แนะสังเกตอาการผิดปกติเวลาออกกำลังกายและวิธีป้องกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ยุคนี้ใครๆ ก็หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ในทางกลับกันการออกกำลังกายมากจนเกินไปหรือหักโหมเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้

แนะสังเกตอาการผิดปกติเวลาออกกำลังกายและวิธีป้องกัน

ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องสังเกตตัวเองและเลือกประเภทกีฬาให้เหมาะสมกับอายุ น้ำหนัก หรือถ้ามีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย เพราะเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บ บางอาการเราสามารถดูรักษาได้ด้วยตัวเอง แต่อาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือนบางอย่างหากเกิดขึ้นเราก็อาจจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์

อาการบาดเจ็บหรืออาการผิดปกติเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้ออกกำลังกายไม่ระมัดระวัง เช่น

  • เจ็บตามข้อเท้า ข้อเข่า หัวไหล่หลัง
  • ปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อเอ็นในจุดต่างๆ
  • หอบ เหนื่อย หายใจผิดปกติ
  • เจ็บ จุก หรือแน่นหน้าอก
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด

อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่เราออกกำลังกาย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้

แนะนำให้

  • ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายก่อนที่จะออกกำลังกาย
  • ควรทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อหาขีดจำกัดในการออกกำลังกาย
  • ก่อนออกกำลังกายให้ทำการอบอุ่นร่างกายและให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมพร้อมกับกิจกรรมที่จะทำ
  • ประเมินความพร้อมของร่างกาย สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะออกกำลังกายและเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะกับกิจกรรม
  • ไม่หักโหมออกกำลังกายหรือออกกำลังกายเกินขีดความสามารถของตัวเองและไม่ออกกำลังกายตามผู้อื่น
  • หมั่นฝึกซ้อมทักษะเฉพาะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำเพื่อช่วยลดการบาดเจ็บ
  • หลังจากออกกำลังกาย อย่าหยุดออกกำลังกายในทันที ควรอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาที จนกระทั่งชีพจรกลับคืนสู่สภาพปกติ และควรดื่มน้ำให้เพียงพอหลังออกกำลังกาย
  • ถ้ามีอาการหอบ เหนื่อย หายใจผิดปกติ หรือ เจ็บแน่นหน้าอกในขณะที่ออกกำลังกาย ให้หยุดออกกำลังกายทันทีและพัก ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด 

การออกกำลังกายที่ดีควรเป็นการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำเป็นครั้งคราวแต่หักโหม เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งนอกจากจะเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดีได้อีกด้วยนะครับ...

ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดการออกกำลังกายเพื่อรักษาโรคโรงพยาบาลรามคำแหง


ข่าวo:member+o:healวันนี้

Understanding Chronic IBD Can Help You Reduce the Risk of Colon Cancer

If you experience frequent, loose, and bloody stools for more than 4 weeks, it could be a sign of chronic bowel disease, which, if left untreated, could lead to colon cancer. At Bumrungrad International Hospital, our teams of doctors are fully equipped with the latest medical technology to treat chronic bowel disease to give our patients a better quality of life. This is why Bumrungrad International Hospital is a top healthcare destination for patients from around the world. Chronic inflammatory

อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้... อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ มอบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ — อลิอันซ์ อยุธยา ส่งความห่วงใยไม่รู้จบ ให้ลูกค้าคนสำคัญเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดโอกาสในการต...

เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokerato... เรื่องลับๆ ของผู้ชาย ที่ควรรู้ : เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง — เส้นเลือดผิวหนังอัณฑะโป่งพอง (Angiokeratoma of Fordyce) โรคนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มดำแดงคล้าย...

โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นแล... "ปวดคอ" แบบไหน?... ให้สงสัยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท — โรคกระดูกคอเสื่อม เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการใช้งานคอผิดท่ามาเป็นเวลานาน ซึ่งเดี๋ยวนี้คนที่เป็นโรค...

แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด... นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน — แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที...

สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร... เวทีนโยบายรับมือโรคอ้วนระหว่างเดนมาร์ก-ไทย: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวันนี้เพื่อคนรุ่นหลัง — สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับบริษัท โนโว น...