นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส COVID – 19 เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา ร่วมกับกรมประมง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมผู้ค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย โดยที่ประชุมได้รายงานผลกระทบที่ได้รับจากการระบาดของโรคไวรัส COVID-19 เพื่อเร่งหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ โดยปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่ต้องรีบดำเนินการคือการดูดซับปริมาณผลผลิตลูกกุ้งและกุ้งเนื้อ ที่เกษตรกรผลิตแล้วไม่สามารถจำหน่ายออกไปได้ : ซึ่งเบื้องต้นที่ประชุมได้มีข้อสรุป 3 มาตรการ คือ
มาตรการที่ 1 ระยะสั้น
รัฐเข้าไปช่วย 80 % ของราคาห้องเย็นซื้อกุ้งจากเกษตรกร ฟาร์มเกษตรกรต้องไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ ในการประเมินข้อมูลผลผลิตส่วนที่เหลือจากความต้องการของห้องเย็นควรจะใช้ตัวเลขผลผลิตที่ห้องเย็นต้องการใช้กุ้งจริงและตัวเลขผลผลิตกุ้งที่ผลิตได้แท้จริง ผลผลิตกุ้งส่วนที่ (เกษตรกรเป็นเจ้าของ) นำฝากห้องเย็นไว้ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บในห้องเย็นในระยะเวลา 3 เดือน โดยรัฐช่วยจ่าย 80% โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นที่ที่มีผลผลิตกุ้งออกมาปริมาณมาก ถ้าราคากุ้งดีขึ้นเกษตรกรก็สามารถมาไถ่ถอนจากการจำนำ โดยให้ที่ประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยพิจารณาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และมีมติมอบหมายให้กรมประมงเสนอโครงการมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2563 และนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา ก่อนจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันที่ 21 เมษายน 2563 ต่อไป
มาตรการที่ 2 ระยะกลาง
ขึ้นกับสถานการณ์และภาวะความต้องการของตลาดทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ โดยตลาดภายในประเทศสร้างความร่วมมือจาก 3 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม สร้างระบบภายในประเทศโดยวางระบบการกระจายผลผลิตทางการเกษตรให้พร้อมกันทั่วประเทศ และ
มาตรการที่ 3 ลดต้นทุน
โดยสั่งการให้กรมประมงทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าของผู้เลี้ยงกุ้งให้เป็นผู้ใช้ประเภท เกษตรกร ส่วนค่าอาหารกุ้ง และลูกกุ้งให้กรมประมงหาแนวทางขอลดราคา และลูกกุ้งให้ดำเนินการตามโครงการ คชก.
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปมาตรการให้แล้วเสร็จภายในวันศุกร์นี้ เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย และจะนำมติของคณะกรรมการฯ เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
คณะกรรมการร่วมเอกชน (กกร) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย 8 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมการประมงนอกน่านไทย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งสมาชิกแต่ละสมาคมเป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการของภาค
กรมประมงร่วมเยือนกรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
—
เมื่อวันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแล...
ภาพข่าว: นานาชาติตอบรับไทยขจัดไอยูยูและค้ามนุษย์
—
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยนางเพชรรัตน์...
ภาพข่าว: เลี้ยงอำลา ดร. นาซิม ลาติฟ ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ
—
ฯพณฯ ดร. โซเฮล คาน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัด งาน...
ภาพข่าว: สมาคมการค้าการประมงเกาหลี เตรียมจัดมหกรรม แสดงสินค้าผลิตผลทางทะเลครั้งยิ่งใหญ่ครั้งที่ 14
—
คุณชอย ดัก บู ประธานสมาคมการค้าการประมงเกาหลี พร้อมด้...
ภาพข่าว: กรมศุลกากรหารือการส่งออกสินค้าประมงแช่เยือกแข็งกับสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย
—
นายจำเริญ โพธิยอด รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษากรที่ปรึกษาด้านพัฒนาและบ...
ภาพข่าว: PFP ร่วมลงนาม การกำจัดการประมงผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ กับ ศปมผ.
—
บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับศูนย์บัญชาการแ...