ปัจจุบันการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น โดยในวันนี้ (5 พฤศจิกายน 2563) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเล หรือ SMART Marine Patrol ณ ห้องประชุมลำแพน ชั้น 9 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้วางนโยบายต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และสามารถติดตามการดำเนินงาน เป็นปัจจุบันและถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่านวัตกรรมสามารถช่วยให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืนยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน
วันนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การพัฒนางานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึง ระบบ AI (Artificial intelligence) เพื่อการพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีให้เห็นกันหลากหลายในยุคปัจจุบัน ตนก็มีความสนใจและศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งตนคิดว่าระบบต่าง ๆ รวมถึง เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำมาช่วยในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติได้ ที่ผ่าน มาทส.ได้พยายามสนับสนุนการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการตรวจสถานการณ์ป่าไม้ ซึ่งตนคิดว่าการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย ทำให้เราสามารถทราบถึงสถานการณ์ได้อย่าง Real Time และมีความเป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น โดยตนได้ให้แนวทางกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ทส. ในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อจำกัดบางประการที่หน่วยงานไม่สามารถทำได้ ก็ควรที่จะหาพันธมิตรที่มีความพร้อมและประสบการณ์มาร่วมดำเนินงาน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลาย ๆ โครงการที่ทาง ทส. สามารถดึงพันธมิตรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีอุดมการณ์ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น SCG, ปตท. สผ. เป็นต้น ล่าสุดทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ลงนามความร่วมมือกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ในการพัฒนางานด้านลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเล หรือ SMART Marine Patrol ซึ่งเป็นโครงการที่ดีและช่วยต่อยอดการพัฒนาได้มาก อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบหมายให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและหาแนวทางต่อยอดโครงการไปสู่การบริหารจัดการด้านอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจุบัน และถูกต้อง แม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เชื่อว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน
ด้านนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวภายหลังการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโครงการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเลว่า ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ หรือ SMART PATROL SYSTEM คือ ระบบการลาดตระเวนพื้นที่ที่มีการจัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการจัดเก็บ สืบค้น วิเคราะห์ และรายงานผลการลาดตระเวนงานด้านการป้องกันและปราบปราม และการลักลอบกระทำผิดต่อทรัพยากรผ่านโปรแกรม SMART ซึ่งการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ กรมฯ ได้จับมือกับสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย ซึ่งมีความรู้ ประสบการณ์ ในด้านการสำรวจและฝึกอบรมด้านการลาดตระเวนและบริหารจัดการสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล ซึ่งการลงนามความร่วมมือ นอกจากจะได้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานแล้ว ยัง เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เจ้าหน้าที่ และเป็นการยกระดับการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งที่สำคัญให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งตนได้มอบหมายให้นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รอง อทช.เป็นผู้กำกับในเรื่องนี้ นอกจากนี้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้วางแนวทางการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีไว้ตั้งแต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็น SCG-DMCR Smart litter trap หรือหุ่นยนต์อัจฉริยะในการดักขยะปากแม่น้ำ เป็นต้น อีกทั้ง ยังได้วางแนวทางการในการพัฒนาต่อยอดการสำรวจและติดตามพะยูน ภายใต้แผนพะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) อีกด้วย
ด้าน ดร. อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ ผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย กล่าวว่า ทางสมาคมฯ พร้อมสนับสนุนในการเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะให้กับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในช่องทางต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบรามให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมฯ นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ จะช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการจัดการสำหรับพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเล ภายใต้การดูแลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้ง สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านการป้องกันและปราบปรามสำหรับเจ้าหน้าที่ในการลาดตระเวน เพื่อให้การปฏิบัติงานในการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อไป ดร. อนรรฆ พัฒนวิบูลย์ กล่าวทิ้งท้าย
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และชุมชนชาวประมงพื้นบ้านบ้านหินกบ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ดูแลระบบนิเวศอ่าวไทย ประสานพลังพนักงานปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า 20 ล้านตัวกลับคืนสู่ท้องทะเล ปลูกต้นโกงกาง 1,000 ต้น และเก็บขยะชายฝั่ง บริเวณชายหาด ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ โดยชมรมบำเพ็ญประโยชน์และชมรมท่องเที่ยวจิตอาสาได้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้น
"ท่าเรือประจวบ" รับใบประกาศคุณประโยชน์ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลฯ
—
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดงานวันทะเลโลก 2566 "เปลี่ยนพลิกฟื้น คืนโลกสีคราม Plan...
OR และบริษัทในกลุ่ม ปตท. จับมือภาครัฐและภาคีเครือข่าย เร่งปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ ตั้งเป้ามุ่งสู่การดำเนินธุรกิจค้าปลีกสีเขียว (Green Retailing)
—
นายดิษทัต ป...
ปตท. ผนึกภาครัฐและภาคีเครือข่าย เร่งปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ มุ่งบรรลุเป้า Net Zero Emissions ปี 2050
—
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ...
JR ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 ปลูกป่าชายเลน "รักษ์โลก" จำนวน 40 ไร่
—
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการ และ นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ ...
เอสซีจี ผนึกกำลังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคีเครือข่าย ลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดการขยะทะเล นำร่อง 5 ปากแม่น้ำ
—
กระทรวงทรัพ...
Dow รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง "รักษ์ทะเลยิ่งชีพ" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
—
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง "ร...