4 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจโตช้า กับ 4 ปัจจัยเร่งฟื้นตัวปีหน้า Slow But S.U.R.E.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า จากการระบาดของโควิด -19 ระลอก 3 ที่มีแนวโน้มยาวนาน ประกอบกับการฉีดวัคซีนล่าช้า หรือวัคซีนยังมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ มีผลต่อเนื่องให้การระบาดของโควิด-19 ระลอกอื่นๆ กำลังจะเกิดขึ้นตามมา

4 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจโตช้า  กับ 4 ปัจจัยเร่งฟื้นตัวปีหน้า Slow But S.U.R.E.

ขณะเดียวกัน ไวรัสกลายพันธุ์ และปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดโลก สำนักวิจัยฯ จึงได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 ลงจาก 1.9% เหลือ 1.3% และปี 2565 ลงจาก 5.1% เหลือ 4.2% 4 ปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจโตช้า  กับ 4 ปัจจัยเร่งฟื้นตัวปีหน้า Slow But S.U.R.E.

นอกจากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตช้า (Slow) ยังเผชิญ 4 ปัจจัยเสี่ยงเสริมเข้ามา ได้แก่ 1. Stagnant 2. Uneven 3. Reverse 4. Effective จึงขอเรียกเศรษฐกิจไทยช่วงนี้ว่า Slow But S.U.R.E.

S = Stagnant นิ่ง เพราะการใช้จ่ายที่ ซึมและนิ่ง
การบริโภคภาคเอกชนโตช้า จากความมั่นใจที่อยู่ระดับต่ำ คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย จากความระมัดระวัง การเดินทางในประเทศยังซึม เพราะขาดความมั่นใจ และการแพร่ระบาดที่สูง

U = Uneven ความไม่เท่าเทียม การฟื้นตัวในระดับที่ต่างกัน
กลุ่มคนรายได้น้อย กลุ่ม SME กลุ่มคนประกอบอาชีพอิสระ ฟื้นตัวช้า ขณะที่มนุษย์เงินเดือน กลุ่มคนทำงานภาคอุตสาหกรรม ฟื้นตัวตามตลาดโลก ตามภาคการส่งออก ส่วนภาคการผลิต ฟื้นตัวได้มากกว่าภาคบริการ สำหรับประเทศไทยในภาพรวม ฟื้นตัวตามการส่งออก ได้มากกว่าอุปสงค์ในประเทศ

R = Reverse กลับด้าน การเปลี่ยนมุมมองด้านโลกาภิวัตน์ (reversed globalization)
สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทวีความกดดันขึ้นอีกครั้ง หลังเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ G7 ร่วมมือกันกดดันจีน ไม่ให้จีนเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่แทนที่สหรัฐ และขยับจากสงครามการค้ารูปแบบภาษี เป็นกดดันการเติบโตทางเทคโนโลยีของจีน อีกทั้งขีดเส้นให้ชาติอื่นๆ ต้องเลือกข้าง ระหว่างสหรัฐ ชาติพันธมิตรสหรัฐ หรือจีน ส่งผลให้ประเทศตลาดเกิดใหม่ เผชิญปัญหาต้นทุนการผลิต ต้นทุนทางเทคโนโลยีสูงขึ้น เรามองว่า ประเทศไทยต้องระมัดระวัง ไม่เลือกข้าง และควรสานสัมพันธ์ความร่วมมือกับทั้ง 2 ชาติ มหาอำนาจ

E = Effective ประสิทธิภาพของวัคซีน
การวางแผนฉีดวัคซีนให้ถึง 100 ล้านโดส สิ่งที่ต้องติดตามเพิ่มเติมคือ วัคซีนที่เราได้รับวันนี้ สามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่ และหากฉีดครบ 2 โดสแล้ว จำเป็นต้องฉีดโดสที่ 3 ที่ 4 หรือโดสอื่นๆ เพื่อกระตุ้นต่อเนื่องไหม เราจึงอยากเห็นการวางแผนเพิ่มเติมในจุดนี้ รวมถึงเร่งดำเนินการเชิงรุกในการกระจายความเสี่ยงของชนิดวัคซีน เพราะนอกจากมีความสำคัญทางการแพทย์ วัคซีนยังมีผลต่อเศรษฐกิจด้วย วัคซีนสะท้อนความเชื่อมั่นของคน หากคนไม่มั่นใจในประสิทธิภาพ แม้ฉีดแล้วยังไม่กล้าเดินทาง หรือยังถอดหน้ากากไม่ได้ เดิมคาดว่ากิจกรรมเศรษฐกิจจะกลับมาเปิดได้ในเดือนสิงหาคมนี้ อาจถูกเลื่อนออกไป

