หัวเว่ย ส่งทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นตัวแทนประเทศไทยแข่ง Huawei ICT Competition 2020 รอบเอเชียแปซิฟิก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ชวนคนไทยร่วมส่งกำลังใจให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทั้ง 3 คนในนามทีม “KMUTT” เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมแข่งขันในเวที Huawei ICT Competition 2020 รอบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2563 นี้ โดยตัวแทนทีมนักศึกษาผู้ชนะจากรอบคัดเลือกระดับประเทศ เตรียมประลองความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไอซีที กับทีมผู้แทนจากอีก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และอินโดนีเซีย

หัวเว่ย ส่งทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นตัวแทนประเทศไทยแข่ง Huawei ICT Competition 2020 รอบเอเชียแปซิฟิก

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันเป็นอีเว้นท์ทางออนไลน์ผ่านระบบ Video Conference สำหรับทั้งรอบภูมิภาคและรอบแกรนด์ไฟนอล แต่หัวเว่ยประกาศว่าการแข่งขันต้องดำเนินต่อไป พร้อมเดินหน้าเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีพื้นที่ให้แสดงความสามารถบนเวทีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับโลกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ทีม KMUTT ผู้ชนะในรอบคัดเลือกของ Huawei ICT Competition 2020 ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทยประจำปีนี้ประกอบด้วยนักศึกษาทั้งหมด 3 คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้แก่ นายพิทวัส ทวีกิจวรชัย (พีท) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นายวิชาญ เรืองขจร (ปลื้ม) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนายบุญญฤทธิ์ ปึงทมวัฒนากูล (อ๊อฟ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในรอบคัดเลือก หัวเว่ยใช้ Huawei Certification ระดับ HCIA (Huawei Certified ICT Associate) ซึ่งเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรรับรองความรู้ด้านไอซีทีที่ได้การยอมรับในการทำงานระดับสากล ในสาขา Routing & Switching เพื่อคัดเลือกหาทีมอันดับหนึ่งของประเทศ โดยทีม KMUTT ของนักศึกษาทั้งสามได้รับคัดเลือกจากการแข่งขันรอบระดับประเทศที่จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้พวกเขาได้เป็นตัวแทนเยาวชนไทยเพื่อเตรียมตัวชิงชัยในระดับภูมิภาค ในวันที่ 18 ตุลาคมนี้ และเนื่องด้วยสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ การแข่งขันรอบ Regional – APAC นี้ หัวเว่ยจะแจกโจทย์การทดสอบพร้อมกันทั้ง 6 ประเทศผ่านระบบ Video Conference และ 9 ทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นตัวแทนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไปชิงแชมป์โลกในรอบแกรนด์ไฟนอล ร่วมกับผู้ชนะจากแต่ละภูมิภาค

เพื่อเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันในเวทีนานาชาติ ทีมเยาวชนไทยเผยว่าพวกเขาต่างทบทวนความรู้ในทางทฤษฎีและเชิงปฏิบัติด้วยตนเองมาอย่างต่อเนื่องจากหลักสูตรและแหล่งข้อมูลที่หัวเว่ยจัดเตรียมให้มาโดยตลอด การแข่งขันในรอบภูมิภาคนี้ ต้องอาศัยความรู้ด้านไอซีทีใน 3 สาขา ได้แก่ Routing & Switching, WLAN และ Security ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนน้องๆ อย่างเต็มที่ด้วยการจัดฝึกอบรมทบทวนความรู้อย่างเข้มข้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อให้ทีมผู้เข้าแข่งขันมีพื้นฐานทฤษฎีที่แม่นยำ พร้อมจัดเทรนนิ่งเชิงปฏิบัติที่สำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย เพื่อจำลองสถานการณ์การเชื่อมต่อระบบผ่านอุปกรณ์จริง เตรียมความพร้อมน้องๆ ให้มีความมั่นใจทั้งในเชิงทฤษฎีและการทำงานกับเครือข่ายจริงอีกด้วย

ดร. อนุชาติ ทัศนวิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะผู้ดูแลโครงการ ให้สัมภาษณ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมของทีมว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฯ ได้มีโอกาสแสดงความสามารถด้านไอซีทีในเวทีระดับสากล ประสบการณ์เช่นนี้ไม่ได้หากันได้ง่ายๆ นอกจากจะได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาโดยตรงแล้ว ผมมั่นใจว่าทีมของเราจะได้พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและการขวนขวายหาความรู้นอกห้องเรียนหรือ Self- Learning ซึ่งเป็นสองทักษะที่สำคัญมาก ๆ ในโลกเทคโนโลยียุคใหม่”

นายบุญญฤทธิ์ ปึงทมวัฒนากูล (อ๊อฟ) ตัวแทนเยาวชนจากทีม KMUTT ทิ้งท้ายว่า “พวกเราจะตั้งใจทำให้ดีที่สุด ประสบการณ์การแข่งขันระดับโลกแบบนี้ถือเป็นความท้าทายอันน่าตื่นเต้นในชีวิต และเราก็มั่นใจว่าสิ่งที่ได้รับจากโครงการ Huawei ICT Competition คือการได้ต่อยอดองค์ความรู้ด้านไอทีจากห้องเรียนสู่การเปิดโลกกว้าง พร้อมนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรของหัวเว่ยไปใช้ในการทำงานในอนาคตต่อไป”

หัวเว่ยขอชวนทุกคนร่วมส่งกำลังใจให้ทีม “KMUTT” ในการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ บริษัทพร้อมยืนหยัดส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้ด้านไอซีที ผ่านหลักสูตรไอซีทีทางออนไลน์มากมายภายใต้โครงการ Huawei Certification เพื่อมอบโอกาสการเรียนรู้ด้านไอซีทีที่ทุกคนเข้าถึงได้


ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ

สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)

ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลย... 65 ปี มจธ. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning University) ตลอดชีวิตเต็มรูปแบบ — ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า...

TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการ... TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15 — TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...

จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักด... จีเอเบิล ร่วมผลักดันเยาวชนไทย คว้าชัยบนเวที PDPA Hackathon 2024 — จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันศักยภาพเยาวชนไทย สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรี... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที...