กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ร่วมทดสอบห้องสำหรับดูแลผู้ป่วยที่เรียกว่า ห้องความดันลบ (Negative pressure) สำหรับแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne Infection Isolation Room - AIIR) ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยออกไปสู่บริเวณอื่นในสถานพยาบาล
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. ได้รับมอบหมายจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เข้าร่วมทดสอบ “ห้องความดันลบ” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปรับปรุงห้องผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช ให้เป็นห้องสำหรับแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ ใช้ในการรองรับผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อหรือการติดเชื้อในโรงพยาบาล โอกาสนี้ วว. ได้นำความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของ 3 หน่วยงานภายใต้สังกัดของ วว. เข้าไปทดสอบห้องผู้ป่วยดังกล่าว ได้แก่ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ โดยมีกรอบการดำเนินงานทดสอบ ดังนี้
ศูนย์ความหลากหลายชีวภาพ มีภารกิจให้บริการด้านงานวิจัยพัฒนาและวิเคราะห์ทดสอบด้านจุลชีววิทยาให้กับหน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการ ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพอากาศเพื่อหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์จากตัวอย่างอากาศ ตามวิธีทดสอบมาตรฐาน ISO 14698
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. มีภารกิจให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดให้กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน มีเครื่องมือวัดที่สามารถสอบกลับทางมาตรวิทยาไปยังหน่วยมาตรฐานสากล (SI unit) และมีระดับความแม่นยำของเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดค่าความดันของห้องความดันลบ รวมถึงภาวะแวดล้อมในห้องผู้ป่วย ดำเนินการทดสอบ ดังนี้ 1. การวัดอัตราการไหลของอากาศที่ไหลผ่านพื้นที่ช่องระบายอากาศโดยใช้เครื่องมือวัดความเร็วลม (Air Velocity Meter) เพื่อหาอัตราการไหลเวียนของอากาศภายในห้องที่ทราบปริมาตร 2. การวัดค่าความดันอากาศภายในห้องเทียบกับความดันภายนอก (Differential Pressure) 3.การวัดอุณหภูมิ (Temperature) และ 4. ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity)
ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ มีภารกิจให้บริการทดสอบ ตรวจสอบ ตรวจประเมินและที่ปรึกษาทางวิศวกรรม ให้กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ดำเนินการตรวจวัดการรั่วไหล (leak test) ของอนุภาคออกจากห้องความดันลบ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของระบบ HEPA filter ของห้องความดันลบแต่ละห้อง
“…ผลการทดสอบของทั้ง 3 หน่วยงานในสังกัดของ วว. พบว่า ห้องความดันลบของโรงพยาบาลศิริราชผ่านเกณฑ์การใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ นับเป็นการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมของ วว. อีกวาระหนึ่งในการร่วมเป็นหน่วยงานทดสอบด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนได้…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว
อนึ่ง ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ เป็นห้องพักสำหรับผู้ป่วยแบบแยกเดี่ยว ที่มีการควบคุมคุณภาพอากาศเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางอากาศภายในสถานพยาบาล หรือพื้นที่ที่ต้องการการควบคุม โดยมีแนวทางการควบคุม เช่น การควบคุมความดันระหว่างพื้นที่ให้ความดันอากาศภายในห้องผู้ป่วยต่ำกว่าภายนอก ส่งผลให้อากาศภายในห้องผู้ป่วยไม่ไหลออกไปภายนอก ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บริเวณอื่นๆ รวมถึงการวัดอัตราการไหลเวียนของอากาศเพื่อให้มั่นใจว่ามีการถ่ายเทของอากาศที่เหมาะสม ไม่มีการสะสมของเชื้อโรค นอกจากนี้การวัดอุณหภูมิ ความชื้นภายในห้องผู้ป่วยเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม ไม่กระทบกับสุขภาพของผู้ป่วยและสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ รวมทั้งอากาศที่ไหลออกจากห้องจะต้องผ่านการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงเจือจางและฆ่าเชื้อในอากาศก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ วว. ได้ที่ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. โทร. 0 2323 1672-80 โทรสาร 0 2323 9165 อีเมล [email protected]
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...