สมาร์ทวอทช์ Zepp Z ผสานดีไซน์คลาสสิกและเทคโนโลยีสุดล้ำอย่างลงตัว
Zepp ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพด้วยระบบดิจิทัล จัดงานถ่ายทอดสดออนไลน์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์สมาร์ทวอทช์ Zepp E พร้อมเปิดตัวอุปกรณ์สวมใส่รุ่นใหม่ล่าสุดอย่างสมาร์ทวอทช์ Zepp Z ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดีไซน์นาฬิกาคลาสสิก ผสานงานฝีมือประณีตแบบดั้งเดิมกับวัสดุคุณภาพสูงเพื่อสร้างสรรค์สมาร์ทวอทช์พรีเมียมสุดหรู โดย Zepp Z ช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถควบคุมสุขภาพร่างกายและจิตใจตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง
ดีไซน์พรีเมียมสไตล์โมเดิร์นคลาสสิก
Zepp Z ทำจากไทเทเนียมอัลลอยชิ้นเดียว จึงมีน้ำหนักเบาอย่างเหลือเชื่อแต่แข็งแรงทนทาน นอกจากนั้นยังเคลือบนาโน NTC ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้อย่างดี มาพร้อมหน้าปัดแกะสลักเรียบหรูดูดี และดีไซน์เม็ดมะยมสุดคลาสสิกที่ให้ความรู้สึกหรูหราและช่วยให้ควบคุมสมาร์ทวอทช์ได้ดั่งใจ
Zepp Z มีฟีเจอร์หน้าจอแสดงผลตลอดเวลา หรือ Always-On Display [1] ช่วยให้ดูเวลาได้ง่ายเพียงแค่ชำเลืองมอง และมี Health Key [2] ที่ช่วยให้เข้าถึงระบบวัดสุขภาพได้ทันใจ มาพร้อมความละเอียดของภาพหน้าจอระดับ 326 ppi แสดงสเปกตรัมสีระดับ 100% NTSC ให้รายละเอียดอย่างเหลือเชื่อ
คู่หูดูแลสุขภาพครบวงจร
Zepp Z ติดตามปัจจัยชี้วัดสุขภาพของผู้สวมใส่ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยเทคโนโลยี AI และข้อมูลไบโอเมตริก [3] โดยเซนเซอร์ BioTracker(TM) 2.0 PPG สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจและแจ้งเตือนหากหัวใจมีอัตราการเต้นผิดปกติ [4]
นอกจากนี้ Zepp Z ยังสามารถวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด [5] ซึ่งเป็นอีกมาตรวัดสุขภาพที่มีประโยชน์อย่างมาก
เพื่อช่วยให้ผู้สวมใส่เข้าใจข้อมูลไบโอเมตริกของตนเองอย่างง่ายดายขึ้น Zepp Z จึงมีระบบ PAI(TM) Health Assessment System [6] ที่ช่วยแปลงข้อมูลสุขภาพเป็นคะแนน หลังจากประมวลผลอัตราการเต้นของหัวใจ การทำกิจกรรม และมาตรวัดสุขภาพอื่น ๆ
Zepp Z ยังสามารถติดตามการนอนหลับของผู้สวมใส่ ทั้งช่วงหลับไม่สนิท ช่วงหลับลึก และช่วงหลับที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (REM) [7] รวมถึงช่วงเวลานอนและช่วงเวลาตื่น หรือแม้แต่ช่วงนอนกลางวันระหว่าง 11.00-16.00 น. โดยจะมีการให้คะแนนคุณภาพการนอนหลับด้วย
นอกจากนี้ Zepp Z ยังสามารถวัดระดับความเครียดของผู้สวมใส่ด้วยอัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นเอง
เพื่อนและผู้ช่วยออกกำลังกายอัจฉริยะ
ผู้สวมใส่สามารถตั้งค่าโหมดกีฬาแบบเรียลไทม์เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการออกกำลังกายแทบทุกประเภท โดยสามารถแจ้งเตือนระดับการออกกำลังกายและโซนอัตราการเต้นของหัวใจในขณะออกกำลังกาย [8] และหากต้องการฟังเพลงพร้อมออกกำลังกาย Zepp Z ก็ช่วยควบคุมเพลงโปรดผ่านสมาร์ทโฟนได้ด้วย
Zepp Z ใช้งานต่อเนื่องได้นานกว่า 2 สัปดาห์ หากใช้งานประจำวันทั่วไป [9] หรือนานกว่า 30 วัน [10] หากใช้งานเพียงโหมดพื้นฐาน
