นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ศ.(วิจัย)ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รศ. ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายชูชาติ ราชจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม นายพงษ์ศักดิ์ คณะมะ พัฒนาการจังหวัดมหาสารคาม และรศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล นายกสมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการยกระดับการย้อมเส้นด้ายจากผงสีธรรมชาติ" เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการใช้ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์การย้อมเส้นด้ายและผ้าด้วยผงสีธรรมชาติ ให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทำให้เกิดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างนวัตกรรมกับอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ สร้างรายได้ โอกาสนี้ ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. พร้อมผู้บริหาร บุคลากร หน่วยงานพันธมิตรร่วมเป็นเกียรติ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 4 กระทรวง อว. (ผ่านโปรแกรม ZOOM)
นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า การพัฒนาจังหวัดมหาสารคามมุ่งส่งเสริมและพัฒนาการผลิตภาคการเกษตรเพื่อสร้างรายได้กับเกษตรกร ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า บริการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพด้านการค้าการลงทุน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สู่สังคมมีสุข ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของหน่วยงานพันธมิตรจะร่วมทำให้การพัฒนายกระดับการย้อมด้ายจากผงสีธรรมชาติสำเร็จเป็นรูปธรรม สร้างงาน สร้างอาชีพจากพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ศ.(วิจัย)ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว วว. ได้เริ่มต้นกิจกรรมการทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย ในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างเครือข่ายช่างทอให้เกิดเป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม โดย วว. ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสกัดผงสีจากต้นไม้ในพื้นที่ อาทิเช่น แก่นฝาง เปลือกไม้ประดู่ และเปลือกไม้ถ่อน เพื่อให้ได้เฉดสีต้นแบบ และสีอัตลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม โดยการเตรียมผงสีจากธรรมชาติ ช่วยให้การย้อมผ้าสีธรรมชาติสามารถทำได้ง่าย เทียบเท่าสีเคมี อีกทั้งยังช่วยในการควบคุมคุณภาพของผ้าย้อมให้ได้เฉดสีตามที่ต้องการ ทั้งนี้ วว. ได้เข้าร่วมอบรมการย้อมผ้าด้วยผงสีจากธรรมชาติ ให้กลุ่มทอผ้าและผ้ามัดย้อมในงาน"นวัตกรรมสร้างสรรค์ มหาสารคราฟท์" ซึ่งจัดที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
"...วว. มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร องค์ความรู้ เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนผลงานและประสบการณ์ในด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยึดมั่นและให้ความสำคัญกับการนำ วทน. เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศ มุ่งดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร (Total Solution) พัฒนาวิสาหกิจในทุกระดับทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ (Area Based) ในการดำเนินงาน วว. ประสบผลสำเร็จในการร่วมขับเคลื่อนนโยบาย BCG ผ่านการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ภาคเกษตรและชุมชน ดำเนินงานสร้างการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว
ศ.(วิจัย)ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวเน้นย้ำว่า การลงนามความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นการเริ่มต้นการทำงานแบบบูรณาการ ระหว่าง วว. และหน่วยงานในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขับเคลื่อนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการจากทรัพยากรที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างคุ้มค่าและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางในการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...