กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) พัฒนาวัคซีนและศึกษาภูมิคุ้มกันของสุกรต่อวัคซีนต้นแบบที่สามารถใช้ป้องกันทั้งไวรัสนิปาห์ (Nipah virus) และไวรัสพีอาร์อาร์เอส (PRRS virus) ได้ในเข็มเดียว เพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาดร้ายแรงในปศุสัตว์ที่สามารถแพร่สู่คนได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหกรรมปศุสัตว์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ (emerging disease) ซึ่งสามารถแพร่ระบาดติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยมีแหล่งรังโรคคือ ค้างคาวผลไม้ แต่สัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ คือ สุกร สุนัข แพะ แมว ม้า และแกะ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะโรค และสามารถติดต่อมาสู่คนได้จากการสัมผัส หรือรับประทานวัตถุที่ปนเปื้อน ปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลาย ของสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะสุกรซึ่งเป็นสัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ง่ายที่สุด เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงในสุกร และการติดเชื้อไข้สมองอักเสบในมนุษย์ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีรายงานการแพร่ระบาดครั้งร้ายแรงที่สุดในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2541-2542 โดยพบผู้ป่วยเกือบ 300 ราย และเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของมาเลเซียเป็นอย่างมาก โดยทางการมาเลเซียมีการสั่งทำลายสุกรกว่า 1.2 ล้านตัว หรือประมาณร้อยละ 50 ของสุกรทั่วประเทศ
ดร. นันท์ชญา วรรณเสน นักวิจัยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันทั้งสำหรับปศุสัตว์และมนุษย์ ในขณะที่วัคซีน PRRS (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) มีใช้อย่างแพร่หลายและมีความปลอดภัยในการนำไปใช้ในสุกร ทางทีมวิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำวัคซีน PRRS ไปพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำส่งโปรตีนแอนติเจนของไวรัสนิปาห์ เพื่อใช้เป็นวัคซีนรวมที่สามารถป้องกันได้ทั้งไวรัสนิปาห์ และไวรัส PRRS ในเข็มเดียว (bivalent vaccine)
ดร. นันท์ชญา ให้ข้อมูลต่อว่า โครงการวิจัยนี้คณะวิจัยไบโอเทค ได้ทำงานร่วมกับ Prof. Simon Graham และ Dr. Rebecca McLean จาก The Pirbright Institute (TPI) สหราชอาณาจักร ในการศึกษาภูมิคุ้มกันของสุกรต่อวัคซีนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ โดยทีมวิจัยไบโอเทคได้ใช้ความเชี่ยวชาญในการตัดต่อพันธุกรรมไวรัส PRRS และได้วางแผนร่วมกับทีมวิจัยจาก TPI ในการทดสอบคุณสมบัติของไวรัส PRRS เพื่อใช้เป็นเวกเตอร์ไวรัส (viral vector) ที่สามารถนำส่งโปรตีนของไวรัสนิปาห์ เพื่อใช้เป็นวัคซีนรวมสำหรับป้องกันโรคทั้ง 2 โรคได้
โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก The Transnational Access Activities (TNA) : Veterinary Biocontained Facility Network (VetBioNet) เป็นมูลค่า 61,350 ปอนด์ (2,504,000 บาท) โดยสนับสนุนการทดสอบวัคซีนในสุกรในห้องปฏิบัติการวิจัย high containment laboratory ซึ่งใช้สำหรับการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ Animal and Plant Health Agency, UK และการเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กระทรวง อว. โดย สวทช. กรมควบคุมโรค กระทรวง สธ. ผนึกกำลังใช้ระบบ DDC-Care Platform เทคโนโลยีรับมือโรคระบาดข้ามพรมแดน บริการแก่กลุ่มผู้แสวงบุญชาวไทยที่เดินทางเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานแถลงข่าว ความสำเร็จ DDC-Care เฝ้าระวังโรคเมอร์ส (MERS-CoV) ในผู้แสวงบุญที่เดินทางเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ จากความร่วมมือของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
—
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform
—
กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...