วิจัยไทยพบ "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำรัฐสูญเสีย 2.7 ล้านบาทต่อคน เพิ่มโอกาสสูบบุหรี่มวน 3.5 เท่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นักวิจัยไทยเผยผลวิเคราะห์ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ที่รัฐบาลต้องจ่ายเพิ่มให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กรณีป่วยด้วยภาวะอิวาลีต่อ 1 คน สูงถึง 2.7 ล้านบาท ในกรณีผู้ชายที่เริ่มสูบตั้งแต่อายุ 15 ปี ส่วนผู้หญิงเสียน้อยกว่าราว 1 แสนบาท ขณะที่ค่ารักษาอิวาลีในโรงพยาบาลต่อคนต่อวันสูงถึง 35,000 บาท ยังพบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มการสูบบุหรี่มวลถึง 3.5 เท่า

วิจัยไทยพบ "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำรัฐสูญเสีย 2.7 ล้านบาทต่อคน เพิ่มโอกาสสูบบุหรี่มวน 3.5 เท่า

รศ.ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ หัวหน้าโครงการวิจัย "การประเมินต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากบุหรี่ไฟฟ้า Economic cost of e-cigarette ปี 2563" สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลการศึกษาด้วยการจำลองฐาน ข้อมูลถึง ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่รัฐบาลไทยต้องเสียเพิ่มให้กับประชาชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อผู้สูบ 1 คน บนสมมติฐาว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสเกิด electronic-cigarette or, vaping product use-associated lung injury (EVALI) หรือ อิวาลี และการสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเพิ่มโอกาสให้หันไปสูบบุหรี่มวนเพิ่มขึ้น 3.5 เท่า ซึ่งการสูบบุหรี่มวนจะเพิ่มความเสี่ยงโรค 4 ชนิด ได้แก่ โรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น พบว่า เด็กผู้ชาย 1 คน ที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุ 15 ปี ที่เกิดอาการเจ็บป่วย เดินทางเข้ารักษาในโรงพยาบาล เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเสียชีวิต จากโรคต่างๆ ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียแรงงานวัยทำงาน เฉลี่ยแล้วมีต้นทุน เพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 2,637,414 บาท โดยต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่รัฐต้องจ่ายให้ประชากร เพศชายที่ไม่สูบบุหรี่ 1 คนอยู่ที่ 1,090,896 บาท แต่หากสูบุหรี่ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 3,728,309 บาท วิจัยไทยพบ "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำรัฐสูญเสีย 2.7 ล้านบาทต่อคน เพิ่มโอกาสสูบบุหรี่มวน 3.5 เท่า

ส่วนผู้หญิงที่เริ่มสูบตั้งแต่อายุ 15 ปีเช่นกัน จะมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่รัฐต้องเสียเพิ่ม ต่อคนราว 103,522 บาท โดยต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่รัฐต้องจ่ายให้ประชากรเพศหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ 1 คน อยู่ที่ 412,409 บาท แต่หากสูบุหรี่ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 515,931 บาท อย่างไรก็ตามต้นทุนที่เกิดขึ้นในประชากรหญิง มีค่าต่ำกว่าประชากรเพศชาย เนื่องจากสมมติฐานการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มโอกาสของการเป็นผู้สูบบุหรี่มวน ในอนาคต ประชากรเพศหญิงมีความน่าจะเป็นในการเป็นผู้สูบบุหรี่ต่ำกว่าเพศชาย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลโรคอิวาลีในโรงพยาบาลของรัฐเฉลี่ยต่อวันต่อคนอยู่ที่ 35,104 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่เกิดจากบุหรี่มวน เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่ที่ 9,488.22 บาท หลอดเลือดสมอง 15,173.89 บาท มะเร็งปอด 18,573.22 บาท และ หัวใจและหลอดเลือด 37,926.91 บาท

รศ.ดร.ภญ.มนทรัตม์ กล่าวต่ออีกว่า ผลการประเมินต้นทุนในครั้งนี้ยังต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจาก ไม่ได้รวมต้นทุนค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนของ informal care และหากเป็นการจำลองข้อมูลสูบบุหรี่ไฟฟ้าตลอดชีวิต คาดว่ามูลค่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่รัฐต้องจ่ายต่อ 1 คน จะมากกว่า 2.63 ล้านบาท เพียงแต่บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ยังไม่มีข้อมูลระยะยาวมาเปรียบเทียบ หากในอนาคตมีข้อมูลว่าบุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดโรคต่างๆ เท่ากับบุหรี่มวน ก็จะสามารถนำข้อมูลนั้นมาเทียบเคียง เพื่อประเมินได้

"งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยกระตุ้นและย้ำเตือนว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียแค่เฉพาะ ตัวเองอีกต่อไป แต่เป็นความเสียหายของประเทศชาติด้วย และการที่การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล มาตรการและนโยบายที่ป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ จึงมีความสำคัญ และช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก" หัวหน้าโครงการวิจัยการประเมินต้นทุน ทางเศรษฐศาสตร์จากบุหรี่ไฟฟ้า ฯ ระบุ


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+คณะเภสัชศาสตร์วันนี้

มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ มอบรางวัลอายิโนะโมะโต๊ะอวอร์ด แก่นักวิจัยดีเด่นด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ นำโดย ธีระชัย ขันธิกุล กรรมการ รองเลขาธิการ และผู้ช่วยรองเหรัญญิก มอบโล่รางวัล Ajinomoto TSB สำหรับนักเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความโดดเด่น ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เน้นด้านสุขภาพและการแพทย์ ประจำปี 2566 พร้อมทุนสนับสนุนงานวิจัยมูลค่า 100,000 บาท ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ สังกัด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่อง การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ... เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568 — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...