จุฬาฯ เร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม-ดินสไลด์น่าน เดินหน้าระบบเตือนภัยดิจิทัล สานภารกิจ "มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงพื้นที่สนับสนุนชุมชนในจังหวัดน่านอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 หลังเกิดเหตุอุทกภัยและดินสไลด์รุนแรงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ บ้านห้วยเลา บ้านสาลี่ และบ้านวนาไพร ซึ่งถูกตัดขาดจากโลกภายนอกและขาดแคลนอาหาร-น้ำดื่มจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง

จุฬาฯ เร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม-ดินสไลด์น่าน เดินหน้าระบบเตือนภัยดิจิทัล สานภารกิจ "มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน"

ความช่วยเหลือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "Chula-DSN: Chula Disaster Solutions Network" เครือข่ายวิจัยและปฏิบัติการที่จุฬาฯ ริเริ่มเพื่อบรรเทาและรับมือภัยพิบัติในระดับชุมชน โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดส่งน้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง ผักสด และไข่ไก่จากแหล่งผลิตในพื้นที่ผ่านความร่วมมือกับ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และ เครือข่ายฟื้นฟูน่าน

การดำเนินงานช่วยเหลือในครั้งนี้คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบ "Digital War Room" และ "แผนที่ดิจิทัลเฝ้าระวังภัยพิบัติ" ที่สามารถแจ้งเตือนระดับน้ำ ฝนตก และความเสี่ยงดินถล่มแบบเรียลไทม์ เพิ่มความสามารถในการตอบสนองภายในชุมชนเองได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที

การดำเนินงานของ Chula-DSN สอดคล้องกับพันธกิจด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการสนับสนุน SDG 6: น้ำสะอาดและสุขาภิบาล SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน และ SDG 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ จุฬาฯ ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะจากอิทธิพลของพายุ "WIPA" ซึ่งเข้าสู่ภาคเหนือระหว่างวันที่ 19-24 กรกฎาคม 2568 ที่อาจซ้ำเติมพื้นที่ประสบภัยเดิม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอยืนยันบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะแหล่งวิชาการ เทคโนโลยี และพลังร่วมของสังคม ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนในลุ่มน้ำน่านและพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ ผ่านการส่งเสริมองค์ความรู้ การวิจัย และการประสานความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง


ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนวันนี้

'ไผ่ - โบนัส' ศิลปินอาสาสร้างเสียงเพลง ส่งต่อรอยยิ้มผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง ในโครงการ "ราษฎรสุขใจ พลานามัยสมบูรณ์ แพทย์พระราชทาน"

ไผ่ พงศธร และ โบนัส ภัทรธิรา ร่วมให้กำลังหน่วยแพทย์ พยาบาล จิตอาสา คณะทำงาน และผู้เข้ารับบริการทันตกรรมในเรือนจำกลางบางขวาง ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการ "ราษฎรสุขใจ พลานามัยสมบูรณ์ แพทย์พระราชทาน" จัดโดย สำนักงานพระคลังข้างที่ แพทย์อาสาจาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคี เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคง และประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จึงน้อมนำพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงาน"เปิ... นักวิชาการศศินทร์รับทุนเมธีวิจัยอาวุโส วช. ประจำปี 2568 — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงาน"เปิดตัวศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช. และเมธีวิจัยอาวุโส ประจำ...