เขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่ฉลองครบรอบ 40 ปี ขณะที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วจีนพร้อมใจพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

จีนเริ่มจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นครั้งแรกในปี 2523 บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ โดยเมืองจูไห่ก็เป็นหนึ่งในนั้น บรรดาเขตเศรษฐกิจพิเศษถือเป็นเขตนำร่องในการปฏิรูปและเปิดกว้าง จึงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับนักลงทุนต่างชาติ มีพิธีการศุลกากรที่ไม่ยุ่งยาก และมีระเบียบข้อบังคับน้อยกว่า

ในวาระครบรอบ 40 ปีของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่ในปีนี้ สำนักสารสนเทศเทศบาลเมืองจูไห่ระบุว่า “ภายในระยะเวลา 40 ปี เมืองจูไห่กลายเป็นเมืองหนึ่งที่มีการพัฒนารอบด้านมากที่สุด ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมและนโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนามากที่สุดในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล”

การเปิดกว้างส่งผลให้เมืองจูไห่ดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น และเป็นการปลดล็อกศักยภาพในการพัฒนาเมือง โดยบริษัทที่ได้รับเงินทุนจากต่างแดนจำนวนมากต่างมาลงหลักปักฐานที่เมืองจูไห่ และบริษัทที่มีคุณภาพต่างเติบโตอย่างรวดเร็วในเมืองแห่งนี้

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Print Rite Group ที่ได้รับเงินทุนจากฮ่องกง ได้คว้าโอกาสมากมายจากเขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่ และตั้งโรงงานผลิตพรินเตอร์ในเมืองจูไห่ ในโอกาสนี้ เหอ เหลียงเหมย ประธานคณะกรรมการบริษัท Print Rite Holdings Co., Ltd. เปิดเผยว่า “เมืองจูไห่อยู่ใกล้กับฮ่องกงและมาเก๊า ทั้งยังมีค่าที่ดินและค่าจ้างแรงงานไม่สูงมาก นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ พัฒนานวัตกรรม พลิกโฉมองค์กร และยกระดับการดำเนินงาน” ปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ส่งออกสินค้าไปยังกว่า 120 ประเทศและดินแดนทั่วโลก

กลไกการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและพิธีการศุลกากรที่สะดวกสบาย ส่งผลให้เมืองจูไห่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของบริษัทข้ามชาติ โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ เมืองจูไห่ได้เซ็นสัญญาโครงการใหม่กว่า 30 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการผลิตอุปกรณ์ วัสดุใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศ และเภสัชภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เพื่อรักษาจุดแข็งในระยะยาว เมืองจูไห่ต้องเดินหน้าคงความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ด้วยการปรับปรุงและขยายสิทธิประโยชน์ที่นำเสนอให้แก่นักลงทุน ในจุดนี้ เมืองจูไห่ได้สร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่ด้วยการกระชับความร่วมมือกับมาเก๊าและเซินเจิ้น เพื่อสร้างศูนย์กลางการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทุนมนุษย์ เทคโนโลยี และเงินทุน

ขณะเดียวกัน สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ยังเชื่อมจูไห่ ฮ่องกง และมาเก๊าให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยช่วยให้การเดินทางจากจูไห่ไปยังฮ่องกงโดยรถยนต์ใช้เวลาน้อยลงมาก จาก 4.5 ชั่วโมงเหลือเพียงไม่ถึง 1 ชั่วโมง

หลังการเปิดสะพาน บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคข้ามชาติหลายแห่งต่างเข้ามาสร้างคลังสินค้าในเมืองจูไห่ บริษัทเหล่านี้พึงพอใจกับต้นทุนที่อยู่ในระดับต่ำและบริการที่มีประสิทธิภาพในเมืองจูไห่ รวมถึงศักยภาพในการเข้าถึงผู้บริหารมากความสามารถได้อย่างง่ายดาย

ติง ลี่เฉียง ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในเมืองจูไห่อันเป็นผลมาจากการสร้างสะพานดังกล่าว เขาเดินทางมายังเมืองจูไห่เพื่อจัดตั้งบริษัททำธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามแดน และยอดขายของบริษัทก็มีอัตราการเติบโตต่อปีสูงกว่า 50% ตลอดสามปีที่ผ่านมา เขาเชื่อว่าเมืองจูไห่สามารถขึ้นแท่นเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ผู้นำด้านบริการสมัยใหม่ และสะพานแห่งใหม่ที่เชื่อมตลาดจีนกับตลาดต่างประเทศ

กัว หย่งหาง เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองจูไห่ กล่าวว่า เพื่อยกระดับความร่วมมือกับมาเก๊า เมืองจูไห่ไม่เพียงให้การสนับสนุนเชิงนโยบายและขยายขอบข่ายความร่วมมือเท่านั้น แต่ยังยกระดับความพยายามในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ต่าง ๆ เพื่อสร้างขอบข่ายความร่วมมือเชิงลึกระหว่างกวางตุ้งกับมาเก๊า

เขตการค้าเสรีเหิงฉินในเมืองจูไห่ ในฐานะเขตความร่วมมือสำคัญระหว่างมาเก๊ากับจูไห่ ได้สั่งสมความสำเร็จในการพัฒนาระบบมากกว่า 440 ครั้งตลอด 10 ปีของการพัฒนา และ GDP ของเขตมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 64%

ปัจจุบัน การร่วมมือกับเมืองเซินเจิ้นช่วยกระตุ้นการเติบโตของเมืองจูไห่ “เมืองจูไห่ถ่ายโอนทรัพยากรอุตสาหกรรมจากเมืองเซินเจิ้น และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนปัจจัยระดับไฮเอนด์ระหว่างสองเมือง เพื่อสร้างระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก” คุณกัวกล่าว

ที่มา: สำนักสารสนเทศเทศบาลเมืองจูไห่

AsiaNet 85271


ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ+พิธีการศุลกากรวันนี้

"แอล ดับเบิลยู เอสฯ" ชี้ กำลังซื้อที่อยู่อาศัยทำเล EEC มาแรง

"แอล ดับเบิลยู เอสฯ" ชี้ ทำเลเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) มีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยสูง ทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย และ การลงทุน โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย ที่ 5 7% นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด (LWS) บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง ความต้องการที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมืองตาตู ประเทศเคนยา เติบโตก้าวกระโดด จ้างงานใหม่กว่า 100 ตำแหน่งสำคัญในปี 2566

เขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งอยู่ติดกับกรุงไนโรบีพร้อมสนับสนุนทีมงานที่ประกอบไปด้วยผู้บริหารจากต่างชาติและผู้เชี่ยวชาญในเคนยา ปัจจุบัน เมืองตาตูมีพนักงานกว่า 15,000 คน และเตรียมอ้าแขนรับพนักงานอีกหลายพันชีวิตในปี 2567 เมืองตาตู ...