ม.พะเยา ย้ำความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ด้วย SDG11 ได้อันดับที่ 3 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับ THE IMPACT RANKINGS 2021 จากประเทศอังกฤษ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2021 The Times Higher Education (THE) มีการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2021 และปีนี้ มหาวิทยาลัยพะเยา ยังคงติดอันดับ เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย ย้ำความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ด้วย SDG11 : เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ได้อันดับที่ 3 ของประเทศไทย (อันดับที่ 71 ของโลก) ซึ่งขยับอันดับขึ้นมาจากอันดับที่ 9 จากปีที่ผ่านมา

ม.พะเยา ย้ำความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ด้วย SDG11 ได้อันดับที่ 3 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับ THE IMPACT RANKINGS 2021 จากประเทศอังกฤษ

ในปี 2564 มหาวิทยาลัยพะเยาได้ส่งเข้าร่วมทั้งหมด 8 ด้านจากทั้งหมด 17 ด้าน และ 3 อันดับSDG ที่มหาวิทยาลัยได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดติดTOP 5 คือ ม.พะเยา ย้ำความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ด้วย SDG11 ได้อันดับที่ 3 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับ THE IMPACT RANKINGS 2021 จากประเทศอังกฤษ

SDG11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน อันดับที่ 3 ของประเทศไทย

SDG3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี อันดับที่ 5 ของประเทศไทย

SDG5: ความเท่าเทียมทางเพศ อันดับที่ 5 ของประเทศไทย

โดย SDG11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน ได้รับคะแนนการประเมิน 76.9 คะแนน ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดเป้าหมายสำหรับการเดินทางที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัย การให้บริการห้องสมุดสาธารณะแก่บุคคลภายนอก การจัดแสดงนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ ต่างๆของมหาวิทยาลัยที่ให้บุคคลภายนอกได้เข้าเยี่ยมชม ตลอดจนมีความร่วมมือในการวางแผน การแก้ไขปัญหาในพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ทั้งนี้ SDG3 และ SDG5 มหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับการจัดอันดับคะแนนการประเมินสูงสุดเป็นครั้งแรก แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มุ่งเน้น เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน ต้องการเห็นบุคลากร นิสิต และชุมชนมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความเท่าเทียมทางเพศ ปฏิบัติภารกิจสอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัย "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน" อย่างยั่งยืน

สามารถติดตามข่าวสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยพะเยาเพิ่มเติมได้ที่ http://uprankings.up.ac.th/


ข่าวมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน+การพัฒนาที่ยั่งยืนวันนี้

ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมนานาชาติ IACS 2025 นักวิชาการ 20 ประเทศเข้าร่วม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ Inter-Asia Cultural Studies Conference 2025 (IACS 2025) มีนักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษา 20 ประเทศ กว่า 450 คน เข้าร่วม สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และศูนย์วิจัยภูมิสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติ "วัฒนธรรมศึกษาระหว่างเอเชีย 2025" (Inter-Asia Cultural Studies Conference 2025) ภายใต้แนวคิด "การเชื่อมโยงทางภูมิสังคม : การเดินทางอย่างต่อเนื่องของการค้นคว้าเชิงวิพากษ์" (Geo

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผงาดขึ้นแท่นอันดับ ... ม.วลัยลักษณ์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลก SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ THE Impact Rankings 2025 — มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผงาดขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลก SDG5 การส่งเสริ...

ภาพข่าว: มจธ. ส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชนในงานทุ่งครุเกษตรแฟร์ 2558

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงผลงานวิจัยร่วมออกบูธในงานทุ่งครุเกษตรแฟร์ 2558 ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระ...