เพื่อตอบรับการขยายประโยชน์จากการใช้นาโนเทคโนโลยีให้เกิดผลอย่างกว้างขวางสู่การเป็นประเทศนวัตกรรมในอนาคต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดตั้ง "ห้องปฏิบัติการนาโนเทคโนโลยีชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีชีววัสดุ" หรือ "ห้องแล็บอนุภาคนาโน MUSC" ขึ้น และได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ได้มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อกว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา สู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จนสามารถผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อเร็วๆ นี้
รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้าห้องปฏิบัติการนาโนเทคโนโลยีชีวภาพและนาโนเทคโนโลยีชีววัสดุ และอาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ ผู้อยู่เบื้องหลังสำคัญของการได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว โดยมีสมาชิกของห้องปฏิบัติการร่วมเป็นแรงกำลังสำคัญ
และยังได้เป็นผู้นำรายวิชานาโนเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมชีววัสดุ มาบรรจุอยู่ในหลักสูตรระดับปริญญาโท และเอก ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก "ห้องแล็บอนุภาคนาโน MUSC" ดังกล่าวอีกด้วย
จากความสำเร็จจากโครงการวิจัย เรื่อง "การตรวจหาเซลล์มะเร็งที่กระจายตัวในกระแสเลือดที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ระยะแพร่กระจายด้วยอนุภาคนาโนของทองและอนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็ก" ที่สามารถคว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2561 จากมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ได้ทำให้ต่อมามีการขยายศักยภาพของ "ห้องแล็บอนุภาคนาโน MUSC" สู่การวิจัยที่หลากหลาย
โดยสามารถส่งต่อเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทั้งทางด้านการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งได้มีภาคอุตสาหกรรมสีนำอนุภาคนาโนจากห้องปฏิบัติการไปใช้เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์สีและวางจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อย
รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ มองว่า เรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการทำงานวิจัย ซึ่งการเข้ารับการรับรองมาตรฐานมอก. 2677-2558 จาก วช. ส่วนหนึ่งเกิดจากความตระหนักถึงความปลอดภัยในสุขภาพร่างกายของผู้ที่ต้องทำงานสัมผัสกับสารเคมีที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ จากที่ได้มีการ scale up หรือขยายกำลังการผลิตสู่ภาคอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคประชาชนที่ควรได้รับความมั่นใจ จากการส่งต่อเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้นนั้นด้วย
เคล็ดลับของการประยุกต์นำเอาอนุภาคนาโนเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ ได้เปิดเผยว่า อยู่ที่การปรับแต่งโครงสร้างทางเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนพื้นผิวของอนุภาคนาโนเทคโนโลยี ให้มีความจำเพาะต่อการเกาะติดกับวัตถุเป้าหมายได้ตามโจทย์วิจัยที่แตกต่าง
ก้าวต่อไป ทีมวิจัยอนุภาคนาโน MUSC มุ่งขยายองค์ความรู้ด้านอนุภาคนาโนเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อมอบความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จากการใช้องค์ความรู้ด้านอนุภาคนาโนเทคโนโลยีเพื่อจำกัดการใช้สารเคมี "โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต" (STPP - Sodium Tripolyphosphate) ที่เพิ่มความกรุบกรอบและรักษาสภาพให้กับกุ้งแช่เยือกแข็ง ซึ่งนอกจากผู้บริโภคปลอดภัย ยังจะสามารถช่วยลดต้นทุนจากการนำเข้าสารเคมีดังกล่าวเพื่อช่วยในการควบคุมคุณภาพสินค้ากุ้งแช่เยือกแข็งได้ต่อไปอีกด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ เชื่อว่านักวิจัยด้านอนุภาคนาโนเทคโนโลยีมีองค์ความรู้และทักษะพื้นฐานที่ไม่แตกต่างกัน อยู่ที่ idea และการจะจับโจทย์อย่างไรให้แตกต่างมากกว่า
"ห้องแล็บอนุภาคนาโน MUSC" พร้อมปฏิวัติสู่โลกแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ เคียงข้างประชาชนและประเทศชาติสู่ก้าวที่มั่นคงและปลอดภัย ด้วยการใช้อนุภาคนาโนเทคโนโลยีด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ นำโดย ธีระชัย ขันธิกุล กรรมการ รองเลขาธิการ และผู้ช่วยรองเหรัญญิก มอบโล่รางวัล Ajinomoto TSB สำหรับนักเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความโดดเด่น ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เน้นด้านสุขภาพและการแพทย์ ประจำปี 2566 พร้อมทุนสนับสนุนงานวิจัยมูลค่า 100,000 บาท ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ สังกัด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่อง การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพ
สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School
—
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...
ซีเอ็มเอ็มยูเปิดขุมทรัพย์และอานิสงส์สมรสเท่าเทียม โอกาสอัพจีดีพีไทยโต 0.3% กางผลวิจัย "Love Wins Marketing" ถอดรหัสตลาดหัวใจหลากสี
—
ถอดรหัสการตลาดหลัง พ....
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้ง มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัสดุรีไซเคิลจากกระดาษลูกฟูก 100% ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้...
เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568
—
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...
เคพีไอ คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2025 ด้านนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์
—
เคพีไอ คว้ารางวัล BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION ...
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...