จากกรณีที่มีข่าวการล้มตายของม้าอย่างเฉียบพลันเป็นจำนวนมากในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และล่าสุดพบที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการตรวจเลือดของม้าจากห้องปฏิบัติการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบว่าเป็นโรคกาฬโรคในม้า ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ไม่ได้เกิดจากเชื้อ COVID-19 ซึ่งกำลังระบาดในปัจจุบันแต่อย่างใด
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดกาฬโรคในม้า หรือโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิด ไม่มีเปลือกหุ้ม ที่มีตัว”ริ้น” เป็นพาหะ ซึ่งจะติดต่อในสัตว์เฉพาะตระกูลม้า ล่อ ม้าลายเท่านั้น สัตว์ที่มีความไวต่อการติดต่อมากที่สุดคือม้า แต่ไม่มีการติดต่อสู่คนได้
“การติดต่อหลักของโรคนี้คือการโดนริ้นที่เป็นแมลงดูดเลือดไปกัดม้าที่ป่วย เพราะม้าที่ป่วยจะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดริ้นที่ได้รับเชื้อไวรัสจะไปกัดม้าตัวอื่นทำให้ม้าได้รับเชื้อติดต่อไปทันที ยิ่งถ้ามีอากาศร้อนชื้นมากๆ ตัวริ้นจะเพิ่มจำนวนได้เยอะก็ยิ่งทำให้โรคนี้แพร่ระบาดได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นการที่จะหยุดการแพร่ระบาดโรคนี้ได้ดีคือต้องกำจัดตัวริ้นให้หมดไป” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบาย
ส่วนสาเหตุที่มีการระบาดของโรคนี้ในบ้านเรานั้น กำลังสืบสวนหาต้นเหตุกันอยู่ แต่ที่สันนิษฐานได้ในปัจจุบันคืออาจจะมีการนำเข้าม้าลายที่เป็นตัวพาหะ เพราะว่าม้าลายเป็นสัตว์ที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการแสดงออก และไวรัสจะอยู่ในตัวม้าลายได้นาน เมื่อมีแมลงดูดเลือดมากัดม้าลายแล้วไปกัดม้าตัวอื่นต่อก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่ามาจากม้าลายจริงหรือเปล่า
สำหรับอาการแสดงของโรคกาฬโรคในม้า มี 4 รูปแบบ คือ
ในส่วนของการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่า ทำได้ด้วยการเก็บตัวอย่างเลือดจากม้าที่ป่วยนำมาตรวจด้วยวิธี PCR ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุด หรืออาจมีการเพาะแยกไวรัสจากตัวอย่างเลือดม้าที่ป่วย หรือม้าที่ตาย ด้วยการนำเอาม้าม ต่อมน้ำเหลือง ปอด มาเพาะเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะรู้ผล แต่ถ้าในพื้นที่ที่มีการระบาดแล้วอาจใช้วิธีการตรวจทางซีรั่มวิทยา โดยการตรวจหา โรคติดเชื้อด้วยวิธี ELISA เพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อและแยกชนิดของเชื้อ ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธีทางซีรั่มวิทยา จะพบแอนติบอดีต่อเชื้อได้ในวันที่ 8 - 14 หลังจากติดเชื้อ และพบว่าสัตว์จะมีแอนติบอดี ในร่างกายได้นาน 1-4 ปี
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง ชี้ว่า “การรักษาโรคนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะ และยังไม่มีวัคซีนที่ให้ผลได้ 100% เนื่องจากไวรัสที่ระบาดอยู่ในเวลานี้มีถึง 9 สายพันธุ์ ซึ่งเรายังไม่รู้ว่าไวรัสในบ้านเราเป็นสายพันธุ์ใด เรื่องการใช้วัคซีนจึงยังมีข้อจำกัด เราต้องหาสายพันธุ์ให้เจอก่อนถึงจะผลิตวัคซีนได้ตรงกับการใช้งาน”
ในส่วนของวิธีการควบคุมและป้องกันโรค ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง แนะนำว่าควรให้ม้าอยู่ในคอกที่ใช้มุ้งหรือตาข่ายในการป้องกันแมลงดูดเลือดซึ่งเป็นพาหะของโรค ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงบริเวณคอกม้าและที่ ตัวม้า รวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงดังกล่าวในบริเวณใกล้เคียงให้หมดสิ้น กรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องมีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกบริเวณที่เกิดโรค ทำความสะอาดคอก บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
“การช่วยลดหรือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคกาฬโรคในม้าได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของ ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงม้าต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อแนะนำของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องงดการเคลื่อนย้ายม้า ห้ามนำอาหารหรืออุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดออกไปยังพื้นที่อื่น และที่สำคัญต้องช่วยกันกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค นอกจากนี้ถ้ามีม้าป่วยต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ให้รีบดำเนินการทันที นี่คือสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในตอนนี้” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวทิ้งท้าย
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้จัดพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยโครงการ "การผลิต Organogel จากน้ำมันรำข้าว ด้วยวิธีการแช่แข็งร่วมกับการดัดแปลงโครงสร้างของน้ำมัน" กับ บริษัท รีโว่เมด กรุ๊ป จำกัด ผู้รับอนุญาตรายแรกและรายเดียวในอุตสาหกรรมสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามที่ได้รับเอกสิทธิในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการผลักดันผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์จริงในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสุขภาพ
TMAN แจงเหตุเพลิงไหม้ห้องปฏิบัติการไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เร่งปรับปรุงพื้นที่เพื่อกลับมาเปิดดำเนินงาน พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัย
—
"บมจ.ที.แมน ฟาร...
กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ...
ผถห. BKGI อนุมัติจ่ายปันผล 0.05 บ./หุ้น รับทรัพย์ 28 พ.ค.นี้
—
ลุยขยายให้บริการด้านการแพทย์จีโนมิกส์- เปิดห้องปฏิบัติการเพิ่ม ปักหมุดปี 68 รายได้เติบโต 20...
จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิดตัวห้องแล็บตรวจสอบอัญมณีมาตรฐานระดับสากล ชูจุดเด่นเน้นความแม่นยำ-เทคโนโลยีสุดล้ำและทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
—
จี-ไอดี แลบอราทอรีส์ เปิด...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
"ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคฝีดาษวานร" โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ยังต้องเฝ้าระวัง จุฬาฯ ชี้วิทยาการล่าสุดตรวจวินิจฉัยโรคโดยแพทย์จุฬาฯ
—
จากการเสวนาวิชาการ Chula th...
อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ แนะนำการเตรียมพร้อมรับมือและป้องกัน "โรคฝีดาษลิง"
—
"โรคฝีดาษลิง" ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาท...