รมว.สุชาติ หารือ 'กาย ไรเดอร์' กระชับความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างไทย - ไอแอลโอ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน Ms.Chihoko Asada - Miyakawa ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เข้าพบ นายกาย ไรเดอร์ (Mr.Guy Ryder) ผู้อำนวยการใหญ่ไอแอลโอ ณ สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เพื่อหารือข้อราชการด้านแรงงานและแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การฯ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) เป็นต้นมา และได้กระชับความสัมพันธ์มาอย่างแน่นแฟ้นยาวนานเรื่อยมา

รมว.สุชาติ หารือ 'กาย ไรเดอร์' กระชับความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างไทย - ไอแอลโอ

นายสุชาติ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานขอขอบคุณคุณกายไรเดอร์ (Mr. Guy Ryder) ที่สละเวลาให้เข้าพบในวันนี้ ซึ่งตั้งแต่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การฯ มาตั้งแต่ พ.ศ.2462 ได้เกิดความร่วมมือจากไอแอลโอที่ส่งเสริมและผลักดันโครงการต่างๆ ร่วมกับประเทศไทยมาเป็นอย่างดีโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องงานที่มีคุณค่า (Decent Work) ที่ประเทศไทยได้ประกาศแผนฉบับแรกเมื่อปี 2562 ซึ่งในปีนี้คณะกรรมการไตรภาคีขับเคลื่อนการดำเนินงานฯ ได้เห็นชอบให้ขยายเวลาดำเนินการจนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาลไทย อีกทั้งยังเห็นชอบร่างแก้ไขหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ที่จะเสนอในที่ประชุมใหญ่รับรอง ซึ่งเป็นพัฒนาการที่สำคัญ เนื่องจากเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน จึงสนับสนุนแนวคิดที่จะเพิ่มประเด็นความปลอดภัยเข้าเป็นหนึ่งในหลักการว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานของไอแอลโอ ซึ่งประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 187 เรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการต่อไปเพื่อรองรับประเด็นดังกล่าวด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานของไอแอลโอ ทางด้านการสนับสนุนทางวิชาการ ประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญของความคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) จึงได้สนับสนุนเงินทุนให้ไอแอลโอดำเนินโครงการคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อปฏิรูประบบในไทยให้มีความเพียงพอและยั่งยืน มีกิจกรรมขยายผลให้ประเทศในอาเซียนได้รับประโยชน์ด้วย ระยะเวลาโครงการ 4 ปี และจะสิ้นสุดปลายปีหน้า 2566

รมว.แรงงาน ยังกล่าวถึงบทบาทของกระทรวงแรงงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขให้การรักษาพยาบาลและการบริการด้านสุขภาพที่เท่าเทียมกันแก่คนงานทุกคนโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ เป็นผลให้คนงานสี่ล้านคนสามารถรับวัคซีนจากกระทรวงแรงงานได้ โครงการรักษางานสำหรับ SMEs สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กสี่แสนราย รักษางานได้ 5 ล้านตำแหน่ง และช่วยให้ผู้หางานหกหมื่นคนสามารถหางานใหม่ได้ โครง Factory Sandbox ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มใหม่ที่ผสมผสานแนวคิดในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในขณะที่ยังคงรักษามาตรการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีการตรวจ PCR กักกัน รักษา และฉีดวัคซีนฟรีสำหรับโรงงานที่เข้าร่วม โครงการดังกล่าวช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถดำเนินการผลิตได้ต่อไป โดยสามารถจ้างงานได้มากกว่า 4 แสนตำแหน่ง และถือเป็นมูลค่าการส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานมีการส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยฉพาะในประเด็นด้านแรงงาน อย่างสอดคล้องกับปฎิญญา MME โดยมีการสร้างกลไกของมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour Standard: TLS) และแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLPs) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากไอแอลโอเป็นอย่างดีในการพัฒนา และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ของกระทรวงยุติธรรม มีบทเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องแรงงาน ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในทุกบริบท โดยเชื่อมโยงกับปฏิญญาว่าด้วยบรรษัทข้ามชาติและนโยบายสังคม (MNE Declaration) ของไอแอลโอ ซึ่งกำหนดให้วิสาหกิจที่มีการลงทุนในต่างประเทศ จะต้องดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบอีกด้วย

ในช่วงท้าย รมว.แรงงาน ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันสัตยาบันอนุสัญญา ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่ม โดยไม่เลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์และร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ โดยล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาเสร็จสิ้น และได้เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้นแล้ว และได้จัดส่งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยืนยันร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับ ซึ่งกรมได้ยืนยันร่างฯ เรียบร้อยแล้ว โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้นำความคิดเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป


ข่าวองค์การแรงงานระหว่างประเทศ+สุรชัย ชัยตระกูลทองวันนี้

รมว.สุชาติ ย้ำบทบาทไทยบนเวทีไอแอลโอ สมัยที่ 110 มุ่งจ้างงานคุณภาพ ดูแลสิทธิแรงงาน ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมใหญ่ประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 110 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสโดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง เข้าร่วมด้วย นายสุชาติ กล่าวว่า ผมขอแสดงความยินดีกับ ILO

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแร... รมว.สุชาติ เยือนนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นำทัพผู้แทนไตรภาคีร่วมประชุมใหญ่ ILC สมัยที่ 110 — นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุร...

โครงการเยาวชนคนสร้างอนาคต ระยะ ที่ 2 ประจ... คอร์สอาหารไทยประยุกต์ สำหรับเยาวชนอายุ 15-29 ปี ฝึกอบรมฟรี มีวุฒิบัตร!! — โครงการเยาวชนคนสร้างอนาคต ระยะ ที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยความร่วมมือระหว่างอ...

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 นายสุชาติ ชม... รมว.สุชาติ นำทัพผู้แทนไตรภาคี ร่วมประชุมใหญ่ ILC สมัยที่ 111 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส — เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระ...

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะกายภาพบำบัด จัดทำ... ม.มหิดลจัดทำนวัตกรรมคู่มือดูแลผู้สูงอายุ พิชิต "ภาวะผู้ดูแลเหนื่อยล้า" — มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะกายภาพบำบัด จัดทำคู่มือ The Caregiving Manual for Caregiv...