นวัตกรรมใหม่ล่าสุดของรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ ผลงานของนักศึกษานายเกียรติศักดิ์ เพ็ชรมาก และนางสาวกนิษฐา โกอินต๊ะ สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผศ.ดร.ดวงกมล โพธิ์นาค เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร สูง 65 เซนติเมตร โครงสร้างใช้แผ่นอะคริลิค สีขาวขุ่น หนา 5 เซนติเมตร ในการปิดโครงรถเข็น ส่วนระบบฐานข้อมูลจะใช้ Firebase ในการเก็บข้อมูลตำแหน่งยา และใช้ SQL ในการเก็บประวัติการจ่ายยา รวมถึงภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์เป็นภาษา HTML ภาษา PHP ภาษา JavaScript และภาษาที่ใช้ในการพัฒนารถเข็น ภาษา C++ รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะใช้แหล่งจ่ายจากแบตเตอรี่ 12V 20A และเมื่อแบตเตอรี่มีแรงดันไฟต่ำ ระบบจะมี โมดูล XH-M604 ควบคุมค่าประจุโมดูล DC 6-60 เป็นโมดูลที่ใช้สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ โดยการป้อนไฟ 220V และเมื่อแบตเตอรี่มีแรงดันเต็ม 100% ระบบจะทำการตัดไฟโดยอัตโนมัติ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการสร้างเป็นจำนวนเงิน 2 หมื่นบาท โดยใช้ระยะเวลาในการประดิษฐ์ต้นแบบ 4 เดือน นับว่าเป็นนวัตกรรมการจ่ายยาที่ยกระดับมาตรฐานการรักษาพยาบาล ที่นำเอาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันเข้ามามีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตเพื่อความสะดวกในการดูแล การจ่ายยาให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจะเป็นหน้าที่ของพยาบาล เพื่อนำยาไปให้ผู้ป่วยทุกเตียง ตลอดจนการดูแลผู้ป่วย นำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้ยาที่แม่นยำและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นบริการยกระดับมาตรฐานการรักษาพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้โดยมุ่งเน้นการพัฒนารถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะบูรณาการกับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการพัฒนารถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะอย่างสูงสุด
จุดเด่นหรือลักษณะเด่นของนวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ จะมีการทำงานโดยชุดอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน เมื่อเริ่มใช้งานรถเข็นจะสามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ พยาบาลนำยาใส่ลงในลิ้นชักแต่ละช่องและกรอกข้อมูลลงในระบบผ่านเว็บไซต์เพื่อระบุตำแหน่งยาของผู้ป่วยแต่ละเตียง เมื่อเริ่มการทำงานรถเข็นจะวิ่งไปยังเตียงของผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ โครงรถเข็นจะใช้เหล็กกล่องขนาด 1*1นิ้ว ส่วนลิ้นชักบรรจุยามีขนาด ขนาด 16 x 10 x 22 ซ.ม. (กว้าง x ยาว x สูง) และใช้รางลิ้นชักแบบลูกล้อความยาว 10 นิ้ว ซึ่งตัวลิ้นชักเองจะใช้มอเตอร์เกียร์ ความเร็วรอบ 150 RPM ในการลากจูงลิ้นชักสำหรับ เปิด – ปิด ลิ้นชัก ทั้งนี้รถเข็นจะจำลองระบบการทำงานออกทั้งหมด 4 ลิ้นชัก สำหรับผู้ป่วย 4 เตียง รถเข็นจะมี Switch On Off ใช้สำหรับเปิดระบบการทำงานทั้งหมดของรถเข็น ใช้มอเตอร์บอกระดับแรงดันแบตเตอรี่ 0-100% มี Button กดติด ปล่อยดับ สำหรับการเปิด-ปิดลิ้นชักเพื่อให้พยาบาลนำยาใส่ ภายในลิ้นชักจะมีเซ็นเซอร์เพื่อตรวจการรับยาของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่รับยาภายใน 2 นาที จากนั้นระบบจะทำการปิดลิ้นชัก และวิ่งไปจ่ายยาเตียงต่อไป และหากผู้ป่วยรับยาแล้วลิ้นชักจะทำการปิดและไปจ่ายยายังเตียงต่อไป
รถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะยังมีความพิเศษที่ลักษณะของล้อรถเข็นใช้ล้อยูรีเทนขนาด 3 นิ้ว จำนวน 4 ล้อ เพื่อใช้ในการรับน้ำหนักของรถเข็น และใช้มอเตอร์เกียร์ขนาด 12V ความเร็วรอบ 50rpm จำนวน 2 ตัวและใช้ไดร์มอเตอร์เพื่อควบคุมความเร็วของมอเตอร์ในการควบคุมล้อเพื่อการขับเคลื่อนรถเข็น ในขณะที่รถเข็นกำลังเคลื่อนที่ไปจ่ายยา และช่วงเวลานั้นรถเข็นวิ่งไปเจอสิ่งกีดขวางในระยะน้อยกว่า 50 เซนติเมตร รถเข็นจะหยุดวิ่งและส่งสัญญาณเสียงเพื่อเตือน และเมื่อไม่มีสิ่งกีดขวางรถเข็นจะวิ่งต่อโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามระบบของรถเข็นจะออกแบบการใช้งานเป็น 2 ระดับ คือ ระดับผู้ใช้งาน และผู้ดูแลระบบ ในส่วนของผู้ใช้งานยังเป็นพยาบาลจะสามารถเพิ่มตำแหน่งจ่ายยา และเรียกดูประวัติการจ่ายยาของผู้ป่วยได้ และในส่วนของผู้ดูแลระบบจะสามารถเพิ่มข้อมูลตำแหน่งยา เรียกดูประวัติการจ่ายยา สมัครสมาชิก และระบบการจัดการสมาชิก
