ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมการประชุม "เข็มทิศการศึกษา พัฒนาประเทศไทย" EdCompass : Empowered Education ที่จัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ วังพญาไท กรุงเทพมหานคร และได้ร่วมเวทีเสวนาเรื่อง "เปิดข้อเท็จจริงการศึกษาไทย ผ่านข้อมูลและผลงานวิจัย เพื่อกำหนดเข็มทิศการศึกษา" เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 โดยการประชุมในวันนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
ในประเด็น "บทบาทอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) กับการพัฒนาการศึกษาของประเทศ" ดร. กาญจนา ได้แลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์โลกที่ส่งผลต่อระบบกำลังคนและรูปแบบการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัยและความหลากหลายของขั้นชีวิต จากการที่มนุษย์จะมีอายุยืนยาวขึ้น เด็กที่เกิดในปัจจุบันอาจมีอายุยาวถึง 100 ปี ทำให้การใช้ชีวิตถูกปรับรูปแบบเป็นชีวิตที่มีหลายขั้น (Multi-stage Life) หนึ่งคนอาจทำได้มากกว่าหนึ่งอาชีพตลอดช่วงชีวิต ดังนั้นในแต่ละช่วงชีวิตอาจมีทั้งการศึกษาและการทำงานผสมผสานกัน ซึ่งจะมีผลต่อการออกแบบการเรียนการสอนที่ต้องปรับเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ส่วนต่อมาคือการพลิกผันจากเทคโนโลยี (Technology disruption) ตามที่ World Economic Forum (WEF) คาดการณ์ว่า ภายในปี ค.ศ. 2025 งานประมาณ 85 ล้านตำแหน่งจะถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร และจะมีตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้น 97 ล้านตำแหน่ง โดยงานที่มีความต้องการมากขึ้นจะเป็นงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล ระบบอัตโนมัติ ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่เร่งให้ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลและมีการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกับความต้องการกำลังแรงงานและการจ้างงาน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ต้องมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ผลจากการวิจัยพบว่า ถ้าหากเด็กมีโอกาสอยู่ในระบบการศึกษานานขึ้นจะมีโอกาสหลุดพ้นจากวงจรความยากจนข้ามรุ่นได้ นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์อื่นๆ เช่น ช่องว่างระหว่างวัย, แนวโน้มเศรษฐกิจแบบใหม่ Gig Economy, การเปลี่ยนขั้วอำนาจสู่โลกตะวันออก, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการพัฒนาทักษะ การเตรียมกำลังคนและแนวทางอาชีพในอนาคต รวมถึงทิศทางของระบบอุดมศึกษาไทย
สำหรับทิศทางการปรับตัวของระบบอุดมศึกษาไทยในมุมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากการปฏิรูปด้วยการควบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เดิม) มารวมกับสถาบันอุดมศึกษา จึงต้องพยายามมองในเชิงระบบ การสร้างระบบนิเวศ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และในเรื่องข้อมูลต้องเปิดเผยมากขึ้นเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล ส่วนของการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงจาก Content-based ไปสู่ Competency-based สร้างการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลักมากกว่าเนื้อหาที่เรียน มีการออกแบบโมเดลการศึกษาร่วมกับเอกชน และการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ด้านผลลัพธ์และผลกระทบ ต้องมองถึงการเตรียมคนไทยให้เป็นนานาชาติมากขึ้น สร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพไปสู่ระดับสากล การเพิ่มการเข้าถึง กระจายโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และทุนมนุษย์ ในส่วนสุดท้ายคือการสร้างระบบสนับสนุน ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเปลี่ยนผ่าน เช่น การจัดตั้งหน่วยงานกลางสำหรับการสะสมหน่วยกิต นโยบายการสนับสนุนงบประมาณเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ เป็นต้น
ตัวอย่างการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงระบบ อาทิ การจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่ง สอวช. สนับสนุนกระบวนการคาดการณ์อนาคต (Foresight) และ Policy Acceleration การจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง นำไปสู่การกำหนดร่างเป้าประสงค์และผลลัพธ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชากรในพื้นที่ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังได้มีการพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล (Digital Credit Bank System) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีพัฒนาร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพื่อใช้เป็นหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา รองรับการเชื่อมโยงคุณวุฒิวิชาชีพสู่คุณวุฒิการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเป็นการพัฒนาต้นแบบระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัลที่สามารถเทียบโอน สะสมหน่วยกิต พัฒนาและเปลี่ยนแปลงทักษะ และขยายการใช้ระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัลไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งด้วย
ด้านการสนับสนุนข้อมูลและแพลตฟอร์ม เพื่อวางแผนการพัฒนากำลังคนของประเทศ กระทรวง อว. ได้มีการรวบรวมและแสดงทักษะที่จำเป็นสำหรับแต่ละตำแหน่งงาน (Skill Mapping) ใน 4 สายงาน ได้แก่ Smart Farmers, Smart SME (เน้นทักษะด้าน Digital Marketing), Health Science และการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ (Tourism) ผ่านทางเว็บไซต์ https://skill-mapping.ops.go.th/ นอกจากนี้ สอวช. ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มขับเคลื่อนการดำเนินการเรื่องกำลังคนที่มีความสามารถสูงของประเทศไทย (Talent Thailand) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลกำลังคนที่มีความสามารถสูงในประเทศ โดยมีระบบประมวลผลและเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ https://talent.nxpo.or.th และการสำรวจข้อมูลตำแหน่งงานและสมรรถนะงานที่สำคัญ สำหรับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ปัจจุบัน กระทรวง อว. มีกลไกการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) เพื่อเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการช่วยเหลือกลุ่มด้อยโอกาส ซึ่งจากสถานการณ์ประชากรกลุ่มฐานรากในประเทศไทย พบว่ากลุ่มที่ยากจนที่สุด มีประมาณ 15 ล้านคน ในกลุ่มนี้เป็นเด็กและเยาวชน 3.72 ล้านคน วัยทำงาน 7.48 ล้านคน ผู้สูงอายุ 3.89 ล้านคน และประมาณ 1 ล้านคนเป็นผู้พิการ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าอุดมศึกษา แนวทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขยับสถานะประชากรกลุ่มฐานราก จึงต้องเริ่มตั้งแต่การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา การรักษาคนให้อยู่ในระบบการศึกษา ไปจนถึงการต่อยอดโอกาสสู่การขยับสถานะทางสังคม
นอกจากนี้ ดร. กาญจนา ยังกล่าวถึงการวิจัยเชิงระบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก โดยแนวทางการสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาสควรมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับอาชีพและการมีรายได้ (Career-based Education) ผ่านตัวอย่างโมเดลการร่วมพัฒนากำลังคนด้านอาชีวะในอุตสาหกรรมโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง และโมเดล Premium Course โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (RMUT)
อย่างไรก็ตาม การจัดงานวันนี้ยังได้มีการประกาศเจตนารมณ์ยกระดับสภาการศึกษาสู่การเป็นศูนย์กลางงานวิจัย ด้านการศึกษาระดับนานาชาติ โดย ดร. คุณหญิงกัลยา และ ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมทั้งมีการเปิดตัวแอปพลิเคชัน OEC Knowledge (OECK) ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสาระความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเทรนด์การศึกษาใหม่ๆ สำหรับทุกช่วงวัย โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ผ่านทาง App Store และ Google Play Store
บริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การนำทัพ โดยคุณอะกิฮิโตะ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ พร้อมทีมผู้บริหาร ผนึกสมาชิกค็อกพิทแฟรนไชส์ทั่วประเทศ กว่า 200 คน เข้าร่วมประชุมใหญ่ในงาน "ประชุมสมาชิกค็อกพิทแฟรนไชส์ ประจำปี พ.ศ. 2568" ที่โรงแรมเรเนซองส์ พัทยา รีสอร์ต แอนด์ สปา จังหวัดชลบุรี ลุยยกระดับการบริหารจัดการอย่างเข้มข้น เผยพัฒนาแบรนด์ให้แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ เดินหน้าสร้างประสบการณ์ที่ดีและความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยแนวคิด Customer Centric พร้อมกันนี้ยังพาสมาชิกค็อกพิทแฟรนไชส์
COCKPIT Holds National Meeting 2025, Taking Nationwide Franchisees on a Journey to Experience Tire Performance at BRIDGESTONE TURANZA 6 Launch Event
—
Bridgestone...
"กรุงไทยรัก Smart University" เดินหน้าเสริมทักษะเยาวชนไทยสู่ความมั่นคงทางการเงิน
—
ในยุคที่เศรษฐกิจไทย ยังเผชิญความท้าทายรอบด้าน จากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเ...
3 หน่วยงานกำกับดูแล ร่วมจัดทำโครงการ Responsible Voices สำหรับ Finfluencer
—
เดินหน้าส่งเสริมการให้ข้อมูลการเงิน การลงทุน และประกันภัย อย่างมีความรับผิดชอ...
orbix and Bitstamp Explore Strategic Partnership to Elevate Thailand's Digital Asset Market
—
Orbix Trade Co., Ltd. (orbix), Thailand's leading digital as...
orbix และ Bitstamp ศึกษาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ มุ่งยกระดับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล
—
ออร์บิกซ์ เทรด (orbix) ผู้นำด้านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลของประ...
CPANEL แย้ม Q2/68 แนวโน้มดี ตั้งเป้าพลิกมีกำไร ลุยเดินหน้าขยายฐานลูกค้า
—
CPANEL เผยทิศทางธุรกิจไตรมาส 2/68 แนวโน้มดี ตั้งเป้าพลิกกลับมามีกำไร จากการปรับก...