"4 ข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ ปีหน้า โตช้า กว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นพาเศรษฐกิจไทยกลับไปสู่ภาวะวิกฤต" ดร.อมรเทพ กล่าว

อย่างไรก็ดี ยังมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นเร็วกว่าที่คาด หากมี 4 ปัจจัยเร่ง ได้แก่ 1. Confidence 2. Agriculture 3. Return of tourists 4. Expenditure

C = Confidence สร้างความเชื่อมั่น หากมีการเร่งฉีดวัคซีนโดยเร็ว ควบคู่ไปกับเอกชนเข้าถึงวัคซีนทางเลือกรวดเร็ว คนจะกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง

A = Agriculture ฟื้นแรงงานภาคเกษตร หลังปิดกิจกรรมเศรษฐกิจ คนย้ายถิ่นฐานกลับบ้าน หากเร่งการฟื้นตัวของแรงงานกลุ่มนี้โดยเสริมการจ้างงานในชนบทให้สร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำและป้องกันน้ำท่วมได้ จะยิ่งเป็นแรงหนุน เพราะเป็นโชคดีที่รายได้ภาคเกษตรปีนี้ถือว่าดี จากราคาที่สูงและผลผลิตมาก

R = Return of Tourists เตรียมแผนรับนักท่องเที่ยวปีหน้า เร่งทำ Bubble Tourism กับต่างประเทศเพื่อลดการกักตัวสำหรับผู้ได้รับวัคซีน แม้ปีนี้เราจะเตรียมความพร้อมและทดลองผ่าน Sandbox แต่ปีหน้าหลังมีวัคซีนที่ดีพร้อม เราจะสามารถมีรายได้การท่องเที่ยวเป็นตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจได้

E = Expenditure เร่งการใช้จ่ายภาครัฐให้ตรงจุด บรรเทาปัญหาแรงงานด้วยการเร่งประกันสังคมชดเชยรายได้ ดูแล SME ให้สามารถจ่ายเงินเดือนพนักงาน มีค่าชดเชยรายได้ที่หาย หรือเครดิตเงินคืนภาษีในปีต่อๆไป พร้อมเร่งอัดฉีด Soft Loan เสริมสภาพคล่องไม่ให้ธุรกิจต้องปิดตัว หากรัฐกังวลหนี้ชนเพดาน ก็ให้หาทางเพิ่มรายได้ เช่นปล่อยเช่าทรัพย์สิน หรือใช้ตลาดทุนในการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจบางส่วน แล้วพอเศรษฐกิจฟื้นมีรายได้ค่อยมาซื้อคืน

"ทั้ง 4 ปัจจัยนี้ สร้างความเชื่อมั่น เตรียมแผนล่วงหน้า คู่ขนานไปกับงบประมาณใช้จ่ายภาครัฐ จะช่วยประคองกำลังซื้อของคนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ในปีหน้า" ดร.อมรเทพ กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวอมรเทพ จาวะลา+เศรษฐกิจไทยวันนี้

CIMB Thai หนุนบริษัทไทย ฝ่าคลื่นอนาคต เกาะกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี 2567 'Navigating the Future : A Holistic Approach to Global Economic Dynamics' ให้ลูกค้าธุรกิจ พันธมิตร และบริษัทขนาดใหญ่ เริ่มจาก พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเปิดงาน กระตุ้นให้ผู้ร่วมงานทุกคนสอบถามสิ่งที่อยากรู้ และเก็บเกี่ยวข้อมูลให้เต็มที่ทั้งจากวิทยากร ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ CIMB Thai ทุกคนในงาน วิทยากรคนแรก ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า โจทย์

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใ... จับตา Currency War 3.0 สงครามค่าเงินรูปแบบใหม่ — ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ...

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใ... สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดมุมมองเศรษฐกิจ "ห่วงปีนี้เผาหลอก ปีหน้าเผาจริง!" — ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย แ...

คุณพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และ... ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จัดงานเสวนา The Cooler Earth: Sustainability Summit 2022 — คุณพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณประภา...

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใ... เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 เตรียมตั้งรับ 6 ปัจจัยเสี่ยง มีหมอกปกคลุมทั่วฟ้า ท่ามกลาง PERFECT STORM — ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักว...

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใ... เศรษฐกิจไทยได้ประโยชน์เพียงไรจากเงินบาทที่อ่อนค่า — ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ...

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใ... เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองรุมเร้าด้วยปัจจัยเสี่ยง แต่เห็นโอกาสขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสแรก — ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และ...