อ.พญ.ไอณภัค บุญทวียุวัฒน์และศ.ดร.นพ ประวิตร อัศวานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ไวรัสโคโรนา ประกอบด้วย อาร์เอ็นเอสายเดียว คลุมด้วยกรอบสองชั้น มีความทนอยู่บนพื้นผิว และล่องลอยในอากาศได้ ขึ้นอยู่กับความชื้น อุณหภูมิและลักษณะของพื้นผิว โดยอยู่บนพื้นผิวพลาสติก หรือสแตนเลสอาจอยู่ได้นานกว่าพื้นผิวอื่น1 การสัมผัสละอองฝอยที่มีไวรัสหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนไวรัสเป็นทางติดต่อหลักจากผู้ป่วย การกำจัดเชื้อไวรัสที่ล่องลอยในอากาศและบนพื้นผิว จึงเป็นการป้องกันการติดต่อเชื้อไวรัสที่น่าสนใจ
การฆ่าเชื้อด้วยแสงช่วงยูวีซี (ซึ่งอยู่ในช่วงคลื่น 200-290 นาโนเมตร รูปภาพที่ 1) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดเชื้อไวรัสที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อขึ้นกับ ปริมาณแสงที่ใช้ ความชื้นของอากาศ สภาพพื้นผิว ชนิดของเชื้อไวรัส หลังจากเชื้อได้รับแสงยูวีซี โดยเฉพาะความคลื่นที่ 260 นาโนเมตร จะส่งผลให้เชื้อหมดความสามารถในการติดต่อและเจริญเติบโต หรือก่อโรคได้อีก
ความสามารถในการยับยั้งเชื้อไวรัสบนพื้นผิว เมื่อทดสอบบนพื้นผิวที่มีความสามารถในการเก็บกักเชื้อไวรัสได้มากที่สุด ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม แสงยูวีซีที่ความยาวคลื่นสูงสุด 260 นาโนเมตรสามารถยังยั้งไวรัสที่ประกอบด้วย อาร์เอ็นเอสายเดียวเช่นโคโรนาไวรัสได้ดีกว่า เชื้อไวรัสชนิดอื่น และยั้บยั้งจำนวนเชื้อได้มากชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญ ได้ถึง 99% จากจำนวนเชื้อไวรัสตั้งต้นก่อนการฉายแสงโดยใช้ขนาดแสงยูวีซี เพียง 1-3 มิลลิจูลต่อตารางเซนติเมตร2 นั่นหมายความว่าหากใช้หลอดไฟยูวีซีอาจเป็นฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดแอลอีดี ที่มีความสามารถในการยังยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาบนพื้นผิว โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยหลอดยูวีซี จำเป็นต้องให้ความเข้มอย่างน้อย10 W/cm2 หากเป็นเชื้อไวรัสอื่นๆ จำเป็นต้องได้ใช้ขนาดของแสงยูวีซีที่แตกต่างกันไปดังตารางที่ 1 โดยความชื้นมีประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อลดลง
การยับยั้งเชื้อไวรัสในอากาศ
แสงยูวีซีสามารถยั้บยั้งโคโรน่าไวรัสได้ง่าย โดยพบว่ามีเปอร์เซ็นต์การรอดของเชื้อเพียง 12 เปอร์เซ็นต์หลังจากได้รับแสงยูวีซีในขนาดที่ต่ำกว่าขนาดที่ใช้ในเชื้อไวรัสอื่นดังตารางที่ 2
และผลของแสงยูวีซีต่อคน สามารถแยกเป็น
การใช้แสงยูวีซีในการยับยั้งเชื้อโรคอย่างปลอดภัย ป้องกันผิวหนังและตาด้วยเสื้อผ้าที่มีใยผ้าหนา และแว่นตาอย่างน้อยที่เป็นประจกใส หรือหลีกเลี่ยงการรับแสงยูวีซีโดยตรง โดยการเปิดใช้งานตามเวลาที่ไม่มีผู้คน
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ "การประชุมกลางปี 2565" ในวันที่ 16 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.00-17.30 น. ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์สมาชิก ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ สาขาตจวิทยา ในด้านเวชปฏิบัติ
7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19
—
ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือก...
รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น
—
สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี...
สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญแพทย์ เข้าร่วมงานDST Mid-Year Meeting 2021
—
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งป...
สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญรับชมเพจเฟซบุ๊ก "ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง" EP.11 ตอน โรคสะเก็ดเงิน: "อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงโควิด"
—
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศ...
โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ
—
โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบในโรคสะเก็ดเงิน อาจมีอาการเป็นเฉพาะที่...
สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญรับชมเพจเฟซบุ๊ก "ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง" EP.10 ตอน "ปัญหาโรคเล็บที่พบบ่อย"
—
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยหรือ DST ตระหนักที่จะทำ...
โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1)
—
แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...
โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1)
—
แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...
สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญรับชมเพจเฟซบุ๊ก "ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง" EP.9 ตอน "ผมร่วงฉับพลัน ผมบาง โรคของหนังศีรษะและแนวทางรักษา"
—
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเท...