รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญจากงานวิจัยที่มาจากกรณีศึกษากว่า 79 เรื่อง เผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก1 ต่างให้ประสิทธิผลที่เท่ากันในการการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หลังการให้วัคซีนสองเข็ม2
โดยรายงานฉบับดังกล่าวแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัล เวคเตอร์ (Viral Vector) และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (อยู่ที่ระหว่าง 91.3-92.5%) และการเสียชีวิต (อยู่ที่ระหว่าง 91.4 - 93.3%) ในระดับเดียวกัน โดยไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ2 แม้ว่าข้อมูลในขณะที่ทำรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลจากการระบาดระลอกใหม่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน3
ศาสตราจารย์กาย ทเวทส์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในเวียดนาม เปิดเผยว่า "วัคซีนป้องกันโควิด-19 มีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญของเราแสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ในระดับสูง และเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับภาครัฐและผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคนี้ เพื่อพิจารณานำวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปใช้กับประชาชนอย่างเหมาะสมที่สุดในช่วง 12 เดือนข้างหน้า"
แพทย์หญิงสุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า "เราควรพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ใช่เพียงแค่ระดับการตอบสนองของแอนติบอดีเบื้องต้น แต่ยังต้องดูประสิทธิผลของวัคซีนจากกรณีศึกษาจริง เพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนที่ใช้นั้นได้ผล โดยสามารถการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้อย่างดี เราได้ศึกษางานวิจัยกว่า 79 เรื่อง ที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัคซีนจริง และพบว่าวัคซีนชนิดไวรัลเวคเตอร์ และวัคซีน mRNA ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ล้วนมีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ในระดับสูงไม่แตกต่างกัน"
โดยข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากทั่วเอเชียนั้นมาจาก VIEW-hub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบอินเตอร์แอคทีฟที่แสดงข้อมูลระดับโลกพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับการใช้วัคซีนและผลกระทบ โดยถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของวิทยาลัยสาธารณสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) และศูนย์การเข้าถึงวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Access Center) ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ได้รับการอัปเดตข้อมูลในทุกสัปดาห์เพื่อเป็นแหล่งรวมกรณีศึกษาจริงจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของวัคซีน โดยกรณีศึกษาจริง 79 เรื่อง ที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลนี้ เป็นงานวิจัยที่รวมเอาข้อมูลด้านประสิทธิผลเชิงเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีน mRNA BNT162b2 และ mRNA-1273 โดยแพลตฟอร์ม VIEW-hub ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบันทึกผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของการศึกษาเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในลักษณะเดียวกันได้
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้าเป็นวัคซีนชนิด "ไวรัลเวคเตอร์" หรือ 'ไวรัสพาหะ' ซึ่งหมายถึงการนำเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีน ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรียนรู้ว่าจะต่อสู้กับเชื้ออย่างไรหากสัมผัสกับไวรัสจริงในภายหลัง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนวิธีนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ซิกา และเอชไอวี4 เป็นต้น
แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรทั่วโลกได้ส่งมอบวัคซีนมากกว่า 2.9 พันล้านโดส ให้แก่กว่า 180 ประเทศทั่วโลก โดยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 กว่า 50 ล้านราย ป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 5 ล้านราย และได้ช่วยปกป้องชีวิตผู้คนกว่า 1 ล้านชีวิตจากโรคโควิด-19
จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโลก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 2.5 ล้านรายและผู้เสียชีวิตประมาณ 1.8 ล้านรายต่อปี ในประเทศไทย มะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับสอง โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 17,222 รายต่อปี หรือเฉลี่ยผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดวันละ 40 คน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในงานประชุม European Lung Cancer Congress (ELCC) 2025 ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส แอสตร้าเซนเนก้าได้เปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งปอดภายใต้โครงการ CREATE ที่มีการใช้เครื่องมือ qXR-LNMS
แอสตร้าเซนเนก้า คว้ารางวัล Top Employer 2025 ฉลองความสำเร็จต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความสำเร็จอีกครั้งด้วยการได...
แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วย
—
บริษัท แอสต...
แอสตร้าเซนเนก้าผนึกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ปร...
แอสตร้าเซนเนก้ารับรางวัล Company of The Year จาก หอการค้าไทย-สวีเดน เดินหน้ายกระดับสุขภาพคนไทยผ่านโครงการ และนวัตกรรมทางการแพทย์
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ...
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ผลักดันเด็กและเยาวชนหญิงไทยผ่านความเป็นผู้นำในกิจกรรมประจำปี #GirlsTakeOver
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรร...
แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมกับศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช เดินหน้าจัดงาน "Rethink Pink We Care" ปีที่ 3 ชูแนวคิด ห่วงใยผู้หญิงไทย ห่างไกลมะเร็งเต้านม
—
บริษัท แอสตร้าเ...
แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ผนึกกำลังเพื่อยกระดับการแพทย์ไทยเปิดตัวโครงการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
—
บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำก...