บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ลงทุนรอบ Series B ใน Paronym (พาโรนีม) สตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น ทำธุรกิจด้านวิดีโอแพลตฟอร์มที่ต่อยอดด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นรายแรกในพอร์ตของโครงการธุรกิจร่วมลงทุน InVent (อินเว้นท์) การลงทุนในรอบนี้ นอกจากอินเว้นท์แล้ว ยังมีนักลงทุนชั้นนำจากหลากหลายธุรกิจของประเทศญี่ปุ่น เช่น Japan Post Capital และ NTT Docomo เข้าร่วมลงทุนด้วยรวมมูลค่า 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 200 ล้านบาท
พาโรนีม มุ่งเน้นพัฒนาแพลตฟอร์มภายใต้ชื่อ "TIG" ซึ่งเป็นวิดีโอเทคโนโลยีโต้ตอบอัตโนมัติที่นำ AI มาต่อยอดในเรื่องของ Object tracking และ Heat map tool ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของพาโรนีม เพื่อยกระดับการใช้งานวิดีโอที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสภาพหรือวัตถุบนวิดีโอที่ตนเองสนใจ เพื่อดูคำอธิบาย เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติม หรือซื้อสินค้าได้ทันที ช่วยสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับผู้ใช้งาน และเป็นเทคโนโลยีวิดีโอแห่งโลกอนาคต
ดร.ณรงค์พนธ์ บุญทรงไพศาล หัวหน้าโครงการบริษัทร่วมทุนอินเว้นท์ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "เทคโนโลยีของพาโรนีมนั้นเปรียบเสมือนการปฏิวัติเทคโนโลยีแห่งวงการวิดีโอ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มแรกที่สามารถโต้ตอบอัตโนมัติและสามารถนำผู้ใช้ไปสู่เว็บไซต์ เพื่อดูสินค้าหรือซื้อสินค้าได้ทันที โดยเทคโนโลยีของพาโรนีมนั้นประยุกต์ใช้งานได้กับหลากหลายอุตสาหกรรมซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่และมีศักยภาพ เช่น ด้านอีคอมเมิร์ซ ด้านโฆษณา ด้านการเรียนการสอน ด้านเกมส์ ด้านสุขภาพและการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งการมาของเทคโนโลยี 5G ในอนาคตอันใกล้นี้จะช่วยยกระดับศักยภาพเทคโนโลยีของพาโรนีมก้าวไปสู่อีกขั้นของวงการวิดีโอ"
"อินเว้นท์มุ่งเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพที่ตอบรับการมาถึงของเทคโนโลยี 5G หรือ Emerging Technology อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ อินเว้นท์ไม่ได้ลงทุนเฉพาะในประเทศไทยหรือประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่ยังเป็นปีแรกที่อินเว้นท์ได้ขยายการลงทุนไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เพื่อเฟ้นหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดให้กับกลุ่มอินทัช"
"ทางอินเว้นท์ ยินดีมากที่ได้ต้อนรับพาโรนีม ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่นรายแรกเข้ามาใน Portfolio ของเรา ทั้งนี้ เรามองเห็นว่า TIG เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย สามารถเพิ่มจำนวนยอดผู้ซื้อและยอดขายได้ ดังนั้น เรามองว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการโฆษณาและการตลาดแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถช่วยสร้างโอกาสให้กับ SMEs และองค์กรต่างๆ ทั้งในไทยและญี่ปุ่น รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอีกด้วย"
นายมิชิโอะ โคบายาชิ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของพาโรนีม กล่าวว่า "นับเป็นก้าวสำคัญของสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่ได้รับเงินลงทุนจากอินเว้นท์ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อวงการสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระดมทุนในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพาโรนีมเป็นสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปได้ในสถานการณ์ New Normal"
"เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพาโรนีม เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในตลาดวิดีโอและการตลาดแบบดิจิทัล โดยเฉพาะการขยายธุรกิจมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce rate) มากกว่า 40% และมีการคาดการณ์การเติบโตของมูลค่าตลาดจาก 900 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 เป็น 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 ดังนั้น ด้วยความร่วมมือทั้งทางด้านเงินลงทุนและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ทางพาโรนีมจะเร่งขยายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะตลาดในประเทศไทย โดยร่วมมือกับอินทัช และเอไอเอสเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในตลาดวิดีโอ เราต้องการให้พาโรนีม เป็นที่รู้จักในประเทศไทยก่อน และตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาบริการใหม่ๆ เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป"
เนื่องจากตลาดวิดีโอและอีคอมเมิร์ซมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้ว่า Digital Transformation เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ผ่านมา TIG ได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งานอันหลากหลาย ได้แก่ สื่อประชาสัมพันธ์ทางจอภาพรูปแบบใหม่ (Digital Signage) การโปรโมทและโฆษณาวิดีโอผ่าน LINE Official Account และการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Live Streaming เพื่อตอบรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค New Normal โดย TIG ให้บริการในหลากหลายธุรกิจ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย สนับสนุนการการรับรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้งานด้วยโชลูชั่นดีที่สุดของพาโรนีม นอกจากนี้ พาโรนีมยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีวีดีโอใหม่ๆ ให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศในโลกยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมไปจนถึงเพื่อตอบรับการมาถึงของเทคโนโลยี 5G อีกด้วย
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 4 หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ( Artificial Intelligence) ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรทั้งหมดออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการ Upskill และ Reskill เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและองค์กรในยุคดิจิทัล ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
SCGP เผยผลงาน Q1 เติบโต รุกตลาดในประเทศกลุ่มอาเซียน-เสริมพอร์ตสินค้าอุปโภคบริโภค-บริหารต้นทุน ชูแผนปรับตัวไวรับมาตรการภาษี
—
SCGP ประกาศผลการดำเนินงานไตรม...
PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
—
PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...
SO เดินเกมรุก ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม ตอกย้ำฐานะการเงินแกร่ง จ่ายปันผล 85% ของกำไร
—
บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เดินห...
เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน
—
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...
OKMD ประกาศผล แพลตฟอร์มช่วยคนหูหนวก - เอไอออกแบบเสื้อผ้า คว้าชัยประกวด Learn Lab 2025 : Creativity Beyond AI
—
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์คว...
สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education"
—
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...
สคส. ดันไทยก้าวสู่มาตรฐานโลก คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระดับสากล ร่วมประชุม APEC DESG ครั้งที่ 50 ณ เกาหลีใต้
—
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สค...
'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
—
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...