"URBAAN" ทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หนึ่งในตัวแทนจากมหาวิทยาลัยของไทยที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมแข่งขันออกแบบและก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการ Solar Decathlon Europe 2021/2022 (SDE2021/2022) ที่เมืองวุพเพอร์ทาล ประเทศเยอรมนี ช่วงเดือนมิถุนายน 2022 พร้อมทีมร่วมแข่งขันอีก 18 ทีมจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก ล่าสุด ยังได้รับเลือกให้เป็นบ้านสาธิต 1 ใน 8 ทีม ที่ทางผู้จัดงานต้องการเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นบ้านสำหรับการทดลองอยู่อาศัยจริง (Living Lab) เป็นเวลา 3 ปี
จากคำว่า Urban หมายถึง 'เมือง' เมื่อมาผสมกับคำว่า 'บ้าน' หรือ Baan รวมกันแปลว่า 'บ้านหรือที่อยู่อาศัยในเมือง' เป็นที่มาของ "URBAAN (เออร์-บ้าน)" โจทย์หลักของการแข่งขัน
นางสาวเอมมิลี โวลด์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. ในฐานะหัวหน้าทีมสถาปัตย์ (Project architect) รับหน้าที่ในการออกแบบบ้าน กล่าวว่า เนื่องจากโจทย์การแข่งขันหลักในปีนี้ คือ การปรับปรุงอาคาร (renovation) เพื่อแก้ปัญหาการใช้พลังงานของอาคารเก่าที่มีอยู่ในเมือง เพราะประเทศในยุโรปจะมีอาคารเก่าจำนวนมาก จึงพยายามคิดค้นนวัตกรรมต่างๆสำหรับการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยในปัจจุบัน และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์อาคารเก่าซึ่งเป็นประวัติศาสตร์และความทรงจำของเมือง
ในการแข่งขันครั้งนี้ ทีม นศ.จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เลือก "ตึกแถวโบราณย่านตลาดน้อย" เป็นโจทย์ในการแข่งขัน
"สาเหตุที่เลือกตลาดน้อย เพราะหากมองกรุงเทพฯ อาคารที่เราพบเห็นมากที่สุดคือตึกแถว และตลาดน้อย ถือเป็นตึกแถวเก่าแก่ที่มีอายุใช้งานมานาน และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นย่านชุมชนที่คนรุ่นใหม่รู้จักและกำลังผลักดันเป็น 'ย่านสร้างสรรค์' จึงต้องการนำตึกแถวดังกล่าวมาปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มมูลค่าตึกเก่า ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหรือประกอบธุรกิจ โดยเพิ่มพื้นที่ให้จุคนได้มากขึ้น เป็นการฟื้นคืนชีวิตให้กับชุมชนอีกครั้ง แทนการทุบทำลายหรือปล่อยรกร้าง"
เอมิลี่ อธิบายเพิ่มเติมว่า ทีมงานได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากการลงพื้นที่และได้เห็นการค้าขายอะไหล่รถยนต์เก่า ซึ่งสามารถนำมาซ่อมและยืดอายุการใช้งานของรถยนต์อื่นๆได้ เป็นการตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) จึงได้นำแนวคิดของ 'อะไหล่' มาประยุกต์ใช้ในการแข่งขันที่วุพเพอร์ทาล โดยการออกแบบชิ้นส่วนของบ้านให้สามารถถูกปรับเปลี่ยนและทดแทนกันได้ เพื่อให้เกิดอาคารเก่าสามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยและเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน เนื่องจากการแข่งขันครั้งนี้ทางทีมนักศึกษาจะต้องสร้างบ้านจริงด้วยตนเอง ทำให้ต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ต้องลงรายละเอียดทุกอย่าง ตั้งแต่การเลือกสถานที่ เลือกอาคาร มีการวางแผน การเขียนแบบ รายละเอียดการก่อสร้างทั้งหมด ทั้งด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้แบบที่คิดไว้ สามารถสร้างได้จริง เป็นโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานจริง และการทำงานร่วมกันกับนักศึกษาจากภาควิชาต่างๆ
จุดเด่นของ URBAAN ในเชิงสถาปัตยกรรม คือ การทำโครงสร้างใหม่ โดยเลือกใช้ "ไม้ยางพารา" ที่หมดอายุมาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ข้อดีคือ ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบา ไม่ต้องทุบกำแพง ปรับเปลี่ยนแบบได้ ใช้เสียบในอาคาร สามารถออกแบบให้ปรับเลื่อนระดับของคานและพื้นไม้ขึ้นลงได้ตามความต้องการโดยใช้แรงงานมนุษย์ และรองรับชิ้นส่วนใหม่ๆ ได้ ซึ่งไม้ยางถือเป็นวัสดุท้องถิ่นในไทยนำมาใช้ประโยชน์เมื่อหมดอายุผลิตน้ำยางแทนการโค่นทิ้ง ตอบโจทย์เรื่องการหมุนเวียนและความยั่งยืน และการนำ "นุ่น" มาใช้เป็นฉนวนหุ้มอาคารเพื่อควบคุมอุณหภูมิในบ้านไม่ให้มีอุณหภูมิร้อนเกินไปในช่วงหน้าร้อนและเพื่อให้บ้านอุ่นในช่วงหน้าหนาว ซึ่งในต่างประเทศจะนิยมใช้ฉนวนใยแก้วหรือไฟเบอร์ และจากไอเดียดังกล่าวทำให้ URBAAN ได้รับความสนใจจากคณะที่จัดการแข่งขันและถูกเลือกให้เป็น Living Lab 1 ใน 8 ทีมที่จะถูกติดตั้งอยู่ที่เมืองวุพเพอร์ทาล ประเทศเยอรมนีเป็นเวลา 3 ปี
ด้านนายภูรีภัทร รักบ้านเกิด หัวหน้าทีมไฟฟ้า จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กล่าวว่า เรื่องไฟฟ้ามีโจทย์ค่อนข้างยาก แม้จะใช้ระบบพลังงานทดแทนจากโซล่าเซลล์ แต่ปีนี้กำหนดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ทั้งตัวแผงและแบตเตอร์รี่จะต้องมีขนาดเล็ก และต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เท่ากับการแข่งขันเมื่อปี 2019 ซึ่งของหาได้ยากเพราะเป็นขนาดที่ทั่วไปไม่ได้ใช้กัน ปัญหานี้เราจึงต้องมีการวางแผนในเรื่องการจัดการพลังงาน การจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้า และการเลือกเวลาในการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ออกแบบให้ได้เพียงพอ ถือเป็นความท้าทาย
ขณะที่ นายชวิศ กฤตนัย จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ยอมรับเช่นกันว่า โจทย์การแข่งขันในปีนี้มีความท้าทายขึ้น เพราะในแง่หนึ่งเราเป็นทีมนักศึกษาจากเมืองร้อนกำลังไปสร้างบ้านในเมืองหนาวที่มีโจทย์เรื่องของการทำความเย็นในหน้าร้อนและทำความร้อนในหน้าหนาว ซึ่งจะมีความซับซ้อนกว่าไทย การแข่งขันครั้งนี้ไม่สามารถติดตั้งเครื่องทำความร้อน (heater) ได้ ต้องพึ่งพา Passive Design โดยการใช้ประโยชน์จาก สภาพภูมิอากาศ ทิศทางแดด ลม หรืออาศัยอุณหภูมิความร้อนจากผู้ตัวอาศัย แทนระบบ Active System เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ นอกจากนี้ ยังเป็นความท้าทายในเรื่องของมาตรฐานการออกแบบที่แตกต่างกันระหว่างของไทยกับเยอรมนี ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังไม่เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้เรียนรู้จากการแข่งขันครั้งนี้
สำหรับความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมของทีมกับการแข่งขันครั้งนี้ นายธนพัฒน์ พันตาวงษ์ หรือเบียร์ ในฐานะหัวหน้าทีม URBAAN กล่าวว่า ขณะนี้ทีม URBAAN กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการออกแบบและสั่งทำทั้งส่วนประกอบและระบบต่างๆ ภายในบ้าน เช่น การออกแบบวิธีก่อสร้างให้สามารถประกอบบ้านเสร็จภายในเวลา 14 วัน การใช้ไม้ยางพาราประสาน (Glue-Laminated wood)ในการทำโครงสร้าง การใช้นุ่นสำหรับฉนวน และการใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ โดยวางแผนจะเริ่มทำการทดสอบการก่อสร้างบ้านสาธิตได้ในช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ เป็นการซ้อมประกอบบ้านครั้งแรก จากนั้นจะทำการส่งส่วนประกอบทั้งหมดไปที่ประเทศเยอรมนี เพื่อให้ทันกำหนดที่จะต้องเริ่มติดตั้งบ้านในวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 และจะต้องประกอบให้เสร็จภายใน 14 วัน เป็นอีกหนึ่งโจทย์สำคัญที่ท้าทายทีมอย่างมากเช่นกัน
