นางสาวนิติยา พงษ์พานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ปลูกป่า ปลูกเห็ด" ซึ่ง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และเครือข่ายพันธมิตร จัดขึ้น ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วย การบรรยายเรื่อง เทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา การเสวนาเรื่อง การปลูกป่า ปลูกเห็ด โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและผู้แทนเกษตรกร รวมทั้งการเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาและแปลงสาธิตต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตเห็ดตับเต่า เห็ดเผาะและเห็ดเศรษฐกิจ
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้การดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ เห็ดระโงก) และเห็ดตีนแรด เพื่อสร้างต้นแบบสวนป่าสวนเห็ดครัวเรือนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ปีที่ 1) และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดป่าไมคอร์ไรซาในสภาพพื้นที่ป่าและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดระโงกในสภาพพื้นที่ไร่แบบธรรมชาติ (ปีที่ 2) ซึ่ง วว. โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. โดยได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดแพร่-น่าน ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการชะล้างพังทลายของดินบนพื้นที่ลาดชัน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ สำหรับการจัดงานปลูกป่าปลูกเห็ดในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จของการขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการฯ เพื่อนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้สนใจได้เรียนรู้เทคโนโลยีและร่วมฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา
"…วว. ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยได้ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตพืชผลทางการเกษตร ซึ่งมีบทบาทในการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นเป้าหมายให้ดีขึ้น ผ่านการสร้างอาชีพโดยการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซาที่มีการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการรักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว พร้อมทั้ง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงวิถีชีวิตพื้นถิ่นบนฐานธรรมชาติและฐานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน วว. และ สวก. จึงได้ดำเนินโครงการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซาฯ และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดป่าไมคอร์ไรซาในสภาพพื้นที่ป่าและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดระโงกในสภาพพื้นที่ไร่แบบธรรมชาติฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้จากงานวิจัยเดิมและเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซา แบบไม่ต้องอาศัยโรงเรือนไปสู่แปลงสาธิตต้นแบบในพื้นที่เป้าหมาย และนำองค์ความรู้ที่ได้ศึกษามาไปต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดป่าไมคอร์ไรซาในสภาพพื้นที่ป่า การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดระโงกในสภาพพื้นที่ไร่แบบธรรมชาติ พร้อมทั้งสร้างแปลงสาธิตต้นแบบในพื้นที่ และสร้างเกษตรกรต้นแบบผู้ผลิตเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ในปีที่ 2 ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นในปีต่อๆ ไป..." นายสายันต์ ตันพานิช กล่าว
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...