"เจ็บหัวใจ" เจ็บบ่อยๆ นานๆ ให้ระวัง! หัวใจล้มเหลว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

"เจ็บหัวใจ" หรือใครที่ทำให้เราเจ็บ แม้ว่าเราจะไม่สามารถทำการสำรวจจำนวนคนที่เจ็บหัวใจเพราะอกหักได้ครบถ้วน...แต่รับประกันว่ายังไม่น่ากลัวเท่ากับสถิติของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่แฝงอยู่เป็นจำนวนสูงถึง 1% ต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศ พูดง่ายๆ ว่า คนไทยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวมากกว่า 1 ล้านคน ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงวัยที่อายุ 60ปีขึ้นไปด้วยแล้วล่ะก็จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่5%หรือแม้แต่คนอายุน้อยก็มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน

"เจ็บหัวใจ" เจ็บบ่อยๆ นานๆ ให้ระวัง! หัวใจล้มเหลว

ความน่ากลัวของภาวะหัวใจล้มเหลวก็คือไร้สัญญาณเตือนล่วงหน้า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่ภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดลดลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี หัวใจจึงพยายามบีบตัวมากขึ้นเพื่อให้ปริมาณเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเป็นปกติ 

แต่เพราะการทำงานที่หนักเกินไปนี่เอง จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราค่อยๆ อ่อนล้า เกิดอาการเจ็บหัวใจ และไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีอีกต่อไป การหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่นั้น เบื้องต้นให้สังเกตด้วยตัวเองตามนี้

  • รู้สึกอึดอัด มีอาการเจ็บหัวใจ หรือหายใจลำบากตอนออกกำลังกาย
  • ตื่นขึ้นกลางดึกเพราะไอ
  • ข้อเท้าหรือขาบวมผิดปกติ
  • น้ำหนักตัวขึ้นกะทันหันจนผิดสังเกต

อาการเจ็บหัวใจนี่แหละ ที่ทำให้เราต้องหันกลับมาดูแลก้อนเนื้อที่เต้นตุบๆ อยู่ข้างในอกข้างซ้ายให้ดีขึ้นกว่าเดิม การดูแลหัวใจเริ่มง่ายๆ ด้วย

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • หมั่นสังเกตอาการอยู่เสมอ

** ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพและสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปีเท่านี้ก็สามารถป้องกันภัยเงียบคุกคามหัวใจในระดับเบื้องต้นได้แล้ว

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจอยู่แล้วหล่ะก็สามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำและทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามอาการตามนัดสม่ำเสมอด้วย

สัญญาณเตือนภาวะหัวใจล้มเหลว คลิกชม >> https://www.youtube.com/watch?v=oz1dY0pv-U8พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจ


ข่าวภาวะหัวใจล้มเหลว+การสำรวจวันนี้

งานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรปชี้ ยาจีน Qili Qiangxin ช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญ

ผลการวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่า การเพิ่มยาแพทย์แผนจีน ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล (TCM Qili Qiangxin Capsules) ซึ่งพัฒนาและผลิตโดยบริษัท อี้หลิง ฟาร์มาซูติคัล (Yiling Pharmaceutical) ให้เป็นมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถลดความเสี่ยงในการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการแย่ลง และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ศาสตราจารย์ ซินลี่ หลี่ (Prof. Xinli Li) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดหัว

"ซินแทค เอบี" จับมือ "เมดิเทรียล" ผลักดันการพัฒนาระบบพยุงการเต้นของหัวใจที่ล้ำสมัย

ซินแทค เอบี (Syntach AB) หรือ "ซินแทค" มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บริษัทฯ ได้จับมือเป็นพันธมิตรภายใต้ข้อตกลงกับเมดิเทรียล ยุโรป (Meditrial Europe Ltd) หรือ "เมดิเทรียล" เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางคลินิกและกฎระ...

ซินแทค เอบี ได้รับ 17.5 ล้านยูโรจากการร่วมลงทุนจากภาครัฐ พร้อมแต่งตั้งแพทริก เอ็นเจ ชเนเจลสเบิร์ก เป็นซีอีโอคนใหม่ และแต่งตั้งแคนเซล อิซิคลิ เป็นรองประธานฝ่าย RA/Q

ซินแทค เอบี (Syntach AB) สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการแพทย์ของสวีเดน ได้รับทุนสนับสนุนสูงถึง 15 ล้านยูโรจากสภานวัตกรรมแห่งยุโรป (European...

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็หันมาให้ความสำคัญกับการดู... ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้หัวใจ — เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทานอาหารดีมีประโยชน...

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือภาวะที่หั... สังเกตอาการอย่างไร?... ว่าเข้าข่าย "ภาวะหัวใจล้มเหลว? — หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือภาวะที่หัวใจทำงานได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลื...