บริษัท บีสโปค ไลฟ์ ไซเอนซ์ จำกัด ("บีสโปค") ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนในกลุ่มบริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมสามฝ่าย (MOU) แล้วเสร็จ
วัตถุประสงค์ของการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมสามฝ่ายในครั้งนี้ คือการสร้างความร่วมมือเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ยา สารสกัด เครื่องสำอาง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้กัญชาและกัญชงเป็นส่วนประกอบ โดยบันทึกความเข้าใจร่วมสามฝ่าย จะครอบคลุมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ยาแพทย์แผนไทย รวมถึงสินค้าอุปโภคและบริโภคทั่วไป ที่จะมีกัญชาและกัญชงเป็นส่วนประกอบร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้พืชกัญชาเพื่อสุขภาพของไทย ทั้งนี้ สินค้าและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะนำไปใช้ในโครงการศูนย์สุขภาพรูปแบบใหม่ ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท บีสโปค
การลงนามนี้ต่อยอดจากการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (RMUTL) ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดยใบอนุญาตจาก อย. ดังกล่าว ทำให้สามารถนำเข้าสายพันธุ์กัญชาได้ถึง 41 สายพันธุ์ จำนวน 398 เมล็ด และปลูกกัญชาเพื่อศึกษาวิจัย คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดที่จะพัฒนามาเป็น "สายพันธุ์ต้นแบบ" เพื่อใช้สำหรับการปลูกกัญชาต่อไป
นาย ปรับ ทักราล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมสามฝ่ายถือเป็นอีกก้าวสำคัญของบีสโปค ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห่วงโซ่คุณค่าของเราจะเสร็จสมบูรณ์และพร้อมสำหรับการศึกษาวิจัยและพัฒนา การเพาะปลูก และการผลิตยาแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่น ๆ รวมถึงการจัดจำหน่ายในลำดับต่อ ๆ ไป โดยเราวางกลยุทธ์การส่งผลิตภัณฑ์สุขภาพจากกัญชาและกัญชงสู่คลินิกที่ทันสมัยและศูนย์สุขภาพของเรา ที่จะเปิดตัวในต้นปี 2565 ที่จะถึงนี้"
"หลังจากทำการวิจัยตลาดอย่างลึกซึ้ง เราได้เล็งเห็นความต้องการของคลินิกด้านสุขภาพแบบใหม่ ที่ผลักดันการใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยในรูปแบบที่ทันสมัย เพื่อการมีสุขภาพดีตามธรรมชาติ โดยเรามีแผนที่จะขยายธุรกิจเพื่อสุขภาพนี้ไปยังโครงการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของเรา และเรามุ่งหวังจะตอบสนองต่อเทรนด์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นคลื่นลูกใหม่ที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้" นาย ปรับ ทักราล กล่าวเสริม
ผศ. ดร. สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวเกี่ยวกับการลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ ว่า "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานความร่วมมือโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและแปรรูปกัญชงและกัญชาเพื่อการแพทย์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และบริษัท บีสโปค ไลฟ์ ไซเอนซ์ จำกัด เรามีความมุ่งมั่นและมั่นใจที่จะผลิตวัตถุดิบกัญชงและกัญชาที่มีคุณภาพ ที่สามารถต่อยอดสู่การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย"
ดร. สุรพล ใจวงศ์ษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า "การลงนามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของเราในการสานต่อและขยายขอบเขตการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อการวิจัยและพัฒนา การเพาะปลูก และการผลิตผลิตภัณฑ์ยาแพทย์แผนไทย ที่มีพืชกัญชาและกัญชงเป็นส่วนประกอบหลัก เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ลงนามสามฝ่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี และมั่นใจว่าเราจะประสบความสำเร็จและสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ร่วมกับบริษัท บีสโปค ได้อย่างแน่นอน"
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจจัดขึ้นทางออนไลน์ผ่านการประชุมทางวิดีโอ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 พร้อมทำตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมเนื่องจากกฎระเบียบการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยมี ผศ. ดร. สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดร. สุรพล ใจวงศ์ษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ นาย ปรับ ทักราล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจสามฝ่ายแล้วเสร็จสมบูรณ์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริษัท บูทิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท บีสโปค ไลฟ์ ไซเอนซ์ จำกัด ติดต่อ [email protected]
หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หน่วยวิจัยดีเด่นประจำปี 2566 และ 2567 มีเป้าหมายในการวิจัยนวัตกรรมวัสดุรักษ์โลกในทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและส่งเสริมนโยบายลดการเผา คิดค้น "กระถางย่อยสลายได้จากวัสดุชีวมวล" สำหรับใช้เพาะชำไม้ดอก ไม้ประดับ รวมถึงกล้าไม้อื่น ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุที่เหลือทิ้งทางการเกษตร ผลงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชุม คำพุฒ นักวิจัยอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
มทร.ธัญบุรี สร้างสรรค์ "คลีนบิวตี้" นวัตกรรมชะลอวัย จากอะโวคาโด ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จุดประกายผู้ประกอบการ
—
จากอะโวคาโดเหลือทิ้ง สู่ครีมบำรุงผิวหน้าสุดล้ำ ฝี...
มทร.ธัญบุรี เผยความพร้อมก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยืนยันไม่ขึ้นค่าเทอมนักศึกษา
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโ...
คณะศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ สุดยอดคว้าถ้วยรางวัลพระราชทาน กรมสมเด็จพระเทพฯ 2 ปีซ้อน
—
รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเท...
มทร.ธัญบุรีไม่ห่วงเด็กเข้าใหม่ลดลง
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...
'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
—
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...
มทร.ธัญบุรีประชุมวิชาการพัฒนาบุคลากร
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานการประช...
มทร.ธัญบุรี เดินเกมส์รุกเปิดสาขาวิชาใหม่
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ...
เปิดประตูราชมงคลธัญบุรี
—
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม "...