ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินเทคโนโลยี 5G และวิกฤต
COVID-19 จะปฏิวัติการดำเนินธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสู่รูปแบบอัจฉริยะ
ผลักดันอุตสาหกรรม Healthcare พลิกโฉมสู่รูปแบบ Smart
Healthcare เต็มรูปแบบ ยกระดับประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพสู่มิติใหม่ๆ
แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านความเพียงพอและการกระจุกตัวของบุคลากรทางการแพทย์ รับมือสังคมผู้สูงอายุ
และมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทยลงปีละ 7-11.5%
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า กระแสเทคโนโลยี 5G มาแรงและหลายประเทศได้เริ่มใช้งานในเชิงพาณิชย์ไปแล้ว สำหรับประเทศไทย คาดว่าการใช้งาน 5G จะคึกคักใน 1-3 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และจังหวัดต้นแบบของ Smart City เนื่องจาก 5G จะทำให้เทคโนโลยีต่างๆ ทรงพลัง โดยเร็วกว่า 4G ได้ถึง 20 เท่า และรองรับอุปกรณ์ได้มากกว่าถึง 10 เท่า ที่สำคัญวิกฤต COVID-19 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผลักดันให้ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ เปิดรับและเรียนรู้เทคโนโลยีเร็วขึ้น ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เช่น การปฏิบัติงานทางไกล การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม Healthcare ซึ่งเป็นแนวหน้าในการสู้กับ COVID-19 และไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
“5G จะก่อให้เกิดอุปกรณ์ใหม่ๆ จำนวนมหาศาลในชีวิตประจำวัน ที่เชื่อมต่อกันด้วย Internet และจะปฏิวัติการดำเนินธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสู่รูปแบบอัจฉริยะ (Smart Business) ซึ่งในอุตสาหกรรม Healthcare จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพสู่มิติใหม่ๆ แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านความเพียงพอและการกระจุกตัวของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีแพทย์เพียง 6 คนต่อประชากร 1 หมื่นคน ลดผลกระทบต่อคุณภาพและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของไทยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 8% จนอยู่ที่ 5.8 แสนล้านบาท หากมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศลงได้ปีละ 7-11.5%”
นายณัฐพร ศรีทอง ผู้ร่วมทำวิจัยกล่าวเสริมว่า 5G จะทำให้เกิด Smart Healthcare อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถสื่อสารกันแบบ Real Time ข้อมูลต่างๆ จะถูกรวมศูนย์อย่างเป็นระบบ และทำให้ศูนย์กลางการดูแลสุขภาพถูกถ่ายโอนจากบุคลากรทางการแพทย์สู่ผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับบริการดูแลสุขภาพในรูปแบบ 4 P คือ สามารถคาดการณ์ปัญหาสุขภาพ (Predictive) ดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive) ออกแบบให้เฉพาะเจาะจงแต่ละบุคคล (Personalized) รวมทั้งผู้ป่วยมีส่วนดูแลสุขภาพมากขึ้น (Participatory) ผ่านการตรวจตราและเฝ้าระวังสุขภาพผ่านโทรศัพท์มือถือ ด้วยแอปพลิเคชันและอุปกรณ์สวมใส่ต่างๆ (Wearable Medical Device) ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่าตลาด wearable จะเติบโตปีละ 28% ขณะที่ตลาดการปรึกษาด้านสุขภาพทางไกลจะเติบโตปีละ 18.9% และโดยรวมตลาด Internet of Medical Things (IoMT) จะเติบโตปีละ 27.6%
“ภาครัฐและเอกชนไทยในระบบนิเวศของอุตสาหกรรม Healthcare ต้องเตรียมพร้อมและปรับตัว
เช่น สร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี วางระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม ร่วมลงทุนกับ
Strategic Partners เพื่อยกระดับการให้บริการ
นำเสนอบริการ m-Health หรือ Mobile Health บริการปรึกษาแพทย์ทางไกลผ่านแพลตฟอร์มโรงพยาบาล ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ ผนวกกับ HealthTech Startup ซึ่งมีจุดเด่นด้านนวัตกรรมและความคล่องตัวสูง ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์
ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์สวมใส่
รวมถึงผู้ให้บริการวางระบบโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนผสานกับหน่วยงานภาครัฐ ประกันสังคม บริษัทประกัน และธนาคารพาณิชย์ เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลและระบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาล”
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เดินหน้าขยายการลงทุน Data Center ในไทย หนุนขนาด Data Center เพิ่มขึ้นถึง 13.9 เท่า ภายในปี 2571 ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนกว่า 3.2 แสนล้านบาท และสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไทยในระหว่างพัฒนา Data Center สูงถึง 1.3 แสนล้านบาท แนะภาครัฐเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายข้อมูลอินเทอร์เน็ต และอนุญาตผู้ให้บริการ Data Center ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของภาคเอกชน เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนต่อเนื่อง ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
"กรุงไทย" คาด GDP ปี 2568 เติบโต 2.7% จับตา 5 ประเด็นความท้าทาย จุดพลิกผันศรษฐกิจไทย
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 เติบโต 2.7...
กรุงไทยชี้เทรนด์ Sustainable Sourcing มาแรง กระทบมูลค่าส่งออกเกษตรและอาหารกว่า 2 แสนล้านบาท
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ ประเทศคู่ค้าของประเทศไทยมีแ...
"กรุงไทย" ชี้ธุรกิจอาหารทางการแพทย์เติบโตสูง รับสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด คาดอีก 7 ปี มูลค่าตลาดแตะหมื่นล้านบาท
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้อาหารทา...
"กรุงไทย" ชี้แผนยกระดับแหลมฉบังสู่ท่าเรือสีเขียว สร้างโอกาส 3 ธุรกิจ "รถบรรทุกไฟฟ้า-ไฟฟ้าแสงอาทิตย์-ขนส่งสินค้าทางราง" สร้างรายได้หลักพันล้านบาทต่อปี
—
ศูนย์วิจัย ...
Krungthai COMPASS ชี้ Data Center ปัจจัยหนุนสร้างศักยภาพ SME ไทย
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ Data Center เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ต้องพัฒนา เพื่...
กรุงไทยชี้ การแพทย์จีโนมิกส์ จะนำไทยสู่ Medical Hub เต็มรูปแบบ
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ การยกระดับและสนับสนุนด้านการแพทย์จีโนมิกส์ จะช่วยหนุนไทย...
"กรุงไทย"ชี้ภาคท่องเที่ยวหนุนจีดีพีปี 66 เติบโต 3.4% แนะภาคธุรกิจปรับตัวรับ 5 ปัจจัยเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไ...
กรุงไทยคาดเศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัว 3.4% ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความท้าทายใหม่
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566...
กรุงไทยแนะจับตาภาคโลจิสติกส์ปรับตัวลดก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางโลจิสติกส์สีเขียว
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้การลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่...