ผลการวิจัยใหม่ที่นำเสนอวันนี้ที่งานยูอีจี วีค (UEG Week) ประจำปี 2565 พบว่า การรับประทานอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอุดมไปด้วยไฟเบอร์ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และโพลิฟีนอล มีความสัมพันธ์กับอัตราการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและอัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะแพร่กระจาย
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า อาหารลักษณะนี้จะมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จของการทำภูมิคุ้มกันบำบัด โดยขณะนี้กำลังขยับขยายการทดลองเพื่อศึกษาผลลัพธ์กับเนื้องอกประเภทต่าง ๆ รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจากน้ำมันมะกอก ถั่ว และปลา โพลิฟีนอลและไฟเบอร์จากผัก ผลไม้ และโฮลเกรน ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตอบสนองที่เพิ่มขึ้นต่อยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่เรียกว่าตัวยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune Checkpoint Inhibitor หรือ ICI) ยากลุ่ม ICI นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีกับการนำไปรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมา โดยยับยั้งเช็คพอยต์ในระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นก็สั่งให้ทีเซลล์ของร่างกายเข้าโจมตีมะเร็ง
การวิจัยใหม่นี้ดำเนินการในศูนย์วิจัยหลายแห่งโดยมีนักวิจัยจากสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้เก็บข้อมูลการรับประทานอาหารของผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะแพร่กระจายจำนวน 91 คน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการรักษาด้วยยา ICI และติดตามความคืบหน้าด้วยการตรวจภาพรังสีตามปกติ
อาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนมีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับอัตราการตอบสนองโดยรวม เช่นเดียวกับอัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบในช่วงเวลา 12 เดือน
ลอรา โบลท์ (Laura Bolte) ผู้นิพนธ์งานวิจัยดังกล่าว ซึ่งเป็นนักศึกษาดุษฎีบัณฑิตในการดูแลของศ.รินซ์ เวียร์สมา (Rinse Weersma) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า "ยา ICI ได้ช่วยพลิกโฉมแนวทางรักษามะเร็งระยะแพร่กระจายประเภทต่าง ๆ งานวิจัยของเราย้ำให้เห็นความสำคัญในการประเมินการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เริ่มรับการรักษาด้วยยา ICI และหนุนบทบาทในการวางแผนรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มผลลัพธ์และการอยู่รอดให้ผู้ป่วย"
งานวิจัยดังกล่าวยังพบว่า การรับประทานโฮลเกรนและพืชตระกูลถั่วยังช่วยลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันอันเป็นผลจากยาด้วย เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบ และในทางกลับกัน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งมีความเชื่อมโยงกับโอกาสที่มากขึ้นในการเกิดผลข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์กับภูมิคุ้มกัน
คุณลอรา โบลท์ กล่าวเสริมว่า "ความสัมพันธ์ของการตอบสนองจากยา ICI ต่ออาหารและจุลินทรีย์ในลำไส้ แสดงให้เห็นอนาคตที่ทั้งสดใสและน่าตื่นเต้นในการเพิ่มการตอบสนองต่อการรักษา โดยขณะนี้กำลังมีการทดลองทางคลินิกเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการรับประทานอาหารไฟเบอร์สูง อาหารแบบคีโตเจนิก และเสริมโอเมก้า 3 ทุกวันนี้ การรักษาด้วยยา ICI กำลังขยับขยายให้ครอบคลุมเนื้องอกประเภทต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร การวิจัยเหล่านี้จึงอาจช่วยปลดล็อกสรรพคุณในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวนมากในอนาคต"
APCO เปิดตัว Quickest ByeByeHIV เป็นโครงการ CSR ภายใต้การสนับสนุนผ่านมูลนิธิ "พอ" ชูนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัด ByeByeHIV ทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV แข็งแรงและตรวจไม่พบเชื้อภายใน 6 เดือน ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ APCO เจ้าของธุรกิจนวัตกรรมธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงาม ด้วยการวิจัย พัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายครบวงจร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เปิดเผยว่า โครงการ Quickest ByeByeHIV เป็นการร่วมมือของ APCO และมูลนิธิ "พอ" โดยผู้ก่อตั้งมูลนิธิ
พอร์ซเซล่า (PORCELA) มอบเงินบริจาค ให้ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ (มะเร็งเต้านม) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ "สภากาชาดไทย"และมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล
—
นางสาวปัญจม...
APCO เผยทิศทาง Q2/66 โตต่อเนื่อง ชูนวัตกรรมย้อนวัย ชะลอวัย, บำบัดมะเร็ง, Bye Bye HIV/AIDS รุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตอกย้ำเป้าหมายรายได้โต 30-50%
—
APCO เผยทิศ...
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 17 ความก้าวหน้านวัตกรรม "เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell" โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา...
APCO ตอกย้ำปี 66 ตั้งเป้าโต 30-50% รุกตลาดในประเทศผลักดัน "บริษัทมหาชนร่วมสร้างโดยมหาชน"
—
APCO ตอกย้ำทิศทางธุรกิจปี 2566 โตต่อเนื่อง ตั้งเป้ายอดขายเพิ่ม ...