ม.มหิดล เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดให้เสียงที่ดังเกิน 85 dBA (เดซิเบลเอ) เป็นเสียงที่เป็นอันตราย จึงกลายเป็นที่มาของข้อกำหนด เพื่อสุขภาวะของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลดการป่วยจากมลพิษต่างๆ

ม.มหิดล เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ แก้วบุญชู รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย"

ซึ่งเปิดให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลอาชีวอนามัย และเจ้าหน้าที่สุขภาพจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน MUx โดยได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะแรงงานไทยว่าแม้กฎหมายแรงงานไทย ได้กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แต่พบว่ายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ทดสอบแต่อย่างใด

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการริเริ่มจัดอบรมออนไลน์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องดังกล่าว โดยเชื่อมั่นว่าจากประสบการณ์ และผลงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะเพื่อปวงชนชาวไทยของคณะฯตลอดเวลากว่า

7 ทศวรรษ จะสามารถมอบองค์ความรู้ที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ หวังให้นายจ้างนำไปใช้เพื่อการวางแผนสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนต่อไปอีกด้วย

เนื่องจากเสียงที่ดังเกิน 85 dBA อาจก่อให้เกิดอันตรายกฎหมายจึงได้กำหนดให้ต้องควบคุมระดับเสียง ไม่ให้มีการทำงาน

ในที่มีเสียงดังเกิน 85 dBA ต่อเนื่องกันเกิน 8 ชั่วโมง และต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน

รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ แก้วบุญชู กล่าวว่า อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการลดเสียงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยพบว่า อุปกรณ์ลดเสียงแบบ Earplugs ที่ใช้อุดหู สามารถลดเสียงได้ประมาณ15 dBA และแบบ Earmuffs ที่ครอบหู สามารถลดเสียงได้ถึง30 dBA

นอกจากการป้องกันที่ตัวบุคคลแล้ว ยังควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ที่มาหรือแหล่งกำเนิด" ของเสียงดังที่เกิดขึ้น

โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อทำให้เกิดเสียงดังลดลง จัดหาวัสดุป้องกันเสียงมาปิดล้อมเครื่องจักร สร้างห้องเก็บเสียง หรือผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเวลาให้ลูกจ้างต้องเผชิญ

กับเสียงดังได้น้อยลง ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะของการทำงานแต่ละประเภทที่แตกต่างกันด้วย

จุดเด่นของรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย" นอกจากการเปิดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้ออกแบบให้มีครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในภาคทฤษฎีนั้น ได้มีการสาธิตให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติตามได้โดยง่าย และหลังจากจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ส่งคลิปการฝึกปฏิบัติกลับมาให้ผู้สอนประเมิน และสามารถรับประกาศนียบัตร E-Certificate เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย

ปัญหาเสียงดังที่เกินมาตรฐาน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ยังถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนควรใส่ใจดูแล ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดที่นายจ้างจะมอบให้ลูกจ้างได้ ไม่ใช่เพียงค่าตอบแทนแรงงานในอัตราสูง แต่คือการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี เพื่อสุขภาวะที่ดี ซึ่งสิ่งที่ได้นอกจากผลประกอบการที่ดี แต่คือโลกของการทำงานที่ปลอดภัย และสร้างสุขร่วมกัน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอย่างยั่งยืนได้ต่อไปอีกด้วย เปิดลงทะเบียนแล้วที่ http://mux.mahidol.ac.th


ข่าวองค์การแรงงานระหว่างประเทศ+คณะสาธารณสุขศาสตร์วันนี้

STA ผ่านการประเมิน ILO มาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ยกระดับ ESG อุตสาหกรรมยางพาราไทยสู่ผู้นำของโลกอย่างยั่งยืน

"บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" ("STA" หรือ "บริษัทฯ") ยกระดับ ESG สู่ผู้นำอุตสาหกรรมยางพาราของโลกอย่างยั่งยืน หลัง "บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี สาขาพิษณุโลก" ผ่านการประเมิน "ILO 11 Indicators of Forced Labour" ตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ The International Labour Organization (ILO) ซึ่งเป็นมาตรฐานการประเมินสากลระดับเวิลด์คลาสโดยสหประชาชาติ (UN) เพื่อตรวจสอบและป้องกันการใช้แรงงานที่ถูกบังคับหรือไม่สมัครใจในห่วงโซ่อุปทานครบทั้ง 11 ตัวชี้วัด พร้อมตอกย้ำนโยบายด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

โครงการเยาวชนคนสร้างอนาคต ระยะ ที่ 2 ประจ... คอร์สอาหารไทยประยุกต์ สำหรับเยาวชนอายุ 15-29 ปี ฝึกอบรมฟรี มีวุฒิบัตร!! — โครงการเยาวชนคนสร้างอนาคต ระยะ ที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยความร่วมมือระหว่างอ...

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 นายสุชาติ ชม... รมว.สุชาติ นำทัพผู้แทนไตรภาคี ร่วมประชุมใหญ่ ILC สมัยที่ 111 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส — เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระ...

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะกายภาพบำบัด จัดทำ... ม.มหิดลจัดทำนวัตกรรมคู่มือดูแลผู้สูงอายุ พิชิต "ภาวะผู้ดูแลเหนื่อยล้า" — มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะกายภาพบำบัด จัดทำคู่มือ The Caregiving Manual for Caregiv...

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแร... รมว.สุชาติ หารือ 'กาย ไรเดอร์' กระชับความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างไทย - ไอแอลโอ — นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุรชัย ชัยตระก...