพ เกิดการรั่วซึมและไม่สามารถป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคได้

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็น COVID-19

ไม่จริง : วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถป้องกัน COVID-19 ได้ และในขณะนี้วัคซีนของ COVID-19 ยังอยู่ในขบวนการศึกษาวิจัย ต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงกับคน

ไม่มีไข้ก็สามารถเป็น COVID-19 ได้

จริง : ในระยะเริ่มต้นของโรคผู้ป่วยร้อยละ 50 อาจไม่มีไข้ได้ แต่หากเข้าสู่ระยะที่เป็นมากขึ้นหรือต้องนอนโรงพยาบาลผู้ป่วยกว่าร้อยละ 90 จะมีไข้ชัดเจน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับระยะของโรค ถ้าหากเป็นวันแรก ๆ การตรวจวัดไข้อาจไม่พบได้

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถป้องกัน COVID-19 ได้

ไม่จริง : การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเหมาะสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ คนที่มีอาการคัดจมูกหรือเป็นไซนัสอักเสบ แต่ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่บอกว่าการล้างจมูกจะช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

การกินวิตามิน หรือสมุนไพร จะช่วยป้องกัน COVID-19

ไม่จริง : อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าในขณะนี้ไม่มีวิตามินหรือสมุนไพรที่ช่วยป้องกัน COVID-19 เพราะกำลังอยู่ในกระบวนการศึกษาวิจัย ดังนั้นการกินวิตามิน หรือสมุนไพร ไม่สามารถช่วยป้องกัน COVID-19 ได้

หากกลั้นหายใจได้เกิน 10 วินาที แสดงว่าไม่เป็น COVID-19

ไม่จริง : การกลั้นหายใจไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็น COVID-19 หรือไม่ รวมถึงแอปพลิเคชัน หรือวิธีเช็กลิสต์ต่าง ๆ ที่ออกมาตามโซเชียลมีเดีย ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ ต้องดูที่อาการและความเสี่ยงที่เข้าเกณฑ์เป็นหลัก

คนทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากาก N95

จริง : หน้ากาก N95 ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนทั่วไปใส่ในชีวิตประจำวันหรือใส่เป็นเวลานาน ๆ เพราะเป็นหน้ากากที่มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อโรคได้สูง เมื่อใส่นาน ๆ จะเกิดความอึดอัด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องเข้าไปใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็น COVID-19 ส่วนคนทั่วไปโดยเฉพาะคนที่ไม่ป่วยสามารถใช้หน้ากากผ้าได้ เพราะประหยัดและนำกลับมาใช้ซ้ำได้

หากเคยเป็น COVID-19 แล้วร่างกายจะมีภูมิต้านทาน

จริง : COVID-19 คือการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งตามหลักการทั่วไปของการติดเชื้อไวรัสนั้น หากหายดีแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานต่อโรคนั้น ๆ ป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำ แต่ในอนาคตต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพราะหากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ก็อาจมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้

ล้างมือด้วยสบู่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีกว่าเจลแอลกอฮอล์

ไม่จริง : การล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปนั้นมีประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อได้เท่าเทียมกัน แต่การล้างมือด้วยสบู่มีข้อดีกว่าเล็กน้อยเพราะจะสามารถล้างได้สะอาดและหมดจดกว่าเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะถ้ามื้อเปื้อน ส่วนเจลแอลกอฮอล์จะเหมาะสำหรับการพกพาใช้ระหว่างวันเพราะสะดวกกว่า

ข้อมูลโดย ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมรายการได้ที่ : https://youtu.be/n33qb81JqC0

Asian woman using alcohol gel hand sanitizer wash hand before open tablet for protect coronavirus. Female push alcohol to clean for hygiene when social distancing stay at home and self quarantine time

ข่าวศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล+โรงพยาบาลรามาธิบดีวันนี้

มูลนิธิรามาธิบดีฯ เปิดหนังโฆษณาใหม่ 'พื้นที่แห่งความพร้อม' สานต่อภารกิจเพิ่มพื้นที่รักษาผู้ป่วย ภายใต้โครงการ รามา+1 เพิ่มพื้นที่ เพิ่มความหวังเพื่อทุกคน ปีที่ 2

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สานต่อภารกิจแห่ง "การให้" เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลรามาธิบดี จัดงานแถลงข่าวพร้อมขนทัพดาราจิตอาสาเปิดตัวภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ชุดใหม่ ภายใต้โครงการ "รามา+1 เพิ่มพื้นที่ เพิ่มความหวังเพื่อทุกคน" ปีที่ 2 เพราะทุกความมุ่งมั่นในการช่วยชีวิต…ต้องการพื้นที่ที่พร้อม มุ่งสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการขยายพื้นที่การรักษาผู้ป่วยเพื่อระดมทุนให้กับโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี

ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ช... จับตาไทย! ลุยพัฒนา ATMPs-สเต็มเซลล์ พลิกโฉมการแพทย์ เพิ่มโอกาสรักษาโรคร้ายแรง — ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ชั้นนำ เร่งเครื่องพัฒนา ATMPs-สเต็...

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบ... รพ.ไทยนครินทร์ ร่วมกับ รร.พยาบาลรามาธิบดีฯ จัดการประชุมวิชาการ — โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ร่วมกับ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดก...

โดย ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล กรรมการ... ข้อต้องระวังหากจะใช้ยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 — โดย ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล กรรมการ ราชวิทยาลัยอายุร...

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์......ป้องกันและรักษาได้

รศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องในคน ส่วนโรคเอดส์ หมายถึงกลุ่มอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ไม่ได้เป็นแต่กำเนิด...

ภาพข่าว: ความร่วมมือทางการแพทย์

พญ.เบญจมาศ วณีสอน (ขวา) ผู้อำนวยการด้านการแพทย์และการพยาบาล โรงพยาบาลหัวเฉียว มอบของที่ระลึกให้เป็นเกียรติแก่วิทยากร รศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล (ซ้าย) หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ใน...