เมื่อแสงแดดในชีวิตประจำวันอันตรายกว่าที่คิด และผิวของเจ้าตัวน้อยมีความบอบบางและอ่อนโยนกว่าผิวของผู้ใหญ่ การทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากปล่อยให้ลูกน้อยสัมผัสกับแสงแดดนานๆ รังสีอัลตราไวโอเลตอาจเป็นตัวการทำให้ผิวหมองคล้ำ เกิดรอยไหม้จากแสงแดด มีริ้วรอยที่ผิวหนัง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นการทาครีมกันแดดเป็นประจำ เมื่อต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงจึงช่วยปกป้องผิวและทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพผิวที่ดีได้
พญ.ลิลรฎา อนันตรัมพร กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในชีวิตประจำวันที่ต้องเจอแสงแดดเป็นประจำ ถ้าไม่มีการป้องกันหรือดูแลผิวให้ดี แสงแดดอาจจะทำอันตรายต่อผิวได้ โดยเฉพาะลูกน้อย การทาครีมกันแดดจึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึง อายุที่เหมาะจะให้ลูกน้อยทาครีมกันแดดควรเริ่ม ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนเพราะผิวเด็กจะบอบบางมาก อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคือง และมีการดูดซึมสารเคมีเข้าสู่ผิวได้ แต่ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน วิธีกันแดดที่ปกป้องผิวจากแสงแดดได้มากที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการตากแดดโดยเฉพาะช่วงเวลาที่แดดแรงจัด คือ 10.00 - 16.00 น. หรือถ้าจำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมที่โดนแดด ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด และกางร่ม
ครีมกันแดดที่ใช้กับเด็ก ควรเป็นครีมกันแดดสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้ลูกได้รับสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ควรเลือกครีมกันแดดชนิดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป นอกจากนี้หากครีมกันแดดเป็นชนิดกันน้ำจะเพิ่มประสิทธิภาพในการกันแดดได้มากยิ่งขึ้น โดยในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน สามารถใช้ครีมกันแดดที่ทำจากสารประเภท Physical Sunscreen ที่ทำหน้าที่สะท้อนรังสี UV ออกจากผิวหนังได้ทันที ในส่วนผสมของสาร Physical Sunscreen นี้ไม่ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังและปลอดภัยสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควรสังเกตข้างฉลากมักมีส่วนประกอบของซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) และไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) เป็นหลัก เนื่องจากแต่ละผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน แนะนำให้อ่านฉลากกำกับทุกครั้งก่อนการใช้
แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีอาการแพ้สารเคมีในครีมกันแดด โดยสามารถสังเกตุอาการของลูกน้อยได้ หากมีอาการ ผิวแห้ง ระคายเคือง มีผื่นขึ้น มีการคันมากร่วมด้วย ตำแหน่งการเกิดผื่นมักจะเป็นบริเวณที่ทาสารที่มีฤทธิ์ระคายเคือง ถ้าลูกน้อยมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบกุมารแพทย์เพื่อทำการรักษา อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้ลูกน้อยหงุดหงิด และไม่สบายตัว อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและพัฒนาการไม่สมวัยได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับผิวลูกน้อย เพื่อที่เขาจะได้มีสุขภาพดีไปอีกนาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์กุมารเวช รพ.กรุงเทพ โทร.1719 หรือ แอดไลน์ @bangkokhospital
หูดข้าวสุกเป็นโรคที่สามารถพบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก และเป็นโรคที่สามารถหายเองได้ แต่ถ้าเกิดกับเจ้าตัวเล็กแล้วก็สร้างความรำคาญได้ไม่น้อย ยิ่งไปกว่านั้นยังติดต่อได้ง่ายหากไม่มีการป้องกันให้ดี พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรใส่ใจและดูแลเจ้าตัวเล็กให้ถูกวิธีและถูกสุขอนามัย พญ.ลิลรฎา อนันตรัมพร กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ตัวโรคมีชื่อเรียกว่า Molluscum Contagiosum หูดข้าวสุก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตระกูล Molluscipox Genus มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 3 12
เด็กป่วย ยิ้มได้...สุขสันต์หรรษา "วันเด็ก" ปี 2567 ณ โรงพยาบาลลานนา
—
เด็กป่วย ยิ้มได้...สุขสันต์หรรษา "วันเด็ก" ปี 2567 ณ โรงพยาบาลลานนา.วันที่ 13 มกราคม...
โรงพยาบาลลานนา จัดการอบรมวิชาการ เรื่อง "การดูแลและรักษาโรคชัก.. ในเด็กและผู้ใหญ่"
—
โรงพยาบาลลานนา จัดการอบรมวิชาการ เรื่อง "การดูแลและรักษาโรคชัก.. ในเด...
วันเด็กไม่SAD ..พี่ๆพยาบาล มอบของขวัญวันเด็กให้ถึงห้อง
—
วันเด็กไม่SAD ..พี่ๆพยาบาล มอบของขวัญวันเด็กให้ถึงห้องสุขสันต์หรรษา "วันเด็ก" ปี 2566 ณ โรงพยาบาล...
Hospital Kindergarten Group เตรียมความพร้อมก่อนเข้าอนุบาล สำหรับเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
—
สำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เด็กออทิสติก เด็ก...
กุมารแพทย์ CHG ห่วง เด็กติดโควิด-19 เพิ่ม แนะเร่งฉีดวัคซีนป้องกัน
—
กุมารแพทย์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ แนะนำ ผู้ปกครองเร่งพาบุตรหลานวัยต่ำกว่า 12 ปี...
ตรวจค้นหาศักยภาพเด็ก พัฒนาอัจฉริยภาพสู่ความสำเร็จ
—
ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าใจในศักยภาพที่แฝงอยู่ในสมองของลูกได้ จะทำให้ลูกได้ค้นพบตัวตนและหาพรสวรรค์ที่...
EKH ส่งซิกครึ่งปีหลังแนวโน้มธุรกิจสัญญาณดี วิกฤติโควิด-19 หนุนผู้ป่วยเข้าใช้บริการเต็มพื้นที่
—
EKH ส่งซิกครึ่งปีหลังแนวโน้มธุรกิจสัญญาณดี วิกฤติโควิด-19 ...