นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศไทย ยังมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเกิดจาการแพร่กระจายเชื้อผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ชิดอาจติดเชื้อได้ จากการสัมผัสหรือการหายใจ จึงได้มีนโยบายมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คิดค้นนวัตกรรม ที่ใช้สำหรับ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลสนาม เพื่อลดภาระและลดการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง ของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้นำผลงานสิ่งประดิษฐ์จากสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 6 แห่ง มาจัดแสดง ณ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่
1.วิทยาลัยเทคนิคระยอง
-หุ่นยนต์พ่นหมอกฆ่าเชื้อ เป็นเครื่องทำความชื้นระบบอัลตร้าโซนิคทำงานโดยใช้การสั่นสะเทือนไดอะแฟรมโลหะที่ความถี่ระดับ Ultra Sonic ใช้หลักการเพียโซอิเล็กทริกหรือเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ให้เดินความสั่นด้วยความถี่สูงในน้ำ ทำให้เกิดละอองน้ำขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 ไมครอน ซึ่งจะระเหยเร็วมากในอากาศ สามารถผลิตหมอกได้ไม่น้อยกว่า 9,000 มิลลิลิตร ต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 45 โวลต์ แอมแปร์ ควบคุมน้ำเข้าอัตโนมัติ แล้วหยุดการทำงานเมื่อน้ำต่ำกว่าระดับที่กำหนด ด้วยลูกลอย โดยเมื่อหมอกถูกพ่นออกมาเป็นละอองเล็กๆ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้น จึงเป็นการขยายประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้เข้าไปจับตัวกับเชื้อโรค ที่ติดมากับเสื้อผ้าหรือร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังลดการระคายเคืองจากน้ำยาฆ่าเชื้อได้ดีขึ้น
-หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคโดยหลอด UV-C จะทำงานโดยการเคลื่อนที่ตามจุดต่างๆ ภายในห้อง ซึ่งเมื่อเจอสิ่งกีดขวาง หุ่นยนต์จะหลบสิ่งกีดขวางอัตโนมัติ จะมีหลอด UV-C ที่ติดตั้งบนตัวหุ่นยนต์ด้วยรังสีความยาวคลื่น 222 นาโนมิเตอร์ออกมา เพื่อฆ่าเชื้อในอากาศหรือพื้นผิวของห้อง ซึ่งคลื่นรังสีจะปลอดภัยกับมนุษย์
-รถพ่นหมอกฆ่าเชื้อ สามารถผลิตหมอกได้ไม่น้อยกว่า 18,000 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง โดยเมื่อหมอกถูกพ่นออกมาเป็นละอองเล็กๆ จะมีพื้นที่ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้น จึงเป็นการขยายประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ ให้เข้าไปจับตัวกับเชื้อโรค ที่อยู่ตรมพื้นที่ต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยนวัตกรรมดังกล่าวข้างต้น จะใช้ความสามารถและการพัฒนาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์ โดยใช้งบประมาณน้อยและคุ้มค่า สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลคุ้มค่า ซึ่งจะป้องกันการแพร่เชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างดี
2.วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร
-กล่องควบคุมความดันลบ สำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรงด้วยแสง UVC ช่วยให้อากาศที่ผู้ป่วยหายใจออกมาจะถูกกรองด้วยแผ่นกรองไฟฟ้าสถิต ที่สามารถกรองไวรัสได้ 99.99%
-กล่องควบคุมความดันบวก สำหรับแพทย์ ผู้ทำการรักษาผู้ป่วยวิกฤตโรคติดต่อร้ายแรง ช่วยให้อากาศที่บุคลากรทางการแพทย์หายใจเข้าไปเป็นอากาศบริสุทธิ์
-หุ่นยนต์ส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับผู้ป่วย ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์แก่คนไข้โดยใช้การบังคับควบคุมทางไกล สามารถสื่อสารผ่านจอที่ติดบนตัวหุ่นยนต์ และยังสามารถวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยด้วยกล้องอินฟาเรด ทำให้ลดการสัมผัสได้โดยตรง ระหว่างบุคลกรทางการแพทย์ และ ผู้ป่วย
3.วิทยาลัยเทคนิคแพร่
-หุ่นยนต์ "ช่างใจดี V2" เป็นหุ่นยนต์ส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับผู้ป่วย ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์แก่คนไข้โดยใช้การบังคับควบคุมทางไกล สามารถสื่อสารผ่านจอที่ติดบนตัวหุ่นยนต์ เพื่อลดการสัมผัส ระหว่างบุคลกรทางการแพทย์ และ ผู้ป่วย
-หน้าการป้องกันโควิด-19 แบบแรงดันบวก เป็นหมวกสำหรับสวมใส่ศรีษะ มีพัดลมดูดอากาศจากภายนอกผ่านตัวกรองที่มีประสิทธิภาพสูง ป้องกันไม่ให้เชื้อโรค เชื้อไวรัส ให้เข้ามาสู่ทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
-หุ่นยนต์ "ช่างใจดี V3" เพื่อการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่ในอาคารที่มีการแพร่ระบาด
-โดรนสื่อสารและวัดอุณหภูมิความร้อน เพื่อดูแลความปลอดภัยสาธารณะหรือพื้นที่จัดกิจกรรมที่มีการร่วมกลุ่มคน โดยสามารถใช้การกระจายเสียงทางอากาศ และมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ถ่ายภาพความร้อนเพื่อวัดอุณหภูมิในร่างกาย
4.วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี
-หุ่นยนต์ส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วย
5.วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร
-หุ่นยนต์ส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วย
6.วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี
-หุ่นยนต์ส่งอาหารและยาสำหรับผู้ป่วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สิ่งประดิษฐ์ต่างๆสามารถใช้งานได้จริง และได้ส่งให้กับโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามใช้แล้ว ซึ่งในอนาคต จะมีการผลิตนวัตกรรมเพิ่มขึ้น เพื่อให้รองรับกับปริมาณที่โรงพยาบาลต้องการ โดยคาดหวังว่าจะให้นักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษา ช่วยกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมให้เข้ากับสถานการณ์ต่อไป
นายยศพล เวณุโกเศศ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผลักดันโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ "EV สู่ภาคปฏิบัติอาชีวะอาสา" สอดคล้องกับนโยบายของพลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการพัฒนาทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง (Learn to Earn) และการพัฒนาทักษะอาชีพที่จำเป็นแก่โลกอนาคต (Future Skill) ภายใต้เป้าหมาย "การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและการศึกษาเพื่อความมั่นคงยั่งยืน" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 29 เมษายน 2568 โดย สอศ. ร่วมกับ
สอศ. จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ 2567 เริ่มแล้ว !! ภาคเหนือ ย้ำนศ.คิดได้ ขายเป็น เรียนดีมีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
—
นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รอ...
คุณหญิงกัลยา เผย สหภาพสหกรณ์แห่งชาติอินเดีย สนใจเกษตรประณีตทฤษฎีใหม่ของไทย
—
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการหาร...
AMR รับมอบโล่เชิดชูเกียรติสถานประกอบการทำคุณประโยชน์
—
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เดินหน้าพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนด้วยแนวคิดธุรกิจยุคใหม่
—
พรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อ...
เนคเทค สวทช. จับมือพันธมิตร ชูผลงานเยาวชน สร้างนวัตกรรม Project Based Learning ในโครงการ"ต่อกล้าอาชีวะ" ประจำปี 2564 (Agritronics @ R-Cheewa)
—
ศูนย์เทคโนโ...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ผนึก สอศ. บ่มเพาะนักศึกษาสู่บุคลากรคุณภาพ
—
ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ดร. สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธ...