ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 ฟื้นตัวต่อเนื่อง เติบโต 3.4% จากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวที่สนับสนุนเศรษฐกิจทดแทนการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ชี้ไทยเผชิญ 5 ปัจจัยการเปลี่ยนผ่านสำคัญ เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ "การก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ-เศรษฐกิจโลกชะลอตัว-ภาคท่องเที่ยวฟื้น-ดอกเบี้ยขาขึ้น-ภาวะต้นทุนสูง" แนะภาคธุรกิจแสวงหาโอกาสและวางแผนรับมือกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมิน ปี 2566 ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง นำพาเศรษฐกิจไทยไปอยู่ในจุดที่ไม่คุ้นเคย ภายใต้โลกใหม่ที่มีความผันผวนและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนผ่าน หรือ Transition สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะชะลอตัว เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ภาคการท่องเที่ยว การเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย และการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น
"Krungthai COMPASS มองว่า การเปลี่ยนผ่านทั้ง 5 ด้านมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับภาคธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับอุปสรรคในการปรับตัวเข้าบริบทโลกใหม่ที่ใส่ใจกับเรื่อง climate change และความยั่งยืน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากการปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในยามที่ต้นทุนอื่นๆ ก็สูงขึ้นรอบด้านทั้งดอกเบี้ย ค่าไฟ และค่าแรง แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้น ผู้ประกอบการที่ปรับตัวจะมองเห็นลู่ทางธุรกิจใหม่ๆ มีโอกาสเติบโตแม้ในยามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว"
ดร. ฉมาดนัย มากนวล นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แม้ว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ จะชะลอตัวจากการขึ้นดอกเบี้ย และยุโรปมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตพลังงาน แต่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศเหล่านั้น ยังมีทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น สะท้อนจากการตอกย้ำจุดยืนของประชาคมโลกรวมถึงประเทศไทยในเวทีการประชุม COP27 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา สำหรับในปี 2566 ภาคธุรกิจต้องติดตามประเด็นด้านกฎเกณฑ์ที่สำคัญ อาทิ การเดินหน้าบังคับใช้มาตรการการเก็บภาษีคาร์บอนที่พรมแดน หรือ CBAM ของยุโรป และแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ Taxonomy ของประเทศไทย นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังต้องมองหาโอกาสจากนโยบายรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น นโยบายเศรษฐกิจ BCG และนโยบายการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติภายใต้แนวคิด "Better and Green Thailand 2030" เป็นต้น
นายชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตที่ 3.4% ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวได้ 3.2% แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจะถูกเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 22.5 ล้านคนหรืออาจจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนหลังประเทศจีนผ่อนคลายนโยบาย Zero COVID อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกที่อ่อนแรงลงจะกระทบต่อการส่งออก ซึ่งอาจขยายตัวเพียง 0.7% เท่านั้น ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยเดินหน้าด้วยเครื่องยนต์เดียวจึงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก
นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อสูงจะยังไม่หมดไปเนื่องจากภาคธุรกิจยังต้องรับมือกับการเปลี่ยนผ่านด้านต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีจะยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.25% ในปี 2565 ขึ้นสู่ระดับ 2% ในปี 2566 และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal rate) อาจอยู่ที่ 2.5% ในปี 2567 เป็นยุคดอกเบี้ยขาขึ้นเต็มตัวของประเทศไทย ส่วนค่าเงินบาทยังเผชิญความผันผวนจากการคาดการณ์นโยบายการเงินของสหรัฐฯ โดยคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.75-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ตารางสรุปประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2565-2566
2564 2565f 2566f GDP Thai (%YoY) 1.5 3.2 3.4 Private Consumption (%YoY) 0.3 6.2 3.5 Government Consumption (%YoY) 3.2 -0.1 -0.2 Private Investment (%YoY) 3.3 3.5 3.2 Public Investment (%YoY) 3.8 -1.4 2.2 Export USD (%YoY) 19.2 7.0 0.7 Import USD (%YoY) 23.9 15.0 1.3 Headline Inflation (%) 1.2 6.1 3.1 Tourism Arrivals (Million Persons) 0.43 10.2 22.5 Policy Rate (End of Period) 0.50% 1.25% 2.00% THB / USD (Year Range) 30.0 - 33.5 32.7 - 37.9 33.75 - 36.50
ที่มา: ประเมินโดย Krungthai COMPASS (ณ ธันวาคม 2565)
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เดินหน้าขยายการลงทุน Data Center ในไทย หนุนขนาด Data Center เพิ่มขึ้นถึง 13.9 เท่า ภายในปี 2571 ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนกว่า 3.2 แสนล้านบาท และสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไทยในระหว่างพัฒนา Data Center สูงถึง 1.3 แสนล้านบาท แนะภาครัฐเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายข้อมูลอินเทอร์เน็ต และอนุญาตผู้ให้บริการ Data Center ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของภาคเอกชน เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนต่อเนื่อง ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
"กรุงไทย" คาด GDP ปี 2568 เติบโต 2.7% จับตา 5 ประเด็นความท้าทาย จุดพลิกผันศรษฐกิจไทย
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 เติบโต 2.7...
กรุงไทยชี้เทรนด์ Sustainable Sourcing มาแรง กระทบมูลค่าส่งออกเกษตรและอาหารกว่า 2 แสนล้านบาท
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ ประเทศคู่ค้าของประเทศไทยมีแ...
"กรุงไทย" ชี้ธุรกิจอาหารทางการแพทย์เติบโตสูง รับสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด คาดอีก 7 ปี มูลค่าตลาดแตะหมื่นล้านบาท
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้อาหารทา...
"กรุงไทย" ชี้แผนยกระดับแหลมฉบังสู่ท่าเรือสีเขียว สร้างโอกาส 3 ธุรกิจ "รถบรรทุกไฟฟ้า-ไฟฟ้าแสงอาทิตย์-ขนส่งสินค้าทางราง" สร้างรายได้หลักพันล้านบาทต่อปี
—
ศูนย์วิจัย ...
Krungthai COMPASS ชี้ Data Center ปัจจัยหนุนสร้างศักยภาพ SME ไทย
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ Data Center เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ต้องพัฒนา เพื่...
กรุงไทยชี้ การแพทย์จีโนมิกส์ จะนำไทยสู่ Medical Hub เต็มรูปแบบ
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้ การยกระดับและสนับสนุนด้านการแพทย์จีโนมิกส์ จะช่วยหนุนไทย...
กรุงไทยคาดเศรษฐกิจไทยปีหน้าขยายตัว 3.4% ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความท้าทายใหม่
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566...
กรุงไทยแนะจับตาภาคโลจิสติกส์ปรับตัวลดก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางโลจิสติกส์สีเขียว
—
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้การลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่...