สำหรับทีม URBAAN มีสมาชิกทั้งหมด 56 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 และปริญญาโท จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิช พูลเงิน เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วราลักษณ์ แผ่นสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โครงการ Solar Decathlon Europe 2021/2022 เป็นการแข่งขันออกแบบบ้านประหยัดพลังงานของนักศึกษาในระดับนานาชาติ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการสร้างความตระหนักเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในครั้งนี้ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีได้เข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันตั้งแต่ปี 2014, 2019 และปี 2021
Krungsri Foundation, represented by Mr. Poonsit Wongthawatchai (left), Assistant Secretary of Krungsri Foundation, presented 500,000 baht to Lieutenant General Dr. Amnat Barlee (right), Director of the Relief and Community Health Bureau, Thai Red Cross Society, to support the mission of assisting victims of natural disasters nationwide. This support is part of Krungsri Foundation's core mission to provide continuous and comprehensive assistance to natural disaster victims to enhance their
มูลนิธิกรุงศรีมอบเงินแก่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย หนุนพันธกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
—
มูลนิธิกรุงศรี โดย นายพูนสิทธิ์ ว่องธว...
"ก้อง-สมเกียรติ" คว้ารางวัลเกียรติยศ "นักกีฬาอาชีพชายยอดเยี่ยม" 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2565-2567)
—
ตอกย้ำความสำเร็จ "ฮอนด้า เรซ ทู เดอะ ดรีม" สร้างแรงบันดาลใจสู่...
มจธ. พัฒนา"อะลูมิเนียมทนร้อน"ชนิดใหม่ เสริมแกร่งด้วยนิกเกิลและธาตุหายาก ตอบโจทย์อุตสาหกรรม EV
—
ทีมวิจัย มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมผสมชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติทนค...
ห้างเซ็นทรัล ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ยกขบวนความสนุกต้อนรับเปิดเทอมกับส่วนลดสูงสุด 50%
—
กิจกรรมจัดเต็ม! พร้อมการเปิดตัวเหล่าของเล่นสุดน่ารักและไอเทมใหม่ของค...
ห้องอาหารเรือนต้นนำเสนอเมนูพิเศษประจำเดือน ก๋วยเตี๋ยวเป็ดตุ๋นและปลาหมึกผัดซอสไข่เค็ม
—
ห้องอาหารเรือนต้น ขอเชิญทุกท่านสัมผัสความอร่อยของเมนูพิเศษประจำเดือ...
Bolt Strengthens Rider and Driver Safety in Thailand with Trusted Contacts and Pick-Up Code Features
—
Bolt, the leading shared mobility platform, is rein...
ทำความรู้จักกับบ้านนวัตกรรมป้องกันแผ่นดินไหว นวัตกรรมบ้าน SCG HEIM ปลอดภัย ตอบโจทย์งานก่อสร้าง แข็งแรง ทนทาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดี
—
"บ้านที่แข็...
สวัสดีวันจันทร์! วง Only Monday สุดปัง คอนเสิร์ตใหญ่ครังแรก Sold out ทันทีหลังเปิดขายทั้ง 2 รอบการแสดง
—
แรง เร็ว ฉุดไม่อยู่สุดๆ สำหรับ 'WE ARE ONLY MONDA...