ก.ล.ต. เปิดเผยว่าได้ประสานไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (free float) ของบริษัทจดทะเบียนให้สามารถซื้อขายได้อย่างคล่องตัวในราคาที่เหมาะสม และพิจารณาทบทวนมาตรการขึ้นเครื่องหมายเตือนผู้ลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นที่มี free float ต่ำ รวมถึงมาตรการอื่นใด เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า หลักเกณฑ์ free float เป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งหลักเกณฑ์ข้างต้นมีความสำคัญอย่างมากต่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และยังเป็นหนึ่งในหลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับดัชนี SET50 ดัชนี SET100 และดัชนี SETHD อีกด้วย อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 จึงเห็นว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ควรพิจารณาทบทวนว่าหลักเกณฑ์ข้างต้นยังสามารถสะท้อนการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างแท้จริงอยู่หรือไม่ เนื่องด้วยสภาวะตลาดปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป
จากตัวอย่างกรณีของราคาหุ้น DELTA ที่ในช่วงที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ประสาน
ไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ติดตามสภาวะการซื้อขายของหลักทรัพย์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนและป้องกันการบิดเบือนราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ให้ผิดไปจากสภาพปกติ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 แล้วนั้น ก.ล.ต. พบว่าปัจจัยหนึ่งเป็นผลจากหุ้น DELTA มี free float ที่แท้จริงค่อนข้างต่ำ ประกอบกับราคาซื้อขายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบันยังไม่เข้าข่ายมีการขึ้นเครื่องหมายเตือนเพื่อให้ผู้ลงทุนระมัดระวังในการตัดสินใจลงทุน ดังนั้น ก.ล.ต. จึงได้ขอให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ free float และมาตรการขึ้นเครื่องหมายเพื่อเตือนผู้ลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็วของหุ้นที่มี free float ต่ำ รวมถึงมาตรการอื่นใดที่จะช่วยคุ้มครองผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน
"การกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและเกิดความเป็นธรรม เป็นมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เสนอทบทวนหลักเกณฑ์ รวมถึงมาตรการต่าง ๆ แล้ว ก.ล.ต. จะเร่งนำแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป" เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมแถลงความร่วมมือและความสำเร็จของโครงการ DIF Web Portal เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 29 มิถุนายน 2566 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โครงการนี้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. โดยมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มศักยภาพให้กับตลาดทุนไทย สร้างความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมให้ตลาดทุนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และโครงการดังกล่าวได้ถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย
Merkle Capital แต่งตั้ง ธนลภย์ ปรีดามาโนช นั่งเก้าอี้ ผู้จัดการเงินทุน
—
Merkle Capital แต่งตั้ง ธนลภย์ ปรีดามาโนช ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการเงินทุน เสริมความแ...
'เอ็นทีเอฟ อินเตอร์กรุ๊ป' ยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. เสนอขายหุ้น IPO 60 ล้านหุ้น
—
ขยายวอลุ่มส่งออกทุเรียนและผลไม้พรีเมียม ต่อยอดธุรกิจหนุนการเติบโตยั่งยืน "เอ็นที...
"KuCoin Thailand" เปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลัง ERX รีแบรนด์ พร้อมพลิกโฉมวงการสินทรัพย์ดิจิทัลไทย
—
บริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด ("ERX") ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อข...
ก.ล.ต. ร่วม Meta และ Facebook ประเทศไทย เสริมสร้างการปกป้องแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญา
—
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศ...
Bitkub Exchange ประกาศลิสต์ Summer Point Token (SUMX)เปิดโอกาสลงทุนอสังหาริมทรัพย์ผ่าน Tokenization
—
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกั...
TDO จับมือ KPMG เปิดหลักสูตร Digital Asset Director เสริมแกร่งผู้นำองค์กร สร้างการเติบโตรับยุคสินทรัพย์ดิจิทัล
—
สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทั...