มิว สเปซ เดินหน้าสร้าง Space Supply Chain ดันไทยสู่ผู้นำอุตสาหกรรมอวกาศใน SEA

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศราคาดาวเทียมดวงแรกของบริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มิว สเปซ คอร์ป) อย่างดาวเทียม mu-B200 หรือ Block I ด้วยราคาเริ่มต้น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งดาวเทียมนี้ มิว สเปซ ได้เริ่มต้นขั้นตอนแรกตั้งแต่การวางแผนออกแบบ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายอย่างการประกอบทุกชิ้นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาเข้าด้วยกัน โดยจุดเด่นของ mu-B200 (Block I) คือ ระบบพลังงาน (Power System) ที่มีความสามารถในการให้พลังงานที่สูงแก่ดาวเทียมขนาดเล็ก (LEO Satellite) ได้เป็นอย่างดี และในไตรมาสแรกของปี 2565 มิว สเปซ ได้มีการขยายทีมอย่างต่อเนื่องเพื่อนำทีมเข้ามาร่วมพัฒนาและผลิตสินค้าให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้สำหรับปี 2565

มิว สเปซ เดินหน้าสร้าง Space Supply Chain ดันไทยสู่ผู้นำอุตสาหกรรมอวกาศใน SEA

เป้าหมายหลักด้านการพัฒนาและผลิตสินค้าของ มิว สเปซ คือการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีดาวเทียมด้วยทีมงานที่มีศักยภาพสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดาวเทียมโดยตั้งเป้าหมายในการผลิตดาวเทียมเป็นจำนวน 100 ดวงต่อปี พร้อมด้วยการผลิต Battery Cells จำนวน 1 ล้านชิ้น ซึ่ง มิว สเปซ ได้เริ่มเปิดตัว High-Powered Battery Pack ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อีกทั้งในปัจจุบัน มิว สเปซ กำลังอยู่ในช่วงของการเปิดรับการสั่งจองสินค้าล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่สนใจ ทั้งในส่วนของดาวเทียม, ชิ้นส่วนดาวเทียม รวมไปถึงระบบพลังงาน (Power System) โดยทั้งหมดนี้ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นภายในโรงงาน Factory 1 ของ มิว สเปซ ทุกขั้นตอน มิว สเปซ เดินหน้าสร้าง Space Supply Chain ดันไทยสู่ผู้นำอุตสาหกรรมอวกาศใน SEA

สำหรับด้านการขยายทีมที่เกริ่นไว้ในช่วงต้นนั้น มิว สเปซ ได้ตั้งเป้าหมายในการขยายทีมที่มีความรู้ขั้นสูงและมีความสนใจในด้านอวกาศ โดยปัจจุบัน มิว สเปซ มีจำนวนทีมงานกว่า 150 คน และคาดว่าจะมีการขยายทีมงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 300 คนภายในสิ้นปี 2565 เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี และผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศให้เติบโตยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ มิว สเปซ กำลังมีแผนในการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างในประเทศออสเตรเลีย หรือประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงแค่เรื่องการเติบโตขององค์กรในระดับสากลเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงโอกาสที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีอวกาศอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม มิว สเปซ ยังคงเดินหน้าด้วยความมุ่งมั่นและดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการสร้าง Supply Chain ของอุตสาหกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยข้อมูลจาก Euroconsult (Space and Satellite Sector Expert) คาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ จะมีดาวเทียมจำนวน 13,910 ดวงถูกปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก และทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมการผลิตดาวเทียมขนาดเล็กนั้นสูงถึง 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีมูลค่าอยู่ที่ 11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเติบโตทางมูลค่าจะอยู่ที่ 205% จากรายงานฉบับนี้ทำให้เห็นว่า ตลาดดาวเทียมขนาดเล็กทั่วโลกจะมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็นที่จับตามองของกลุ่มนักลงทุนทั้งในประเทศ และทั่วโลก

ปัจจุบัน มิว สเปซ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่มากมายอย่าง B.Grimm Joint Venture ผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนในประเทศไทย และกองทุน Majuven Fund รวมทั้งกลุ่มผู้บริหารจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ อย่าง UCLA Foundation และอื่น ๆ

สามารถรับชมคลิปวิดิโอ mu Space Quarterly Updates ได้ที่
YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=oBZM8-VKMc4 หรือ
Facebook Page: https://fb.watch/c4Ruo0fTTI/


ข่าวอุตสาหกรรม+เทคโนโลยีวันนี้

มจธ. พัฒนา"อะลูมิเนียมทนร้อน"ชนิดใหม่ เสริมแกร่งด้วยนิกเกิลและธาตุหายาก ตอบโจทย์อุตสาหกรรม EV

ทีมวิจัย มจธ. พัฒนาอะลูมิเนียมผสมชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนสูงและแข็งแรงกว่าอะลูมิเนียม-ซิลิคอนแบบเดิม เพิ่มอายุการใช้งานของวัสดุ ที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม-นิกเกิลและธาตุหายาก อย่างสแกนเดียม (Sc) สร้างทางเลือกใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการวัสดุที่แข็งแรงและเสถียรในสภาพแวดล้อมรุนแรง พร้อมต่อยอดสู่การใช้งานจริงในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยี Giga Castingกว่า 10 ปีที่ รศ. ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร, รศ. ดร.พร้อมพงษ์ ปานดี นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

กรมควบคุมมลพิษ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่... กรมควบคุมมลพิษ ร่วม 5 หน่วยงานรัฐ-เอกชน ลงนาม MOU พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมตรวจวัดกลิ่นด้วย E-nose — กรมควบคุมมลพิษ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ...

นายสุรเดช เลิศธรรมจักร์ กรรมการบริหาร บริ... MSC พบผู้ลงทุนในงาน Opportunity Day Year End 2024 — นายสุรเดช เลิศธรรมจักร์ กรรมการบริหาร บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "MSC" นำ...