ม.มหิดล ชี้ปัญหาติดเชื้อดื้อยาในหญิงตั้งครรภ์ ชี้ชะตาทารกแรกเกิด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หากเราปล่อยชีวิตให้ผ่านไป โดยที่ไม่ได้มองว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง ก็จะไม่ทันสังเกตเลยว่า ที่ผ่านมามีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นมากมาย แต่ยาปฏิชีวนะที่ใช้ต้านเชื้อจุลชีพ ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อจนถึงแก่ชีวิต ที่ออกฤทธิ์ได้อย่างตรงจุดยังคงมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่สมาร์ทโฟนออกใหม่รุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่แทบไม่มีใครสนใจจะนึกถึงลมหายใจสุดท้ายในห้องไอซียูที่แทบทุกคนจะต้องมาจบชีวิตกันอย่างน่าเสียดายเพียงเพราะเหตุผลง่ายๆ ว่า "ติดเชื้อดื้อยา"

ม.มหิดล ชี้ปัญหาติดเชื้อดื้อยาในหญิงตั้งครรภ์ ชี้ชะตาทารกแรกเกิด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชนเมธ เตชะแสนศิริ หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วงการแพทย์ในปัจจุบันได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าภูมิคุ้มกันของทารกแรกเกิด (Immune Priming) ซึ่งสร้างขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในตัวทารกตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดานั้น มีความสัมพันธ์กับโรคที่อาจเกิดขึ้นกับตัวทารกเองได้ต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึงกับมวลมนุษยชาติตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

แม้ข้อมูลจะมีรายงานออกมายังไม่แน่ชัด แต่ก็มีการศึกษาอยู่พอสมควรในทารกที่คลอดออกมาแล้วพบว่าแบคทีเรียที่พบในลำไส้มีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคลำไส้อักเสบ โรคทางระบบประสาท โรคทางเดินหายใจฯลฯ ดังนั้น การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาตั้งแต่ทารกยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดาได้ และรวมถึงมารดาของทารกเองด้วย

อย่างไรก็ดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชนเมธ เตชะแสนศิริ ได้กล่าวต่อไปว่า การใช้ยาปฏิชีวะในหญิงตั้งครรภ์อาจทำได้ในบางกรณี เช่น เพื่อการรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหรือเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในทารกแรกเกิด ซึ่งหากแพทย์ไม่ตัดสินใจให้ใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ปลอดภัยต่อการรักษาอาจส่งผลให้มารดา และทารกป่วยและเสียชีวิตลงได้

โดยปัจจุบันพบว่า ปัญหาติดเชื้อดื้อยาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและได้รับยาปฏิชีวนะเท่านั้น แต่ปัญหาเชื้อดื้อยายังส่งผลกระทบต่อประชากรในกลุ่มอื่นๆ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ด้วย

และยิ่งปัจจุบันอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชากรโลกมีสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และยากดภูมิซึ่งอาจส่งผลต่อการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อดื้อยาที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการป่วยและเสียชีวิตได้ในที่สุด

"ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาใส่ใจเรื่องปัญหาการติดเชื้อดื้อยากันอย่างจริงจัง จากการรณรงค์ให้มีการใช้ยากันอย่างสมเหตุสมผล แม้จะต้องรอให้มีการพัฒนายาใหม่ที่จะมาแก้ไขปัญหาการติดเชื้อดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกยาวนานเพียงใดก็ตาม เชื่อว่าทุกคนสามารถช่วยชะลอและลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยาไม่ให้เกิดเพิ่มขึ้นได้ จากการเริ่มต้นง่ายๆ ที่ตัวเอง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชนเมธ เตชะแสนศิริ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th


ข่าวo:member+o:healวันนี้

Understanding Chronic IBD Can Help You Reduce the Risk of Colon Cancer

If you experience frequent, loose, and bloody stools for more than 4 weeks, it could be a sign of chronic bowel disease, which, if left untreated, could lead to colon cancer. At Bumrungrad International Hospital, our teams of doctors are fully equipped with the latest medical technology to treat chronic bowel disease to give our patients a better quality of life. This is why Bumrungrad International Hospital is a top healthcare destination for patients from around the world. Chronic inflammatory

อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้... อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ มอบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ — อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้ลูกค้าคนสำคัญเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดโอกาสในการต...

เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokerato... เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง — เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokeratoma of Fordyce) โรคนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มดำแดงคล้าย...

โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นแล... "ปวดคอ" แบบไหน?... ให้สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท — โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานคอผิดท่ามาเป็นเวลานาน ซึ่งเดี๋ยวนี้คนที่เป็นโรค...

แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด... นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน — แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที...

สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร... เวทีนโยบายรับมือโรคอ้วนระหว่างเดนมาร์ก-ไทย: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง — สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับบริษัท โนโว น...