ผู้สวมใส่ Zepp Z สามารถสั่งการด้วยเสียงเพื่อโต้ตอบกับ Alexa [11] ในสมาร์ทโฟน โดยสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะภายในบ้าน จับเวลาหรือตั้งนาฬิกาปลุก ตรวจสอบสภาพอากาศ ฯลฯ นอกจากนี้ ตัวช่วยเสียงออฟไลน์ [12] ยังรองรับคำสั่งเสียง 58 คำสั่ง ผู้สวมใส่จึงสามารถโต้ตอบกับ Zepp Z และควบคุมได้ทุกที่ทุกเวลา
Zepp เคียงข้างคุณทุกช่วงเวลา
Zepp ก่อตั้งขึ้นในซิลิคอนแวลลีย์เมื่อปี 2553 และกลายเป็นแบรนด์ขวัญใจนักกีฬาที่ต้องการเพิ่มสมรรถนะของตนเอง ในปี 2563 นี้ Zepp ได้เปิดศักราชใหม่ของภารกิจด้านสุขภาพ ด้วยความเชื่อที่ว่าเทคโนโลยีที่ใส่ใจมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคนเรา และตระหนักในศักยภาพของ IoT ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ทั้งนี้ Zepp เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี อุปกรณ์ และแอปใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
Zepp App คือแพลตฟอร์มจัดการสุขภาพส่วนบุคคล โดยสามารถเชื่อมกับแบรนด์ในเครือเดียวกันอย่าง Amazfit ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ ทั้งสมาร์ทวอทช์ สายรัดข้อมือ และอุปกรณ์สวมใส่ โดยให้บริการผ่านระบบคลาวด์
Zepp Z สมาร์ทวอทช์ที่มาพร้อมบอดี้โลหะน้ำหนักเบา ระบบวัดสุขภาพดิจิทัล และหน้าจอที่ปรับแต่งได้ง่าย เริ่มจำหน่ายผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ www.zepp.com ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน ในราคาเริ่มต้น 349 ดอลลาร์สหรัฐ
อ้างอิง
[1] ฟีเจอร์ "Always-On Display" ทำให้นาฬิกาสามารถแสดงข้อมูลเมื่อเปิดหน้าจอ และแสดงเวลาต่อเนื่องแม้ปิดหน้าจอ โดยผู้สวมใส่สามารถตั้งค่าได้ที่โหมด AOD [2] รองรับการอัปเดตผ่าน OTA โดย Health Key จะใช้งานได้เมื่อนาฬิกาอยู่ในหน้าโฮมสกรีน ผู้สวมใส่สามารถปรับแต่ง Health Key เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด หรือระดับความเครียด [3] ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช่อุปกรณ์ทางการแพทย์ ข้อมูลและการวัดผลทั้งหมดใช้ในการอ้างอิงเท่านั้น และไม่ควรใช้ในการวินิจฉัยหรือการติดตามอาการทางการแพทย์ [4] ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ผู้สวมใส่ต้องตั้งค่าและเปิดฟีเจอร์ "ตรวจสุขภาพหัวใจ" โดยค่าต่ำสุดสามารถตั้งไว้ที่ 1 นาที ฟีเจอร์นี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น โดยไม่สามารถใช้ในวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรือใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ ผู้สวมใส่ควรปรึกษาแพทย์หากรู้สึกไม่สบาย [5] ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดอาจส่งผลต่อระดับออกซิเจนในอวัยวะต่าง ๆ หากต่ำไปก็อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดหัว หรือหัวใจหยุดเต้น อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช่อุปกรณ์ทางการแพทย์ ข้อมูลที่ได้จึงใช้ในการอ้างอิงเท่านั้น และไม่ควรใช้ในการวินิจฉัยหรือการติดตามอาการทางการแพทย์ นอกจากนี้ ความแม่นยำของข้อมูลอาจคลาดเคลื่อนหากเซ็นเซอร์สัมผัสกับผิวที่มีรอยสักหรือมีสีเข้ม และการวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต้องวางแขนให้นิ่งด้วย [6] ผลการศึกษา HUNT Fitness Study ระบุว่า ผู้ที่มีคะแนน PAI(TM) ตั้งแต่ 100 คะแนนขึ้นไป มีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งนี้ HUNT Fitness Study จัดทำโดยศาสตราจารย์ Ulrik Wisloff จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งนอร์เวย์ โดยใช้เวลาศึกษายาวนานกว่า 35 ปี และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 230,000 คน [7] ช่วงหลับที่มีการกลอกตาอย่างรวดเร็ว (REM) เป็นพื้นฐานของจังหวะทางชีวภาพตามปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยคิดเป็น 20-25% ของวงจรการนอนหลับตลอดคืน และสามารถดูได้จากการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของดวงตา คลื่นไฟฟ้าสมองความถี่ผสมแอมพลิจูดต่ำ และการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ ในการติดตามวงจร REM นั้น ผู้สวมใส่ต้องเปิดโหมดตัวช่วยการนอนหลับและโหมดวัดอัตราการเต้นของหัวใจ [8] ไม่สามารถใช้ออกกำลังกายใต้น้ำได้ [9] เงื่อนไขการทดสอบ: เปิดโหมดวัดอัตราการเต้นของหัวใจและโหมดติดตามการนอนหลับ รวมถึงวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดวันละสองครั้ง ทุกวันมีการเปิดหน้าจอเพื่อแสดงข้อความ 150 ข้อความ และผู้สวมใส่ยกข้อมือเพื่อดูเวลา 30 ครั้ง ส่วนการใช้งานอื่น ๆ ไม่เกิน 5 นาทีในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ผู้สวมใส่ออกกำลังกายสามครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งวิ่ง 30 นาที และเปิดใช้งาน GPS ทั้งนี้ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และระยะเวลาใช้งานจริงอาจแตกต่างจากผลการทดสอบเล็กน้อย [10] อายุการใช้งานของแบตเตอรี่เมื่อปิดบลูทูธ ฟีเจอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และฟีเจอร์อื่น ๆ โดยผู้สวมใส่ยกข้อมือเพื่อเปิดหน้าจอ 100 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และระยะเวลาใช้งานจริงอาจแตกต่างจากผลการทดสอบเล็กน้อย [11] Alexa รองรับการอัปเดตผ่าน OTA อย่างไรก็ตาม Alexa ไม่ได้มีให้บริการในทุกประเทศ/ดินแดน สามารถดูรายชื่อประเทศ/ดินแดนที่มี Alexa ให้บริการ รวมถึงภาษาที่รองรับ และวิธีการใช้ Alexa บน Zepp Z ได้ที่ support.zepp.com [12] ตัวช่วยเสียงออฟไลน์รองรับคำสั่งเสียงภาษาอังกฤษเท่านั้น
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1335391/Zepp_Z_A_Brand_New_Icon_with_a_titanium_alloy_body.jpg
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3
สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น
—
สวทช. จับมือมูลนิธิ SO...
ท๊อป จิรายุส ชวนกูรูสุขภาพแชร์เทคนิคอายุยืนอย่างมีคุณภาพปลดล็อกวิทยาศาสตร์ยืดชีวิตในงาน StayGold Meetup 2
—
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 บริษัท บิทคับ แคปปิ...
CITE DPU ชู 4 หลักสูตร ป.โท Upskill - Reskill รองรับ AI และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทุกองค์กรต้องการ
—
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE...
ธนาคารกรุงไทย ร่วมฉลองครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง เคียงข้างไทยในทุกก้าวสำคัญ
—
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียร...
กระทรวง อว. โดย สวทช. - กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน
—
กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค...