ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?
ช่วงเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูฝนเป็นช่วงที่ต้องระวังโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดโดยเฉพาะ7 กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนป้องกัน ได้แก่
* หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป* เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี* ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัดและเบาหวาน* ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป* ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้* ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ* ผู้ที่มีโรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังช่วยลดความสับสนในการตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อร่วมระหว่างโรคไข้หวัดใหญ่กับโรคโควิด-19 ได้และในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนที่จะติดเชื้อโควิด-19 ยังช่วยลดการนอนโรงพยาบาล หรือเข้ารักษาในโรงพยาบาลสั้นกว่าคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนการติดเชื้อโควิด-19
ดังนั้นในระหว่างที่ยังรอการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 อยู่ในขณะนี้ จึงอยากแนะนำให้ทุกคนหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและยังช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วยอ่านข้อมูล "โรคไข้หวัดใหญ่" เพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/280
สายด่วนสุขภาพโทร 0 2743 9999 ต่อ 2999 แอดไลน์โรงพยาบาลรามคำแหง ID Line : @ramhospital หรือ คลิก https://lin.ee/dED0pj2
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ "มุ้งสู้ฝุ่น" แก่คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เพื่อช่วยผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคผิวหนัง โรคเยื่อบุตา โรคหอบหืด และโรคมะเร็งปอด ลดการได้รับสัมผัสฝุ่น PM2.5 วานนี้ (30 มกราคม 2568) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ PM2.5 ยังมีแนวโน้มเกินมาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย นอกจากการวางแนวทาง มาตรการ กฎหมาย เพื่อดูแลประชาชนในภาพรวมแล้ว การดูแลกลุ่ม
สธ. ร่วมกับ สปสช. เครือข่าย EACC และ GSK จัดเสวนาการบริหารนโยบายสุขภาพโดยเน้นคุณค่า พัฒนาระบบบริการคลินิกคุณภาพเชิงรุก สำหรับโรคปอดอุดกั้นและโรคหืด
—
กระทรวงสาธา...
"เรสพิรี" สตาร์ตอัปเทคโนโลยีการบำบัดแบบดิจิทัล ได้รับการอนุมัติจากอย.สหรัฐ สำหรับอุปกรณ์สวมใส่เพื่อติดตามการทำงานของหัวใจและทางเดินหายใจรุ่น RS001
—
เรสพิรี (Re...
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมกับ เขตสุขภาพที่ 11 กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าโครงการ Healthy Lung Thailand ส่งมอบอุปกรณ์ตรวจสมรรถภาพปอด
—
บริษัท แอสตร้าเซนเ...
กระทรวงสาธารณสุข ผนึกกำลัง สปสช.และเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นฯ เดินหน้าพัฒนาระบบบริการสุขภาพโรคระบบทางเดินหายใจในยุค Next Normal
—
กระทรวงสาธาร...
แอสตร้าเซนเนก้าประเทศไทย จับมือ เขตสุขภาพที่ 8 กระทรวงสาธารณสุขเดินหน้าสานต่อโครงการ Healthy Lung Thailand
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด โดย ...