ประโยชน์จากนวัตกรรมรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะ นับว่ามีประโยชน์มากที่สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารถเข็นจ่ายยา เนื่องจากรถเข็นจ่ายยาอัจฉริยะสามารถเพิ่มความสะดวกมากขึ้นในการจ่ายยาให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ลดภาระและระยะเวลาในการทำงานของพยาบาล ลดความเสี่ยงการติดเชื้อของพยาบาลจากการนำยาไปจ่ายให้แก่ผู้ป่วยโรคติดต่อได้ด้วย ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นต่อโรงพยาบาลอย่างยิ่ง ตลอดจนสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาในขายเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรถเข็นจ่ายยาโดยการสร้างลิ้นชักการจ่ายยาให้ได้จำนวนมากขึ้นและเพียงพอต่อการจ่ายยาในแต่ละรอบ รวมถึงการพัฒนา Software ให้สามารถบันทึกข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยการติดตั้งจอทัชสกรีนเพื่อป้อนบันทึกข้อมูลตำแหน่งจ่ายยาได้ที่ตัวรถเข็นได้เลย
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) หรือที่ ผศ.ดร.ดวงกมล โพธิ์นาค โทรศัพท์ 064-639-4888 หรือนายเกียรติศักดิ์ เพ็ชรมาก โทรศัพท์ 0907080272 และนางสาวกนิษฐา โกอินต๊ะ โทรศัพท์ 0907796372
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2568 (ช่วงที่ 3) เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รอบสุดท้าย รับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 เปิดรับสมัครนักศีกษาทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ในหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีคณะเปิดรับสมัคร จำนวน 13 คณะ สามารถสมัครเรียนได้ ทั้ง 3 แห่ง (กรุงเทพฯ -วิทยาเขตระยอง วิทยาเขตปราจีนบุรี)ดาวน์โหลดระเบียบการ https://www.grad
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_ECONOMY มจพ. สู่รอบชิงชนะเลิศ จากการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2568
—
ทีมหุ่นยนต์ iRAP_ECONOMY มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี...
คณะวิศวฯ มจพ. จับมือ สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย อบรมนักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ SA ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ พ.ศ 2568
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท...
สุดยอดศึกหุ่นยนต์อัจฉริยะ Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ปิดฉากสุดมันส์ เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพก้าวสู่เวทีโลก
—
การแข่งขัน Thailand Open ...
มจพ. จัดงานพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยและนวัตกร มจพ. ประจำปี 2568
—
ศ.ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ม...
ปฏิบัติการกู้ภัยของทีม iRAP Robot มจพ. เดินหน้าสำรวจค้นหาผู้รอดชีวิต ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อเป็นวันที่ 4 ใช้ทีมถึง 2 ทีม
—
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" มห...
มจพ. ประกาศ โครงสร้างอาคารมีความปลอดภัย พร้อมเปิดทำการได้ตามปกติ
—
ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ...
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย "iRAP Robot" มจพ. ร่วมกับ อว.เข้าพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯตึก สตง. ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว
—
ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มหาวิทยาลัยเท...
มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัวชี้วัด "5 ด้าน" ขึ้นอันดับโลก 3 สาขาวิชา
—
มจพ. ยืนหนึ่ง ปังไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ตัวชี้วัด "5 ด้าน" ขึ้นอันดับโลก...