มะเร็งปากมดลูก พบได้บ่อยสำหรับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี อย่างไรก็ดี ยังมีสตรีชาวไทยเสียชีวิตจากมะเร็งของปากมดลูกเฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 10 คน เชื้อไวรัสที่เรียกว่า HPV (Human Papilloma Virus) เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์เสี่ยงสูง จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือมีเพศสัมพันธ์ที่มีคู่หลายคนๆ และอาจมีการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นร่วมด้วย
ผศ.พญ.ดวงมณี ธนัพประภัศร์ ศัลยแพทย์มะเร็งสูตินรีเวช โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ให้รายละเอียดว่า ปัญหาที่สำคัญของผู้ที่ติดเชื้อ HPV คือ ไม่มีอาการแสดง ดังนั้น จะไม่รู้ตัวและสามารถกระจายเชื้อไวรัสไปสู่คนอื่นๆ ได้ และอาการแสดงของมะเร็งปากมดลูก ระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะเริ่มต้นของโรคนี้ จะไม่มีอาการแสดงที่ผิดปกติ แต่ยกเว้นถ้าระยะของโรคมะเร็งเป็นมากพอสมควร อาจมีอาการประจำเดือนผิดปกติ เลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ (Abnormal vaginal bleeding) การมีระดูขาวที่ผิดปกติมีกลิ่นเหม็น หากกระจายไปยังอวัยวะอื่น อาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือดได้ ดังที่กล่าวมาแล้วว่าระยะก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งที่เพิ่งเริ่มเป็นอาจจะไม่มีอาการและการรักษาทำได้ มีโอกาสที่จะหายขาดได้
วิธีที่จะทราบได้คือ การมารับการตรวจภายใน เพื่อเอาเซลล์จากปากมดลูกมาตรวจที่เรียกกันว่า ตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) และถ้าตรวจร่วมกับการหาเชื้อไวรัส HPV(HPV DNA Test) จะทำให้ได้รับความชัดเจนเพิ่มขึ้น หากผลผิดปกติต้องตรวจด้วยการส่องกล้องขยายดูปากมดลูก (Colposcopic examination) เพื่อค้นหาบริเวณที่ผิดปกติ และจะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติ วางแผนการตรวจเพื่อบอกระยะของโรคและวางแผนการรักษาได้ถูกต้อง สำหรับการรักษาระยะเริ่มต้นอาจจะรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (Therapeutic conization) การตัดมดลูกพร้อมๆ กับเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองออก (Radical hysterectomy with pelvic lymphadenectomy) ผู้ป่วยบางรายต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยรังสีรักษา การฉายรังสีด้วยเครื่องฉายรังสี (Teletherapy) และการใส่แร่ (Brachy-therapy) บางรายพิจารณารักษาร่วมกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Concurrent Chemo-Radiation treatment) การรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างเดียวใช้ในกรณีที่มะเร็งกระจายไปมากพอควร ซึ่งไม่สามารถให้รังสีรักษาหรือทำการผ่าตัดได้
มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้หากสตรีทุกท่านใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี และสามารถฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ก็สามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้อย่างน้อย 70 % และถ้าร่วมกับการตรวจ Pap Smear และค้นหา High Risk HPV DNA เป็นประจำตามที่แพทย์แนะนำ จะสามารถป้องกันมะเร็งของปากมดลูกได้
BDMS Wellness Clinic ผนึกโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ส่ง "เสียง" จากความใส่ใจ สร้างความตระหนักรู้ถึงโรคมะเร็งเต้านม พร้อมส่งมอบการดูแลแบบครบองค์รวม 360? ผ่านโปรแกรม Breast Cancer Healing บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน จับมือโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จัดงาน "Voice of Care for Breast Cancer 'เสียง' จากความใส่ใจ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม" เดินหน้าสร้างความตระหนักรู้เรื่องการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต
BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ...
BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น
—
แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพ...
BeDee ร่วมกับ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ เปิดตัวตู้ We Care Your Selfcare จากแนวคิด Health & Convenient
—
BeDee แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่ช่วยให้คุณ...
โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ MOU สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมพัฒนางานวิจัยและยกระดับพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
—
โรงพยาบาลมะเร็งก...
แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวนด์ ราคา 3,500 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2565
—
เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์ป้องก...
Be Well Medical Center จับมือ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ขยายความร่วมมือทางการแพทย์ ช่วยตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในกลุ่ม Expat
—
Be Well Med...
ตรวจสุขภาพปอด ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ (Low - dose Chest CT Scan) ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคม 2565
—
เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก อย่ารอให...