แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จับมือสำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข มอบทุนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหืด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข (พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน) จัดงานประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง "บริการทางการแพทย์แบบ 'ปรกติวิถีใหม่' รับมือโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหืด (Asthma)" เพื่อถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวทางการรักษาและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหืด รวมไปถึงผลกระทบของ PM 2.5 ต่อโรคระบบทางเดินหายใจ แก่บุคลากรทางการแพทย์ในเขตสาธารณสุขที่ 1

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จับมือสำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข มอบทุนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหืด

นอกจากนี้ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย นพ.กร ตาลทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และ นายไมเคิล มิงเวย ควาน ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจ Respiratory & Immunology and Vaccines & Immune Therapies ได้มอบทุนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ จำนวน 20 ทุน เพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหืด โดยมี นพ.กนก พิพัฒน์เวช อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ และประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเขตสุขภาพที่ 1 รับมอบ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จับมือสำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข มอบทุนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหืด

นพ.กนก พิพัฒน์เวช ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเขตสุขภาพที่ 1 กล่าวถึงงานในครั้งนี้ว่า "โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหืดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องทุกข์ทรมานจากอาการของโรคหืดกำเริบและต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาไปเป็นจำนวนมากและบางรายอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการดำเนินการที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า สำนักเขตสุขภาพที่ 1 ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (COPD) และโรคหืด (Asthma) อย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะยิ่งทำให้ผลการดำเนินการของเขตสุขภาพบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผมหวังว่าผลจากความร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถขยายผล เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง (COPD) และโรคหืด (Asthma) ในระดับประเทศต่อไป"

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ Healthy Lung Thailand ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสมาคมทางการแพทย์ เพื่อรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด พร้อมยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ และการเข้าถึงการบริการเพื่อนำไปสู่พัฒนาการด้านการรักษา และจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ


ข่าวโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง+จังหวัดเชียงใหม่วันนี้

กรมอนามัย โชว์ มุ้งสู้ฝุ่น เสนอกรรมาธิการสภา หวังช่วยกลุ่มเสี่ยงลดสูดฝุ่น PM 2.5

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอ "มุ้งสู้ฝุ่น" แก่คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เพื่อช่วยผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคผิวหนัง โรคเยื่อบุตา โรคหอบหืด และโรคมะเร็งปอด ลดการได้รับสัมผัสฝุ่น PM2.5 วานนี้ (30 มกราคม 2568) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ PM2.5 ยังมีแนวโน้มเกินมาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย นอกจากการวางแนวทาง มาตรการ กฎหมาย เพื่อดูแลประชาชนในภาพรวมแล้ว การดูแลกลุ่ม

ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่? ช่วงเปลี่ยน... 7 กลุ่มเสี่ยง รีบฉีด "วัคซีนไข้หวัดใหญ่" ช่วงรอรับรับวัคซีนโควิด-19 — ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่? ช่วงเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูฝนเป็นช่วงที่ต้องระวังโรคไข้หวัดใ...

ม.มหิดล แนะกำจัด "ฝุ่นในใจ" ต้านภัยฝุ่น PM2.5

สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ถึงร้อยละ 58 นอกจากนี้ส่งผลต่อการ...