เพิ่มอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ด้วยการตรวจคัดกรองโครโมโซม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีการรักษาผู้มีบุตรยากได้มีความก้าวหน้าและมีหลากหลายแนวทาง ซึ่งหนึ่งในวิธียอดนิยมคือการทำเด็กหลอดแก้ว IVF (In-vitro Fertilization) แต่อย่างไรก็ตามยังมีคู่สมรสจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบผลสำเร็จจากการทำ IVF ซึ่งหนึ่งในหลายๆ ปัจจัยที่อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จคือ คุณภาพของตัวอ่อนที่แบ่งตัวไม่สมบูรณ์ หรือเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมจึงทำให้ภาวะครรภ์ไม่สมบูรณ์

เพิ่มอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ด้วยการตรวจคัดกรองโครโมโซม

นพ. สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลเจตนิน ให้ข้อมูลว่า การรักษาผู้มีบุตรยากในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมและความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนก่อนที่จะทำการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก และเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากเป็นการเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการตั้งครรภ์ที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ลดความเสี่ยงจากการแท้งอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เพิ่มอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ด้วยการตรวจคัดกรองโครโมโซม

การตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อน หรือ PGT-A (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้การทำ IVF ประสบความสำเร็จ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้บุตรที่ร่างกายปกติสมบูรณ์ และลดความเสี่ยงจากการแท้งอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม

การตรวจคัดกรองโครโซมตัวอ่อนช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างชัดเจนในคู่แต่งงานที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่เคยล้มเหลวจากการทำ IVF ผู้ที่เคยมีประวัติการแท้งมาแล้วหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ และผู้ที่เคยมีประวัติคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ

NGS (Next Generation Sequencing technology) เป็นเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ในการตรวจ PGT-A แค่เพียงนำเซลล์จากตัวอ่อนเพียงเล็กน้อยออกมาตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซม ก็สามารถตรวจสอบโครโมโซมได้ทั้งหมดในคราวเดียวภายในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังให้ผลการวิเคราะห์ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง สามารถมองเห็นความผิดปกติของโครโมโซมได้แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วนขนาดเล็ก และยังมั่นใจได้ว่าผลที่ได้มีความถูกต้องสูงถึง 97-99 %

"การตรวจคัดกรองโครโมโซมด้วยเทคโนโลยี NGS สามารถลดความเสี่ยงจากการแท้งและความผิดปกติของทารกที่เกิดจากภาวะโครโมโซมที่มีจำนวนผิดปกติ โดยในแต่ละเซลล์ของตัวอ่อนประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ หรือ 46 แท่ง การเพิ่มหรือขาดหายของโครโมโซมบางแท่งหรือเพียงแค่บางส่วนนั้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนอาจส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวที่ผนังมดลูก ฝังตัวแล้วแท้ง หรือคลอดมาเป็นเด็กที่มีความผิดปกติ เสี่ยงต่อความบกพร่องทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ดังนั้น การคัดเลือกเอาตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ ในการใส่กลับจึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าว ให้คุณพ่อ คุณแม่มั่นใจได้ว่าจะได้บุตรที่ปกติมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง" นพ. สมเจตน์ กล่าว

นพ.สมเจตน์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนการทำ PGT-A จะเกิดขึ้นในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) หรือตัวอ่อนที่ปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการมาแล้วประมาณ 5-6 วัน นักวิทยาศาสตร์จะทำการดึงเซลล์รอบนอกจากตัวอ่อนเพียงเล็กน้อยเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์สารพันธุกรรม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนและไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นทารก โดยตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะถูกตรวจคัดเลือกก่อนการย้ายฝังตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป หรือสามารถเลือกแช่แข็งเฉพาะตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติเก็บไว้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคตได้เช่นกัน

ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่โรงพยาบาลเจตนินให้บริการอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์เฉพาะทาง และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ดำเนินการภายในห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงของเจตนินเอง มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ผู้ใช้บริการจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-655-5300 


ข่าวสมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์+รักษาผู้มีบุตรยากวันนี้

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน Superior A.R.T. จัดเสวนาในหัวข้อ "แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของผู้มีบุตรยาก"

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน Superior A.R.T. จัดเสวนาในหัวข้อ "แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของผู้มีบุตรยาก" เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีดูแลตัวเองสำหรับคู่รัก คู่สมรสในการเตรียมพร้อมที่จะมีบุตร โดยนายแพทย์สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ สูตนรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก ศูนย์ Superior A.R.T. พร้อมแขกรับเชิญพิเศษ เก๋ ชลลดา เมฆราตรี. กบ ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี และหนิง ศรัยฉัตร กุญชรฯ จีระแพทย์ ในวันเสาร์ที่ 18 กันยายน เวลา 14.00 16.00 ณ ร้าน Orangery ชั้น 4 สยามพารากอน สำรองที่นั่ง (ฟรี

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของผู้มีบุตรยาก

สาวสวยอย่างเก๋ ชลลดา เมฆราตรี, หนิง-ศรัยฉัตร กุญชร ณ อยุธยา และหนุ่มไม่โสดอย่าง กบ ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี เตรียมมาร่วมงาน"แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของผู้มีบุตรยาก" งานเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีดูแลตัวเองสำหรับคู่รัก คู่สมรสในการเตรียมพร้อมที่จะมีบุตร โดยนายแพทย์สม...

การรักษาโรคธาลัสซีสเมียให้หายขาดได้ แล้วครั้งแรกในเอเชีย โดยไม่ต้องรอสเตมเซลล์บริจาค

ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ร่วมกับ บริษัท ไทย สเตมไลฟ์ จำกัด ประกาศความสำเร็จครั้งแรกในเอเชียด้วยการใช้เทคนิค PGD-PCR ร่วมกับ HLA Matching ซึ่งเป็นเทคนิคในการคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนที่ปลอดโรคธาลัสซีเมียและมีเซลล์ที่...

เทคโนโลยีคัดกรองตัวอ่อน ความหวังใหม่ของคนอยากมีลูก (ที่ปลอดโรคติดต่อทางพันธุกรรม)

การที่คู่แต่งงานจะมีลูกสักคนว่ายากแล้ว แต่การที่จะได้ลูกที่เกิดมาอวัยวะครบ 32 สมบูรณ์แข็งแรง และปลอดจากโรคติดต่อทางพันธุกรรมนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากกว่า..... แต่สิ่งที่ดูว่ายากนั้น ด้วยเทคโนโลยีและวิวัฒนาการสมัย...

แพทย์แนะ ผู้ป่วยมะเร็งอายุน้อยเก็บไข่ก่อนให้คีโม

ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที เปิดเทคโนโลยีใหม่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องได้รับเคมีบำบัด ให้มีทางเลือกในการเก็บไข่ก่อนได้รับเคมีบำบัด นายแพทย์สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที กล่าวถึงความสำคัญของเทคโน...

ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที เผยความสำเร็จล่าสุดของเทคโนโลยีตรวจคัดกรองตัวอ่อน ความหวังใหม่พาหะธาลัสซีเมีย

ศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที (Superior A.R.T.) แถลงข่าวความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีตรวจคัดกรองตัวอ่อน (PGD – PCR) ให้ปลอด โรคทางพันธุกรรม โดยเฉพาะ...

ภาพข่าว: ความหวังใหม่เพื่อคู่สมรส

นายศรายุธ อัสสมกร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที (ที่ 2 จากขวา) พร้อมนพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ และนพ.เกรียงชัย สัจจเจริญพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที ร่วมแถลงข่าวความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของการคิดค้นเทคโนโลยีตรวจคัดกรองตัวอ่อน...