วว. จัดตั้งศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่นครบวงจร รองรับการขอขึ้นทะเบียน อย. เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดตั้ง “ศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่นครบวงจร” ครอบคลุม 13 สาขาวิเคราะห์ทดสอบมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของผู้ประกอบการไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศ/ต่างประเทศ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วยองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ยั่งยืน

วว. จัดตั้งศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่นครบวงจร รองรับการขอขึ้นทะเบียน อย. เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. ได้จัดตั้ง “ศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่น” เพื่อรองรับการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของผู้ประกอบการ ซึ่งการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชั่นให้สามารถขึ้นทะเบียน อย. ได้นั้น ต้องปฏิบัติตาม Guideline ต่างๆที่ อย.กำหนด เช่น ผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีความปลอดภัย หรือผ่านการทดสอบความเป็นพิษและประเมินความปลอดภัยแล้ว หรือหากต้องการการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) ก็ต้องมีการพิสูจน์ฤทธิ์ต่างๆ ทั้งในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง ตลอดจนมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบไปจนถึงผลิตภัณฑ์ โดย ศูนย์บริการฯ ของ วว. พร้อมให้บริการและสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ครอบคลุมตามมาตรฐานสากล

“…ปัจจุบันผู้บริโภคมีความตระหนักและมีแนวโน้มใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าส่วนแบ่งการตลาดของอาหารสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น และแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของโลกที่มุ่งไปสู่ "อาหารเพื่อสุขภาพ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทอาหารฟังก์ชั่น (Functional Foods)" ซึ่งมูลค่าตลาดของ Functional Foods ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังแซงหน้าอาหารเพื่อสุขภาพในกลุ่มอื่นๆ การจัดตั้ง “ศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่น” เป็นการดำเนินงานในมิติเชิงรุกของ วว. ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการ โดยเรามีทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา มีเครื่องมือที่ทันสมัย และเรามีศักยภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะให้บริการวิจัยและพัฒนา ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบต่างๆ ด้านอาหารฟังก์ชั่นอย่างครบวงจร…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ทั้งนี้ อาหารฟังก์ชั่น (Functional Foods) มีนิยามที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่โดยทั่วไปหมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีการเติมสารอาหารบางอย่างเข้าไป อาทิ สารสกัดจากธรรมชาติที่ให้ประโยชน์นอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐาน สารอาหารฟังก์ชั่นเหล่านั้นจะส่งผลดีต่อสุขภาพ และ/หรือ ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคต่างๆ ที่สำคัญ คือ การยังคงสภาพเป็นอาหาร ไม่ใช่แคปซูลหรือเป็นผงเหมือนยา และไม่มีข้อจำกัดในการบริโภค เช่น ช่วยส่งเสริมและควบคุมให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ (Rhythm of physical condition) ป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากภาวะทุพโภชนาการ และควบคุมอาการของโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดัน เป็นต้น ทั้งนี้หากมีศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่นที่เชี่ยวชาญจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการมีผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพมาตรฐาน

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน วว. มีศักยภาพในการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบต่างๆ ด้านอาหารฟังก์ชั่น (Functional Foods) อย่างครบวงจร ดังนี้ 1.การทดสอบฤทธิ์ต่างๆ ทางชีวภาพเบื้องต้นของสารสกัด/ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรส ทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไลเปส เอนไซม์อะไมเลส เอนไซม์กลูโคซิเดส เอนไซม์8vg]lg9viv]gvlgmvgil 2.การวัดปริมาณสารสำคัญต่างๆ ได้แก่ ปริมาณสารประกอบฟินอลิครวม ปริมาณแอนโธไซยานิน ฟลาโวนอยด์รวม เบต้าแคโรทีนรวม 3.การทดสอบคุณสมบัติทางด้านเภสัชจลนศาสตร์ของสารต่างๆ และ 4.การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัด/ผลิตภัณฑ์ (Pharmacological Testing) ในหลอดทดลอง

ทั้งนี้ ในส่วนของการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัด/ผลิตภัณฑ์ในหลอดทดลอง จะให้บริการครอบคลุมในสาขาต่างๆ ได้แก่ 1.) โรคกระดูกและข้อ (Bone and Joint diseases) เช่น การทดสอบฤทธิ์ส่งเสริมการสร้างกระดูกและยับยั้งการสลายกระดูก การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อโรคข้อเสื่อม การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส ฤทธิ์ในการขับกรดยูริก 2.) โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ (Cardiovascular disease) เช่น การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่มีบทบาทหลักต่อการย่อยอาหารไขมันในทางเดินอาหาร การทดสอบสารต่อการลดการสะสมไขมันภายในเซลล์เพาะเลี้ยงเซลล์ไขมัน 3T3-L1 การทดสอบฤทธิ์ต่อกระบวนการละลายของโคเลสเตอรอลในไมเซลล์ การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการคลายตัวของหลอดเลือดหัวใจ 3.) โรคระบบประสาทและสมอง (Neurological and Brain disease) เช่น การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ AchE, การศึกษาในการป้องกันและลดการทำลายของเซลล์ประสาท SH-SY5Y และการประเมินศักยภาพของสารต่อการฟื้นฟูความจำบกพร่องในหนูแก่

4.) โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal diseases) เช่น การศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงไขมันพอกตับ การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการเพิ่มการหดตัวหรือคลายตัวของลำไส้ 5.) โรคมะเร็ง (Cancer) เช่น การทดสอบความเป็นพิษติ่เซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการตายแบบอะพ๊อพโตซิสในเซลล์มะเร็ง การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ด้วยวิธี Wound healing assay 6.) ระบบภูมิต้านทาน (Immune system) เช่น การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการส่งเสริมการทำงานของ NK cells การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการต้านการอักเสบ การทดสอบฤทธิ์ของสารต่อการกระตุ้นการทำงานของ B-cell และ T-cell 7.) มวลกล้ามเนื้อ (Muscle mass) เช่น การศึกษาประสิทธิภาพและกลไกในการเสริมสร้างหรือเพิ่มมวลกล้ามเนื้อของสาร ประเมินความสามารถในการซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดของสาร

5.ทดสอบฤทธิ์ทางด้านเภสัชวิทยาต่างๆ ในสัตว์ทดลอง ได้แก่ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ การทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดการทดสอบฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน และการทดสอบฤทธิ์ลดไขมันในเลือด 6.ทดสอบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ทางด้านการเป็น Prebiotics และ Probiotics 7.วิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์ 8.ประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ 9.ประเมินอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ 10.ทดสอบด้านพิษวิทยาและการประเมินความปลอดภัยของสารสกัด/ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากในหนูทดลอง และการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังทางปากในหนูทดลอง

11.ทดสอบความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety Testing) จากสารปนเปื้อนหรือสารตกค้างในอาหาร (Food contaminants) ได้แก่ การทดสอบหาปริมาณยาปฏิชีวนะ การทดสอบหาปริมาณเมลามีนและสารอนุพันธุ์ การทดสอบหาปริมาณสารเร่งเนื้อแดง การทดสอบหาปริมาณสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง การทดสอบหาปริมาณสารกันบูด การทดสอบหาปริมาณสารกันหืน การทดสอบหาปริมาณสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไมโคทอกซิน การทดสอบหาปริมาณโลหะหนัก การดัดแปรทางพันธุกรรม (GMO) สารก่อภูมิแพ้ (Food allergen) การทดสอบทางจุลชีววิทยา ได้แก่ เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ยีสต์และรา และการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาอื่น ๆ การทดสอบการปลอมปนในอาหาร (Food adulteration) และการทดสอบความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหาร 12.วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ และ 13.วิเคราะห์เพื่อหาส่วนประกอบของอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มประเภทต่างๆ

“ศูนย์บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ ด้านอาหารฟังก์ชั่นครบวงจร วว.” เปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2577 9142 (ดร.วิริยาภรณ์ สุ่มสกุล และ ดร.สินี ศิริคูณ) E-mail : [email protected]


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...