การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือน และต้นทุนการผลิตที่ลดลงตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตัวเลขการส่งออกของไทยเติบโต โดยในเดือนพฤษภาคม 64 มูลค่าการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นถึง 41.59% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ขณะที่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ค่อนข้างล่าช้าทำให้ผู้ลงทุนเกิดความกังวลเกี่ยว กับการกลับมาเปิดประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอาจต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ในช่วงต้นปี
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 SET Index ปิดที่ 1,587.79 จุด ลดลง 0.4% จากสิ้นเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ดัชนีปรับเพิ่มขึ้น 9.6% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index ได้แก่กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์บางกลุ่มที่สูงกว่าผลการดำเนินงานในอดีตค่อนข้างมาก ซึ่งผู้ลงทุนควรพิจารณาข้อมูลพื้นฐานเป็นรายหลักทรัพย์และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
- ในเดือนมิถุนายน 2564 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 642,603 สัญญา เพิ่มขึ้น 7.6% จากเดือนก่อน สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ Single Stock Futures
ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม 3.4% และในปี 2567 อยู่ที่ 3.2% จากเดิม 3.6% สาเหตุหลักมาจากการเติบโต GDP ในไตรมาส 2/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ล่าช้าและการส่งออกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี IMF คาดว่าสถานการณ์ของไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2566 ผู้ลงทุนมีความกังวลจากการปรับ
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนธันวาคม 2565
—
แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อีกทั้งความเสี่...
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2565
—
จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลายประเทศเผชิญกับภาวะ...
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมีนาคม 2565
—
ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาก และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์...
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกุมภาพันธ์ 2564
—
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับเพิ่มข...
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤศจิกายน 2563
—
ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวดีขึ้นจากปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ การชนะเลือ...
“สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายน 2563”
—
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 SET Index ปิดที่ 1,237.04 จุด ลดลง 5.6% จากเดือนก่อน โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผ...
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม 2563
—
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,310.66 จุด ปรับลดลง 1.3% จากเดือนก่อน โดยมีหลายปัจจัยที่...