นายแพทย์อดัม เบอร์ซินสกี้ นักศึกษาแพทย์รุ่น 11 สัญชาติเกรนาเดียน ซึ่งจบจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) สร้างความโด่งดังให้กับแวดวงศัลยกรรมหัวใจด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการผ่าตัดผู้ป่วยนอกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก
น.พ.เบอร์ซินสกี้ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ด้านหัตถการหัวใจ และได้รักษาโรคที่ซับซ้อนให้กับโรงพยาบาลหลายแห่งในฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา เป็นหนึ่งในทีมแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยนอก ด้วยการใช้แขนกลสวนหัวใจเป็นครั้งแรกในโลกที่ศูนย์ผ่าตัดฉุกเฉินแห่งหนึ่ง
น.พ.เบอร์ซินสกี้กล่าวว่า "หลอดเลือดหัวใจทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดถูกอุดตัน ทำให้การไหลเวียนของกระแสเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหยุดชะงัก และกล้ามเนื้อหยุดทำงาน การทำหัตถการสวนหัวใจเป็นการสอดขดลวดเข้าที่เส้นเลือดหัวใจ ซึ่งจะเปิดช่องในเส้นเลือด และทำให้เลือดสามารถไหลเวียนกลับไปเลี้ยงหัวใจได้อีกครั้ง โดยปกติการทำหัตถการจะเกิดขึ้นในโรงพยาบาล และศัลยแพทย์ที่ทำหัตถการจะต้องยืนข้างเตียงผ่าตัด และใส่เสื้อเกราะที่ทำจากตะกั่วเพื่อป้องกันรังสีที่ใช้ในการวินิจฉัย"
การทำหัตถการสวนหัวใจด้วยหุ่นยนต์ เป็นการให้ศัลยแพทย์ที่กำลังปฏิบัติงานใช้แขนกลในการดันลวด บอลลูน และขดลวดถ่างขยาย สำหรับการผ่าตัดเพื่อช่วยเปิดทางเดินในเส้นเลือดที่อุดตัน ศัลยแพทย์จะสามารถนั่งอยู่ในห้องควบคุมที่อยู่ข้างๆและควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำตามขั้นตอนศัลยกรรม แทนที่จะต้องยืนข้างเตียงผ่าตัดใกล้กับเครื่องกำเนิดรังสี ซึ่งวิธีนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในโรงพยาบาลมาก่อน
น.พ.เบอร์ซินสกี้กล่าวเสริมว่า "การผ่าตัดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้สำเร็จด้วยดีอย่างยิ่ง และคนไข้สามารถกลับบ้านได้ไม่กี่ชั่วโมงหลังการผ่าตัด การที่ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จถือว่าเป็นก้าวสำคัญในอาชีพการงานของผม การเรียนและฝึกฝนที่ผ่านมาทำให้ผมมีความมั่นใจในความรู้ความสามารถที่จะใช้วิธีการนี้ด้วยความปลอดภัย และแก้ปัญหาในกรณีที่มีความยุ่งยากเกิดขึ้น"
"การได้ศึกษาที่ SGU นับเป็นประสบการณ์ที่ดีเป็นอย่างยิ่ง แคมปัสมีที่ตั้งที่แสนสวยงาม และเมื่อรวมกับคณะนักศึกษาที่มีที่มาหลากหลาย และคณาจารย์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถพูดได้อย่างมั่นใจว่าผมมีความสุขกับช่วงเวลาที่ SGU เป็นอย่างมาก และขอแนะนำให้ใครก็ตามที่สนใจสมัครเรียน"
ทั้งนี้นอกจากเกรนาดาหรือสหราชอาณาจักร นักศึกษาแพทย์ไทยจะมีทางเลือกในการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลในประเทศไทย ก่อนเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ 4 ปีที่ SGU โดยในปัจจุบันมีนักศึกษา แพทย์ไทยที่จบจากคณะแพทยศาสตร์ SGU และประกอบอาชีพที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้รับการรับรองโดย แพทยสภาแห่งประเทศไทย โดยเปิดให้แพทย์เหล่านี้สอบใบอนุญาตได้ หากต้องการที่จะกลับมาประกอบวิชาชีพในประเทศไทย
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เปิดทำการสอนแก่นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยด้วยหลักสูตร 5, 6 และ 7 ปี หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมปลายในประเทศไทย หากท่านสนใจข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนที่ SGU สามารถอ่านได้ที่ www.sgu.edu/international-students/east-asia/
SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ มากที่สุดติดต่อกันถึง 11 ปี กรุงเทพฯ ประเทศไทย 24 เมษายน 2568 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ในประเทศเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส เปิดเผยว่า มีนักศึกษาและศิษย์เก่ากว่า 1,035 คน ที่สามารถเข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านทั่วสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025 นี้ โดยนับเป็นปีที่ 11 ติดต่อกันแล้ว ที่ SGU ครองตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนแพทย์ใหม่เข้ารับตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านปีแรกมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา "พวกเราทุกคนในมหาวิทยาลัย
วันสุขภาพโลก 2025: บทบาทของมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จในการเตรียมความพร้อมแพทย์ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลก
—
เนื่องในวันสุขภาพโลกปีนี้ที่มาในธีม...
การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
—
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...
เคล็ดลับความสำเร็จจากศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ในวันสตรีสากลสำหรับแพทย์หญิงรุ่นใหม่
—
เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ...
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จสร้างอนาคตแห่งการศึกษาทางการแพทย์ผ่าน 'การศึกษาข้ามชาติ'
—
Transnational education (TNE) หรือ การศึกษาข้ามชาติหมายถึงหลักสูตรหรือโปรแ...
วันมะเร็งโลก 2025: มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จให้ความรู้คนไทยด้วยเคล็ดลับป้องกันมะเร็ง
—
มะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย จากรายงานของ G...
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผย 5 แนวทางของ AI ที่จะผลักดันวงการแพทย์ไทย พลิกวิถีการดูแลผู้ป่วยที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น
—
ในยุคที่วงการสุขภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็...
มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ เผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีน HPV: ก้าวสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย
—
มะเร็งปากมดลูกนับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสี...