รู้เร็วรักษาไว วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ พัฒนาโปรแกรม “ผู้ช่วยแพทย์คัดกรองต้อหิน” ลดเสี่ยงตาบอดสนิท! การันตีเหรียญเงิน เวทีประกวดระดับโลก
คณะวิศวะ #วิศวกรรมศาสตร์ #วิศวะมธ #คัดกรองต้อหิน #ลดเสี่ยงตาบอด #TSE #เป็นมากกว่าวิศวกร #JCCOTH
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) เผยนวัตกรรม “ผู้ช่วยแพทย์คัดกรองต้อหิน” ช่วยจักษุแพทย์คัดกรองผู้ป่วยและวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกเร็วขึ้น หนุนลดข้อจำกัดการคัดกรองของจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยโรคต้อหิน ด้วยการนำภาพขั้วประสาทตาของที่ผู้ป่วยได้รับจากโรงพยาบาล สแกนเข้าโปรแกรมเพื่อตรวจหาความผิดปกติด้วย Image processing พร้อมประมวลผลและค้นหาการเปลี่ยนแปลงของขั้วประสาทตาในบางตำแหน่ง ที่จักษุแพทย์อาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจน เล็งผลักดันคนไทยตระหนักรู้-เข้ารับการรักษาเร็ว ป้องกันต้อหินกระทบการมองเห็นรุนแรง ทั้งนี้ โปรแกรมดังกล่าว ผ่านการทดสอบความแม่นยำกับจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหินแล้วในเบื้องต้น เชื่อว่าหลังพัฒนาต่อจะสามารถนำไปใช้ได้จริง
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT และ www.engr.tu.ac.th
รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ผู้พัฒนาและคิดค้น “ผู้ช่วยแพทย์คัดกรองต้อหิน” กล่าวว่า “ต้อหิน” หรือโรคความเสื่อมขั้วประสาทตาที่ทำให้ค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็น ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพคนไทย เนื่องจากในระยะแรกของโรคนั้น ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติที่จะสังเกตได้ จึงทำให้อาการลุกลามและรุนแรงขึ้นถึงขั้นตาบอดสนิท อีกทั้งยังไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติ ทำได้เพียงควบคุมอาการภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังประสบภาวะขาดแคลนจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต้อหิน ที่โดยส่วนใหญ่จะสังกัดอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน แม้เครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัยและเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงจะทันสมัยและมีมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดว่ามีอยู่เฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เท่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงขั้นตอนวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง โดยใช้ภาพของขั้วประสาทตาที่มีอยู่ในโรงพยาบาล ทีมวิจัยและคณะ จึงได้ร่วมพัฒนานวัตกรรม “ผู้ช่วยแพทย์คัดกรองต้อหิน” โปรแกรมที่ช่วยให้จักษุแพทย์ สามารถสังเกตความผิดปกติของขั้วประสาทตาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยนำภาพถ่ายขั้วประสาทตาในอดีต และปัจจุบัน มาทำการสแกนเพื่อตรวจหาความเปลี่ยนแปลงด้วยเทคนิค Image processing จากนั้นโปรแกรมจะทำการประมวลผล พร้อมแสดงค่าความผิดปกติให้เด่นชัดขึ้นมา จึงทำให้จักษุแพทย์สังเกตเห็นได้ง่ายขึ้นและสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้เข้ารับการวินิจฉัยเป็นเริ่มต้อหินหรือไม่ หรือในกรณีที่เป็นและได้รับการรักษาอยู่แล้ว ก็จะช่วยติดตามการเปลี่ยนแปลงของขั้วประสาทตาได้
โดยที่ผ่านมา การติดตามการเปลี่ยนแปลงจากภาพถ่ายขั้วประสาทตาของผู้ป่วย ต้องอาศัยทักษะความชำนาญและเวลาเป็นอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของขั้วประสาทตามักจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และไม่เป็นที่สังเกตได้ชัดในระยะแรก ดังนั้น ในทางปฏิบัติจริงจะค่อนข้างยุ่งยากสำหรับแพทย์ แต่โปรแกรมนี้จะเป็นเหมือนผู้ช่วยที่จะทำให้จักษุแพทย์ได้สังเกตเห็นความผิดปกติได้รวดเร็วขึ้น
สำหรับนวัตกรรมดังกล่าว ได้ผ่านการทดสอบความแม่นยำเบื้องต้นแล้ว ด้วยการนำภาพตัวอย่างขั้วประสาทตาของผู้ป่วยจริง มาทำการทดลองและวินิจฉัยเคียงคู่กับจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านต้อหิน พบว่า สามารถช่วยสังเกตความผิดปกติในบางตำแหน่ง ที่แม้ผู้เป็นจักษุแพทย์อาจสังเกตเห็นได้ยากจากภาพถ่ายปกติ โดยในอนาคตหลังจากพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นแล้ว เตรียมเปิดให้โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ เอกชน ตลอดจนหน่วยงานทางการแพทย์เฉพาะทาง ใช้ฟรี เพื่อลดข้อจำกัดของการคัดกรอง และลดความเสี่ยงของการเกิดต้อหินขั้นรุนแรงกับผู้ป่วย/ผู้มีแนวโน้มในอนาคต โดยพร้อมจัดอบรมการใช้โปรแกรมก่อนรักษาจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร กล่าวสรุป
ทั้งนี้ โปรแกรมผู้ช่วยแพทย์คัดกรองต้อหิน หรือ “โปรแกรมช่วยแพทย์ในการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินโรคของผู้ป่วยต่อหิน” (Medical Assistant’s Program as an Aid to Detect Glaucoma Progression) ได้รับรางวัล Silver Medal จากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 47 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ที่ผ่านมา โดยผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ โทรศัพท์ 081-627-3024
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT และ www.engr.tu.ac.th
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives
—
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...
สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย
—
พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...
แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง
—
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...
สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP
—
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...
AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน
—
นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ
—
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม
—
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...
นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์
—
ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...